วันสตรีสากล 2566 ใครคือผู้หญิงที่รวยที่สุดในไทย ส่องลิสต์เศรษฐินีที่ต้องว้าว!

วันสตรีสากล 2566 ใครคือผู้หญิงที่รวยที่สุดในไทย ส่องลิสต์เศรษฐินีที่ต้องว้าว!

วันสตรีสากล 2566 ใครคือผู้หญิงที่รวยที่สุดในไทย ส่องลิสต์เศรษฐินีที่ต้องว้าว!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันสตรีสากล 2566 พาส่องทรัพย์ผู้หญิงที่รวยที่สุดในไทย มีใครบ้าง พร้อมส่องขุมทรัพย์ ทรัพย์สินแต่ละคนรวยระดับหมื่นล้าน

วันสตรีสากล (International Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มี.ค. ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่เหล่าสตรีจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพใด จะร่วมกันเฉลิมฉลองความเสมอภาคที่ได้รับมา และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันในสังคมอีกด้วย และแน่นอนว่าผู้หญิงในยุคนี้ก็มีความเก่งในหลายๆ เรื่องทั้งเรื่องการเป็นผู้บริหารระดับประเทศ หรือระดับองค์ รวมถึงการเป็นผู้หญิงที่รวยที่สุดในระดับประเทศ และในระดับโลก ซึ่งนิตยสารชื่อดังอย่าง Forbes ก็เคยมีการจัดอันดับผู้หญิงที่รวยในระดับมหาเศรษฐีกันมาแล้ว

Sanook Money ขอร่วมกระแสวันสตรีสากล ด้วยการพาไปรู้จักผู้หญิงที่รวยที่สุดในไทย พร้อมกับส่องขุมทรัพย์ สินทรัพย์ รวมถึงธุรกิจของพวกเธอมาฝากทุกคนกัน

ข้อมูลจาก Forbes เคยจัดอันดับมหาเศรษฐีไทยปีล่าสุด (2565) พบรายชื่อผู้หญิงที่รวยติดอันดับมีถึง 4 คนด้วยกัน ดังนี้

Nishita Shah (นิชิต้า ชาห์)

ทรัพย์สิน 1.3 พันล้านเหรียญ หรือราว 4.57 หมื่นล้านบาท

ทายาทสาวของบริษัทขนส่งทางทะเล ผู้บริหาร GP Group ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน 150 ปี ธุรกิจเมื่อปีที่ผ่านมา ในฐานะทายาทรุ่น 3 ของนักธุรกิจชาวอินเดียที่เข้ามาทำกิจการในไทย ทั้งเป็นลูกสาวคนโตในอาณาจักรซึ่งทำธุรกิจหลากหลายตั้งแต่เดินเรือ ยา อาหารเสริม ก่อสร้าง พลังงาน เหมืองแร่ เคมีภัณฑ์ อะลูมิเนียม โรงแรม ส่งออกสินค้าเกษตร นายหน้าประกันภัย ไปจนถึงซอฟต์แวร์และเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว

ปัจจุบัน Nishita ยังคงดำเนินรอยตาม Kirit Shah ผู้เป็นพ่อ นั่นคือการเล็งหาธุรกิจใหม่ที่น่าสนใจเพื่อเข้าไปลงทุน โดยเธอมีความสนใจในธุรกิจยา สุขภาพ และการศึกษา เป็นหลัก แต่ก็เปิดโอกาสให้กับสตาร์ทอัพด้านอื่นเช่นกันหากมีความน่าสนใจ โดย GP Group มีเม็ดเงินเตรียมพร้อมลงทุน 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และล่าสุดร่วมเป็นฉลามในรายการ Shark Tank Thailand เอ็มดีหญิงของ GP Group กล่าวว่าเธอต้องไปฝึกสนทนาภาษาไทยอย่างเข้มข้นก่อน

น.ส.ศุภลักษณ์ อัมพุช

ทรัพย์สิน 1 พันล้านเหรียญ หรือราว 3.52 หมื่นล้านบาท

ราชินีค้าปลีก "ศุภลักษณ์ อัมพุช" ผู้นำหญิงของ เครือเดอะมอลล์ เชนค้าปลีกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ อาณาจักรค้าปลีกของตระกูลสร้างรายได้ให้กว่า 5.8 หมื่นล้านบาทในปี 2561 และพี่น้อง 6 คนของเธอก็ร่วมบริหารอยู่ในอาณาจักรนี้ด้วย

เครือเดอะมอลล์บริหารศูนย์การค้าที่มีชื่อเสียงโด่งดังคือ สยามพารากอน และ เอ็ม ดิสทริค จุดหมายปลายทางแห่งการช็อปปิ้งระดับลักชัวรีซึ่งประกอบด้วย ดิ เอ็มโพเรียม ดิ เอ็มควอเทียร์ และที่กำลังก่อสร้างคือ ดิ เอ็มสเฟียร์ ซึ่งจะมีศูนย์รวมศิลปะและการแสดงขนาดใหญ่อยู่ภายใน มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท พร้อมจับมือ AEG ผู้ประกอบธุรกิจบันเทิงและกีฬาระดับโลก สร้าง สนามกีฬา 2 แห่งเพื่อเติมเต็มจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายของ “ดิ เอ็มดิสทริค” แห่งนี้

เธอยังวางเป้าให้เครือเดอะมอลล์ทำยอดขายแตะ “แสนล้านบาท” ให้ได้ภายใน 6 ปี นับว่าเป็นเป้าที่ท้าทายไม่น้อย ท่ามกลางแรงกดดันจากเทคโนโลยีที่ช็อปปิ้ง ออนไลน์ที่กำลังไล่บี้ธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก แต่ศุภลักษณ์มั่นใจว่ารับมือได้ พร้อมกางแผนลงทุน 6 ปีข้างหน้าพัฒนาศูนย์การค้า แห่งใหม่ “แบงค็อก มอลล์” มิกซ์ยูสมูลค่า 5 หมื่นล้านบาท บนที่ดินกว่า 100 ไร่ บริเวณสี่แยกบางนา ที่มีเจ้าสัว ชาลี โสภณพนิช เป็นหุ้นส่วน

ศุภลักษณ์ พยายามค้นหา Winning Formula ที่สร้างห้างค้าปลีกของเธอให้ประสพความสำเร็จดั่งอดีต ท่ามการแข็งขันโดยเฉพาะกำลังซื้อบนลงดิจิทัล ล่าสุดร่วมมือกับ AEG ซึ่งก่อตั้งโดย Philip Anschutz มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน เจ้าของธุรกิจหลายอย่างทั้งพลังงาน เป็นเจ้าของมหกรรมดนตรีอันดับหนึ่งของโลก Coachella ที่มีคนร่วมกว่า 1 ล้านคนทุกปี

โดย AEG เตรียมลงทุนหลักหมื่นล้านเพื่อสร้าง “อารีน่า” จัดคอนเสิร์ตและจัดงานอีเวนต์ระดับโลก 2 แห่ง ในช่วง 5 ปีนี้ คือ EM LIVE ในศูนย์การค้า เอ็มสเฟียร์ ความจุ 6,000 ที่นั่ง และ แบงค็อก อารีน่า ในโครงการแบงค็อก มอลล์ บางนา ความจุ 16,000 ที่นั่ง ซึ่งต้องติดตามต่อเนื่องจากการสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ

ทรัพย์สิน 925 ล้านเหรียญ หรือราว 3.25 หมื่นล้านบาท

คาราบาวกรุ๊ป ยังคงรั้งอันดับสองในศึกชิงจ้าวเครื่องดื่มชูกำลัง โดยมี โอสถสภาฯ รั้งหมายเลขหนึ่ง การเป็นสปอนเซอร์ในการแข่งขันฟุตบอลของ คาราบาวกรุ๊ป ต่อเนื่องทำให้หุ้นของคาราบาวกรุ๊ป หรือ CBG เป็นที่สนใจในชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคชาวอังกฤษของคาราบาวอยู่ในกลุ่ม 25-34 ปี เป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่ง

สำหรับ "ณัฐชไม" แยกตัวออกมาจากธุรกิจผู้ให้บริการทางการเงินของครอบครัว เพื่อทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับเสถียร ก่อนที่ในปี 2542 จะก่อตั้งโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง ซึ่งเป็นทั้งโรงเบียร์ขนาดเล็กและร้านอาหาร ถัดมา 2 ปี ทั้งคู่จับมือเป็นพันธมิตรกับ แอ๊ด คาราบาว ศิลปินเพื่อชีวิตชื่อดัง เพื่อเจาะตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง

สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ

ทรัพย์สิน 710 ล้านเหรียญ หรือราว 2.5 หมื่นล้านบาท

ประธานกลุ่มไทย ซัมมิท ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของประเทศ ที่ก่อกำเนิดจากร้านรับทำเบาะมอเตอร์ไซค์ของ 2 พี่น้อง สรรเสริญ จุฬางกูร และ พัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ สามีผู้ล่วงลับของสมพร ร่วมกันสร้างแล้วค่อยแยกกันโต สร้างอาณาจักรชิ้นส่วนยานยนต์ของตัวเองมูลค่านับหมื่นล้านบาท

ไทยซัมมิทกรุ๊ป ได้ทำสัญญาเป็นผู้ผลิตตัวถังรถยนต์น้ำหนักเบา เทคโนโลยีที่ไทยซัมมิทกรุ๊ปพัฒนาขึ้นมาเองเพื่อส่งมอบให้กับ Tesla inc. บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา สำหรับใช้เป็นโครงสร้างรถยนต์ Tesla ในโมเดล 3 รุ่นล่าสุด ในระยะ 4-5 ปี ต่อจากนี้

ปีที่ผ่านมาถึงเป็นช่วงที่วุ่นวายต่อ สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นอย่างมากเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐ ทำให้ บริษัทลูกอย่าง บริษัท ไทยซัมมิท โอโตโมทีฟฯ ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ประกาศหยุดการทำงานชั่วคราวเฉพาะที่เป็นชิ้นส่วนเหล็ก หรือ Plantที่3 และการให้กำลังต่อลูกชาย เช่น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกตัดสิทธิทางการเมือง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook