อัปเดต! ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน รู้ผลแล้วทำไงต่อ?
วิธีตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ และหน่วยงานรับลงทะเบียนแบบง่ายๆ รู้ผลทันที ผ่าน-ไม่ผ่าน พร้อมรายละเอียดต้องทำไรต่อ
เปิดแล้ว ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เริ่มประกาศผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุ ที่ประชุม ครม. อนุมัติงบกลางเพิ่ม 9.1 พันล้านบาท สำหรับโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมเป็นวงเงิน 63,427 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหรือผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับมีอยู่ราว 14.5 ล้านคน จากจำนวนผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการตรวจสอบจากกรมการปกครองจำนวน 19.6 ล้านคน โดยเริ่มประกาศผลในวันที่ 1 มี.ค. 2566 เป็นต้นไป ผ่านทางเว็บไซต์ และหน่วยงานรับลงทะเบียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกรุงไทย
- ธ.ก.ส.
- สำนักงานคลังจังหวัด
- ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ
- สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร
- ศาลาว่าการเมืองพัทยา
รวมถึงตรวจสอบผ่านทางโทรศัพท์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ Call Center โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
วิธีตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน 2566
วิธีตรวจบัตรสวัสดิการแห่งรัฐผ่านทางเว็บไซต์ด้วยตนเอง
- เข้าเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th
- เลือก ตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน
- กรอก หมายเลขประจำตัวประชาชน และวันเดือนปีเกิด
- กด ตรวจสอบข้อมูล
- ระบบ แสดงผล การยืนยันตัวตนสำเร็จหรือไม่
เช็คสิทธิ ตรวจสอบสถานะบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ผ่านหน่วยลงทะเบียน
- สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ)
- สำนักงานคลังจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ สังกัดกรมบัญชีกลาง
- ที่ว่าการอำเภอทั้ง 878 อำเภอทั่วประเทศ ภายใต้กระทรวงมหาดไทย
- สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต
- ศาลาว่าการเมืองพัทยา เมืองพัทยา
โทรศัพท์สอบถามผลลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ติดต่อกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม กระทรวงการคลังสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง โทร. 094-858-9794 จันทร์-ศุกร์ 08.30 - 16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ
ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ต้องยืนยันตัวตน
สำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์ รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องเดินทางไป ยืนยันตัวตนผ่าน 3 หน่วยงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. นี้เป็นต้นไป โดยต้องมีเอกสารสำหรับการยืยันตัวตน ดังนี้ เอกสารยืนยันตัวตนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- ธนาคารกรุงไทย
- ให้บริการบริการยืนยันตัวตน ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 66 โดยยังไม่มีกำหนดวันสิ้นสุดการให้บริการ
- ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส.
- ให้บริการยืนยันตัวตนเป็นเวลา 180 วัน (นับจากวันที่ประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.-27 ส.ค. 66)
ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยื่นอุทธรณ์
ส่วนผู้ที่ไม่ผ่านคุณสมบัติบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถยื่นอุทธรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. นี้เป็นต้นไป ผ่านเว็บไซต์ หรือติดต่อหน่วยงานรับลงทะเบียนเพื่อยื่นอุทธรณ์ และจะต้องติดต่อหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติที่ไม่ผ่านเพื่อตรวจสอบ ขอแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ซึ่งหลังจากยื่นอุทธรณ์แล้ว ผู้ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติต้องติดต่อหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติที่ไม่ผ่านเพื่อตรวจสอบ / ขอแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 พ.ค. 66
วิธียื่นอุทธรณ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์)
สามารถยื่นขออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม - 1 พฤษภาคม 2566 ผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้
ยื่นอุทธรณ์ด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์
- สามารถดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ด้วยตนเอง ไม่ต้องใช้เอกสาร ได้ตั้งแต่เวลา 6.00 น. ถึง 23.00 น. ของทุกวัน
ยื่นอุทธรณ์ผ่านหน่วยรับลงทะเบียน
- กรณียื่นอุทธรณ์ด้วยตนเองที่หน่วยรับลงทะเบียน (คลังจังหวัด/ที่ว่าการอำเภอ/สำนักงานเขต กทม./เมืองพัทยา/ธนาคารกรุงไทย/ธนาคารออมสิน/ธ.ก.ส.)
- ใช้บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียน
- กรณีมอบอำนาจ (ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาอุทธรณ์ได้เอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาลงทะเบียนแทนได้ โดยใช้เอกสารดังนี้)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ลงทะเบียน)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ลงทะเบียน) พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
- หนังสือมอบอำนาจ (ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไวต์โครงการฯ)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ได้รับมอบอำนาจ) พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี) พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง หรือใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)