วิธีปิดหนี้บ้าน "โปะเงินต้น-รีไฟแนนซ์-จ่ายหนี้ตรงเวลา" ช่วยให้หมดไวกว่าเดิม

วิธีปิดหนี้บ้าน "โปะเงินต้น-รีไฟแนนซ์-จ่ายหนี้ตรงเวลา" ช่วยให้หมดไวกว่าเดิม

วิธีปิดหนี้บ้าน "โปะเงินต้น-รีไฟแนนซ์-จ่ายหนี้ตรงเวลา" ช่วยให้หมดไวกว่าเดิม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิธีช่วยปิดหนี้บ้านให้หมดไว "โปะเงินต้น-รีไฟแนนซ์-จ่ายหนี้ตรงเวลา" มั่นใจเคลียร์ไวกว่าเดิม

ใครที่กำลังกู้เงินจะซื้อบ้าน หรือคอนโด หรืออยู่ระหว่างการผ่อนค่างวดนั้น อาจจะต้องวางแผนรัดกุมมากขึ้นในยุคดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้คนที่ซื้อบ้านจะต้องส่งเงินงวดสูงขึ้นกว่าเดิม และใช้เวลาในการผ่อนชำระมากขึ้น

แต่จะดีกว่ามั้ย ถ้าจะมีวิธี หรือเทคนิคที่จะช่วยให้เราหมดภาระหนี้สินกับธนาคารเร็วขึ้น จากเดิมที่เราต้องผ่อนบ้านจาก 30 ปี อาจจะลดลงเหลือ 10-15 ปีเท่านั้น Sanook Money มีข้อมูลดีๆ จาก Krungsri The COACH มาฝากกัน

วิธีปิดหนี้บ้าน กับธนาคารให้หมดเร็วขึ้น

1. โปะเงินต้น

คือ จ่ายค่าผ่อนบ้านมากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ หรือเพิ่มขึ้นในทุกเดือน เช่น เมื่อสถาบันการเงินกำหนดผ่อน 10,000 บาทต่อเดือน เราโปะเพิ่มอีก 10-50% ตามที่กำลังทรัพย์จะไหว ถ้าเราโปะเพิ่มในทุกเดือน โดยที่เป็นจำนวน 50% ต่อเดือน ปกติจากเดิมเคยผ่อนชำระ 10,000 บาท จะผ่อนเพิ่มเป็น 20,000 บาท ซึ่งจะทำให้เราลดเวลาการผ่อนชำระไปได้ถึงครึ่งเลย ยิ่งถ้าช่วงไหนโบนัสออก แล้วอยากโปะค่าบ้านให้หมด วิธีนี้ช่วยได้ดีเลยทีเดียว

2. ปรับโครงสร้างหนี้บ้านเพื่อลดดอกเบี้ย มี 2 แบบ

  • รีไฟแนนซ์ (Refinance)

    • คือ การขอย้ายเพื่อที่จะไปผ่อนกับสถาบันการเงินที่ใหม่ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงกว่าสถาบันการเงินเดิม เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดอัตราดอกเบี้ยได้ โดยที่ส่วนใหญ่แล้วมักที่จะได้อัตราดอกเบี้ยต่ำลงในระยะเวลา 3 ปีแรกเท่านั้น แต่หลังจากระยะเวลา 3 ปีแรก ดอกเบี้ยมักที่จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการขอรีไฟแนนซ์บ้านกับสถาบันการเงินใหม่ ก็เหมือนเป็นการเปลี่ยนเจ้าหนี้ใหม่นั่นเอง

  • รีเทนชั่น (Retention)

    • คือ การขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงิน (เจ้าหนี้ปัจจุบัน) หมายความว่าไม่ต้องเปลี่ยนเจ้าหนี้ใหม่ เพียงแค่ทำเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น

รีไฟแนนซ์ (Refinance)

re

ข้อดี

  • สถาบันการเงินใหม่ให้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่าสถาบันการเงินเดิม
  • ถ้าเป็นลูกหนี้ชั้นดี สามารถต่อรองอัตราดอกเบี้ยให้ถูกลงกว่าเดิมได้
  • สามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยในเรทที่ต่ำได้หลายธนาคาร

ข้อเสีย

  • มีค่าธรรมเนียมในการขอยื่นกู้ใหม่ ลักษณะเดียวกับการยื่นกู้ครั้งแรก
  • ใช้เวลาในการพิจารณาจากสถาบันการเงินที่ค่อนข้างนาน
  • ต้องเตรียมเอกสารในการขอยื่นกู้ใหม่ทั้งหมด

รีเทนชั่น (Retention)

re1

ข้อดี

  • ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการขอยื่นกู้รีเทนชั่นกับธนาคารเดิม
  • ใช้ระยะเวลาในการพิจารณาไม่นาน เพราะธนาคารมีประวัติการผ่อนชำระของเราอยู่แล้ว (เนื่องจากเป็นการขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม)

ข้อเสีย

  • ธนาคาร หรือสถาบันการเงินเดิมอาจลดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เยอะมาก
  • อัตราดอกเบี้ยไม่ดึงดูดใจเท่าการรีไฟแนนซ์

3. จ่ายหนี้ตรงเวลา

  • การชำระหนี้ตรงเวลาจะไม่ทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่ม เนื่องจากเราได้รักษาเครดิตของเราไว้ให้อยู่ในเกณฑ์ลูกหนี้ชั้นดี เมื่อใดก็ตามที่เราอยากที่จะรีไฟแนนซ์บ้าน หรือแม้กระทั่งอยากที่จะรีเทนชั่น สถาบันการเงินจะทำการเช็กประวัติการชำระหนี้ของเราในอดีตที่ผ่านมา ถ้าหากเราชำระหนี้ตรงต่อเวลามาโดยตลอด ทางธนาคารจะถือว่าเราเป็นลูกหนี้ชั้นดี และมีโอกาสที่จะต่อรองกับสถาบันการเงินได้ การที่เราชำระหนี้ตรงต่อเวลามาตลอดไม่ว่าสถาบันการเงินทั้งเก่าและใหม่ก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่

หมายเหตุ: การชำระเงินเกินทุกเดือน จะช่วยลดเงินต้นได้มากกว่าการโปะเพิ่มประจำปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook