ภาษีย้อนหลังคืออะไร หากโดนเก็บต้องทำอย่างไรต่อ

ภาษีย้อนหลังคืออะไร หากโดนเก็บต้องทำอย่างไรต่อ

ภาษีย้อนหลังคืออะไร หากโดนเก็บต้องทำอย่างไรต่อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง โดย 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมสรรพากร, กรมศุลกากร และกรมสรรพสมิต ซึ่งสาเหตุที่ถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง คือ ไม่ยื่นภาษี รายได้ งบการเงินไม่ถูกต้อง หรือมีความผิดปกติที่เข้าข่ายทำให้กรมสรรพากรสงสัย และเริ่มตรวจสอบ

วิธีตรวจสอบภาษีย้อนหลังของกรมสรรพากร

  • ดูข้อมูลจากใบ 50 ทวิ (หนังสือรับรอง หัก ณ ที่จ่าย) ที่ทางบริษัท ส่งให้กับกรมสรรพากร
  • สถาบันการเงิน ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร เมื่อมีบริการาก หรือรับโอนเงิน ผ่านระบบ E-payment จะ 3,000 ครั้งต่อปี หรือฝาก หรือโอนเงิน 400 ครั้ง โดยมียอดรวมของการากและโอนรวมกัน 2 ล้านบาทขึ้นไป
  • ใช้ระบบ Big Data & Data Analytics
  • ตรวจสอบผ่านเมนู การแจ้งเบาะแส / ข้อมูลแหล่งภาษีที่ www.rd.go.th
  • สุ่มตรวจจากหน้าเว็บต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ที่มีการโพสต์เงินโอนเข้า
  • ดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ หรือ Web Scraping

การตรวจสอบภาษีย้อนหลัง มีอายุความเท่าไหร่?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล

  • มีอายุความตามหมายเรียก ภายใน 2 ปี นับจากวันที่ยื่นภาษี แต่ถ้ามีหลักฐานว่าบุคคลนั้นจงใจ หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีจริง จะสามารถขยายเวลาขออายุความไปได้ถึง 5 ปี
  • กรณีที่ผู้เสียภาษีเคยยื่นแบบภาษีจะสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ 10 ปี นอกจากนี้ กรมสรรพากร มีสิทธิเรียกดู รายการเดินบัญชี (Statement) ได้

ภาษีธุรกิจ

  • สามารถเรียกเก็บย้อนหลังได้มากถึง 10 ปี ตาม มาตรา 193/31 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกแต่อย่างใด ซึ่งอายุความเรียกเอาหนี้ภาษีอากรคืน จะนับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดการยื่นแบบภาษี

หากโดนต้องสงสัยว่าต้องจ่ายภาษีย้อนหลังควรทำอย่างไร

  • ตรวจสอบรายการภาษีย้อนหลัง โดยเฉพาะรายได้ของแต่ละปีว่ามีรายได้ทั้งหมดเท่าไหร่ เงินที่เข้าบัญชีที่เป็นส่วนของรายได้เท่าไหร่ เพื่อไปแสดงกับกรมสรรพากร
  • กรณีที่ มียอดเงินเข้าเกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจด VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน รวมถึงเสียภาษีเงินได้ 2 รอบ คือ ครึ่งปีและปลายปี

กรณีที่โดนเก็บภาษีย้อนหลัง

ผู้เสียภาษีต้องจ่ายภาษีย้อนหลัง คือ นำเงินไปจ่ายภาษีตามที่กรมสรรพากรเรียกเก็บ

ผู้ที่เคยชำระค่าภาษีมาก่อนหน้า

  • เมื่อได้รับหนังสือแจ้งเรื่องการชำระภาษีย้อนหลังจากกรมสรรพากร ให้รวบรวมหลักฐาน เอกสารต่างๆ แสดงต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อหาข้อแก้ต่างหรือลดหย่อนภาษีในเบื้องต้น

ผู้ที่ยังไม่เคยจ่ายภาษีมาก่อนหน้านี้

  • ต้องชำระภาษีและค่าปรับตามยอดที่เจ้าหน้าที่บอก และติดต่อสำนักงานบัญชี เพื่อช่วยในการร่วมเข้าฟังกับกรมสรรพากร โดยค่าปรับจะเสียเงินเพิ่มจากภาษีอีกเดือนละ 1.5 % จากวันแรกที่เลยกำหนดเวลาในการยื่นภาษีไปจนถึงวันที่ทำการชำระภาษี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook