ภาษีเดินทางออกนอกประเทศ สรรพากรแจง แค่สำรวจความเห็นตามที่กฎหมายกำหนด

ภาษีเดินทางออกนอกประเทศ สรรพากรแจง แค่สำรวจความเห็นตามที่กฎหมายกำหนด

ภาษีเดินทางออกนอกประเทศ สรรพากรแจง แค่สำรวจความเห็นตามที่กฎหมายกำหนด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข่าว กรณีกรมสรรพากรเตรียมจะเก็บภาษีเดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยเก็บครั้งละ 1,000 บาทต่อคน สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบินโดยสารไปต่างประเทศ และคนละ 500 บาท เมื่อเดินทางด้วยรถยนต์หรือเรือ อันเนื่องมาจากการที่กรมสรรพากรเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อพระราชกำหนดภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ.2526 เพื่อการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ระหว่างวันที่ 3–17 พ.ค. 66 นั้น

นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชกำหนดภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ.2526 เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในเรื่องเกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย อันเป็นการตรวจสอบความเหมาะสมของเนื้อหาของกฎหมายดังกล่าวในด้านต่างๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 64 ที่ได้รับทราบและเห็นชอบการดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายปี 62

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ไม่ได้เป็นการเตรียมการที่จะจัดเก็บภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรแต่อย่างใด ถึงแม้กฎหมายดังกล่าวจะไม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2534 (อ้างอิง กฎกระทรวงเพื่อยกเว้นภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร) พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายปี 62 กำหนดให้กรมสรรพากรยังคงมีหน้าที่ที่ต้องดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายโดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในระบบกลางตามมาตรา 35 ของพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว

โฆษกกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในปี 2567 กรมสรรพากรต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทําร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายอีก 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมและพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook