TTB คาดเศรษฐกิจไทยโต 3.4% แรงส่งจากนักท่องเที่ยว-การบริโภคเอกชน

TTB คาดเศรษฐกิจไทยโต 3.4% แรงส่งจากนักท่องเที่ยว-การบริโภคเอกชน

TTB คาดเศรษฐกิจไทยโต 3.4% แรงส่งจากนักท่องเที่ยว-การบริโภคเอกชน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

543638

ดร.นริศ สถาผลเดชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริการ หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทีทีบีธนชาต หรือ ttb analytics คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 66 ขยายตัวอยู่ที่ 3.4% ภายใต้ 3 เครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

  • ภาคการท่องเที่ยว ฟื้นตัวเร็วจากการประเทศของจีนที่คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย 29.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 11.3 ล้านคน
  • ภาคการบริโภค กลับมาขยายตัวอยู่ที่ 3.9% จากปีก่อนขยายตัวที่ 6.3%
  • ภาคการส่งออก คาดว่าจะหดตัวที่ -0.5% เนื่องจากการค้าโลก-เศรษฐกิจฝั่งคู่ค้า (ยุโรป, สหรัฐฯ) ชะลอตัว หากการส่งออกติดลบเศรษฐกิจไทยจะโตไม่ถึง 3%

"ภาคการส่งออกมีสัดส่วนสูง 65% ของ GDP เมื่อเทียบกับการบริโภคเอกชนที่มีอยู่ 55% และการท่องเที่ยวคิดเป็น 12% ต่อให้การท่องเที่ยวเติบโต ก็ชดเชยการส่งออกได้ยาก"

ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยของไทยคาดการณ์ว่า ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ต่อปี ไปอยู่ที่ 2% ต่อปี เพราะอัตราเงินเฟ้อของไทยเริ่มเข้าสู่กรอบของ ธปท.ในครึ่งปีหลัง สอดคล้อกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่คาดการณ์ว่าจะปรับขึ้นในการประชุมรอบนี้อีก 0.25% และอีกรอบในระดับเดียวกันสู่ระดับ 5.25-5.50% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าเงินบาทในปีนี้ยังมีความผันผวนตามสถานการณ์โลกโดยคาดการณ์สิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 33.00-34.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ หนี้ครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับสูง และสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเติบโตค่อนข้างเร็ว เมื่อทิศทางดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ภาระหนี้ของกลุ่มเปราะบาง อาทิ กลุ่มรายได้น้อย กลุ่มเกษตรกร และภาคธุรกิจขนาดเล็ก ที่ยังจำเป็นต้องก่อหนี้เพิ่มเพื่อพยุงระดับการบริโภคและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับประกอบธุรกิจครัวเรือน อีกทั้ง มาตรการดูแลลูกหนี้ทั้งในส่วนของประชาชนและภาคธุรกิจที่กำลังทยอยหมดลงนับแต่เดือนเมษายนจนถึงสิ้นปี 2566 นี้ อาจเป็นปัจจัยกดดันให้ลูกหนี้ที่เปราะบางจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือต่อไป

ดังนั้น ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญในปีนี้ คือ การมองหาตลาดส่งออกสินค้าที่ยังมีศักยภาพเติบโตได้ต่อเนื่องท่ามกลางโลกที่ท้าทาย เช่น กลุ่มตะวันออกกลาง, อินเดียและกลุ่มอาเซียน เป็นต้น มาตรการบรรเทาค่าครองชีพแก่กลุ่มครัวเรือนและดูแลกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่เปราะบาง เช่น ลดค่าครองชีพในหมวดสินค้าจำเป็น มาตรการช่วยเหลือค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้า มาตรการช่วยผ่อนคลายต้นทุนของธุรกิจ SMEs และมาตรการทางการเงินและสินเชื่อจากภาคสถาบันการเงินเพื่อดูแลลูกหนี้กลุ่มเปราะบางเป็นรายกรณี เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook