กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) คืออะไร ลาออก ได้เท่าไหร่

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) คืออะไร ลาออก ได้เท่าไหร่

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) คืออะไร ลาออก ได้เท่าไหร่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นสวัสดิการสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ช่วยออมเงินเพื่อใช้ในยามเกษียณ โดยนายจ้างและพนักงานจะร่วมกันสะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาชิกจะได้รับเงินเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิก เช่น ลาออก เกษียณ เสียชีวิต หรือทุพพลภาพ โดยได้รับเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตามเงื่อนไขของบริษัท การทราบสิทธิประโยชน์เหล่านี้จะช่วยให้สามารถวางแผนออมเงินและภาษีได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร? สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับมีอะไรบ้าง? และเมื่อไหร่จะได้รับเงินคืน? ลาออกได้เท่าไหร่? วันนี้เรามีคำตอบให้

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คืออะไร

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund หรือ PVD) เป็นกองทุนที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมควรใจเพื่อให้ลูกจ้างมีเงินออมไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณหรือเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัว ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องทางสุขภาพหรือบาดเจ็บในระหว่างทำงาน โดยเงินกองทุนจะมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนเพื่อตนเองส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสะสม" ซึ่งกฎหมายกำหนดให้สะสมได้ต้องแต่ละบริษัทมีอัตราเงินสะสมให้เลือกออมได้ตั้งแต่ 2-15% ของเงินเดือน และเงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนให้อื่นๆ เรียกว่า "เงินสมทบ" ตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง ในอัตราต่ำสุด 2% แต่ไม่เกิน 15% ของเงินค่าจ้าง 

นอกจากนี้ ในระหว่างที่เงินอยู่ในกองทุนนี้ เงินกองทุนก็ไม่ได้นอนนิ่งอยู่เฉยๆ แต่จะมีบริษัทจัดการหรือ "บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน" (บลจ.) นำเงินไปลงทุนในตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ เพื่อสร้างดอกผลให้กับกองทุน โดยจะนำดอกผลที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยคืนให้กับสมาชิกตามส่วนของเงินที่แต่ละคนมีอยู่ในกองทุน ซึ่งดอกผลที่เกิดจากการนำเงินก่อนนี้ไปลงทุนเรียกว่า "ผลประโยชน์ของเงินสะสม" และ "ผลประโยชน์ของเงินสมทบ"

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) มีดังนี้

  1. ช่วยสร้างวินัยในการออมเงิน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพช่วยส่งเสริมให้ลูกจ้างมีวินัยในการออมเงิน เนื่องจากเงินสะสมจะถูกหักจากเงินเดือนหรือเงินค่าจ้างโดยอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาการออมเป็นระเบียบเองอีกต่อไป

  2. มีเงินออมสำหรับใช้หลังเกษียณหรือลาออกจากงาน ผู้เข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมีเงินสะสมเพื่อใช้ในอนาคตหลังการเกษียณหรือหลังลาออกจากงาน ทำให้มีความมั่นคงในเรื่องการเงินในช่วงชีวิตหลังเกษียณ

  3. ผู้รับผลประโยชน์ในกรณีเสียชีวิต หากเกิดเหตุการณ์ที่ผู้เข้าร่วมเสียชีวิต กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะจ่ายเงินสะสมให้แก่ "ผู้รับผลประโยชน์" ซึ่งผู้เข้าร่วมสามารถระบุไว้ได้ การรับเงินส่วนนี้จะเป็นเช่นเดียวกับการมอบหลักประกันทางรายได้ให้กับครอบครัว

  4. ลดหย่อนภาษี เงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 15% ของรายได้ และถ้ารวมกับการลดหย่อนภาษีเพื่อการเกษียณในรูปแบบอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

  5. การบริหารจัดการโดยมืออาชีพ เงินสะสมที่จ่ายในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะถูกบริหารจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทเหล่านี้มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายให้ผู้เข้าร่วมเลือกตามความต้องการ เช่น การลงทุนในตราสารหนี้ หุ้นของบริษัทไทย หุ้นของบริษัทต่างประเทศ เป็นต้น และเมื่อมีกำไรก็จะถูกแจกจ่ายให้กับสมาชิกทุกคนในกองทุนตามสัดส่วนของเงินที่แต่ละคนมีอยู่ในกองทุนนั่นเอง

เช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทำอย่างไร?

เช็คยอดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดูจาก "รายงานผลการจัดการกองทุน" ที่บริษัทจัดการส่งให้คณะกรรมการกองทุนทุกเดือน หรือดูจาก "ใบแจ้งยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" ที่บริษัทจัดการจะส่งให้สมาชิกทุกคนปีละ 2 ครั้ง

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ได้เงินตอนไหน?

เมื่อเราสิ้นสุดการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะเป็นเพราะลาออกจากงาน ลาออกจากกองทุน โอนย้ายกองทุน ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต เราสามารถรับเงินคืนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้

อย่างไรก็ตาม หากเราลาออกจากงานหรือลาออกจากกองทุนก่อนที่จะอายุครบ 55 ปี และไม่เป็นสมาชิกกองทุนอย่างน้อย 5 ปี เราต้องเสียภาษีเงินได้ตามกฎหมาย แต่หากเราตรงตามเงื่อนไขดังกล่าว เราจะได้รับยกเว้นภาษีกับเงินได้บุคคลธรรมดา

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษี ได้เท่าไหร่?

คนที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถใช้เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง (ไม่รวมเงินส่วนที่นายจ่าง จ่ายสมทบให้) แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนด คือ ให้หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง หรือ 500,000 บาท 

ดังนั้น ถ้าหากมนุษย์เงินเดือนคนไหนเลือกการสะสมที่มากขึ้น ก็หมายความว่า “สิทธิลดหย่อนภาษีตรงนี้จะมากขึ้น ตามไปด้วย” และเป็นการช่วยให้ตัวเองในอนาคตมีเงินเพียงพอสำหรับการเกษียณที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ลาออก ได้เท่าไหร่?

การได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการเป็นสมาชิก เช่น ลาออก เกษียณ เสียชีวิต หรือทุพพลภาพ สมาชิกจะได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัท

ตัวอย่างเช่น หากทำงาน 4 ปี จะได้รับเงินสมทบ 50% และเงินสะสม 100% แต่หากทำงาน 8 ปี จะได้รับเงินทั้งสองส่วนเต็ม 100%

เมื่อเปลี่ยนงาน สมาชิกสามารถโอนเงินจากกองทุนบริษัทเดิมไปยังกองทุนบริษัทใหม่ หรือ RMF for PVD โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมหรือภาษี หรือสามารถคงเงินไว้ที่กองทุนเดิมตามระยะเวลาที่กำหนดได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook