ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000 บาท หมดเขตวันนี้

ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000 บาท หมดเขตวันนี้

ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000 บาท หมดเขตวันนี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช้อปดีมีคืน 2566 เตือนวันที่ 15 ก.พ. 66 ซื้อสินค้า-บริการ ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000 บาท วันนี้เป็นวันสุดท้าย

นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากรในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า ตามที่กรมสรรพากรได้ออกมาตรการภาษี “ช้อปดีมีคืน” ปี 2566 ซึ่งผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถใช้สิทธิ์หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสำหรับการซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-15 ก.พ. 66 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท แบ่งได้ดังนี้

  • ค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการจำนวน 30,000 บาท ออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ หรืออิเล็กทรอนิกส์
  • ค่าซื้อสินค้า หรือบริการอีกจำนวน 10,000 บาท ออกใบกำกับภาษีรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

โดยเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการที่มีหลักฐานการชำระเงินเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร ได้ทั้งจำนวน หรือใช้ใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบกระดาษ ไม่เกิน 30,000 บาท ร่วมกับใบกำกับภาษีเต็มรูปผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ e-Tax Invoice ในที่นี้หมายความรวมถึง e-Tax Invoice by Email ด้วย และตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

สำหรับสินค้า-บริการที่เข้าร่วมช้อปดีมีคืนมีอะไรบ้าง

  • สินค้า-บริการทั่วไปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • หนังสือ (รวมถึง e-book)
  • สินค้า OTOP ที่ลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชน
  • ค่าใช้จ่ายจากน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ และรถจักรยานยนต์

รายการสินค้าที่ไม่ร่วมรายการลดหย่อนภาษี

  • ค่าซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ
  • ค่าซื้อรถยนต์ จักรยานยนต์ เรือ
  • ค่าหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
  • ค่าบริการอีบุ๊ก
  • ค่าที่พักโรงแรม
  • ค่าไกด์นำเที่ยว
  • ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ (ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต)
  • ค่าเบี้ยประกัน

ในกรณีที่ผู้เสียภาษีที่ไม่ได้รับความสะดวกจากการขอให้ผู้ขายสินค้าหรือบริการออกใบกำกับภาษี เช่น ปฏิเสธไม่ยอมออกใบกำกับภาษี บวกราคาเพิ่ม เมื่อขอใบกำกับภาษี หรือพฤติกรรมอื่นใดที่เข้าข่ายหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม ท่านสามารถแจ้งกรมสรรพากร ผ่านระบบแจ้งเบาะแสหลีกเลี่ยงภาษี www.rd.go.th ได้ตลอดเวลา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook