ศาลอังกฤษสั่ง "ณพ ณรงค์เดช" และพวกชดใช้ 3 หมื่นล้านบาท อดีตซีอีโอ วินด์

ศาลอังกฤษสั่ง "ณพ ณรงค์เดช" และพวกชดใช้ 3 หมื่นล้านบาท อดีตซีอีโอ วินด์

ศาลอังกฤษสั่ง "ณพ ณรงค์เดช" และพวกชดใช้ 3 หมื่นล้านบาท อดีตซีอีโอ วินด์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า ศาลอังกฤษมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 66 ตามเวลาท้องถิ่น ให้นายณพ ณรงค์เดช และพวกรวม 14 คน จ่ายค่าเสียหายรวมราว 900 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 30,000 ล้านบาท ให้นายนพพร ศุภพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้ง และอดีตซีอีโอ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) หลังถูกนายนพพรป้องในข้อหาสมคบกันชักจูงใจ ด้วยข้อมูลลวงให้ขายหุ้น WEH

ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ จำเลยที่ 10 และนายอาทิตย์ นันทวิทยา อดีตซีอีโอ จำเลยที่ 11 รวมทั้งนางคาดีจา บิลาลซิดดีกี จำเลยที่ 5 รอด ผู้ถูกฟ้องสำคัญคนอื่นๆ ในคดี ได้แก่ นายณพ ณรงค์เดช ลูกชายคนกลางของนายเกษม ณรงค์เดช เป็นจำเลยที่ 1 ส่วนนายเกษม ผู้เป็นบิดา ตกเป็นจำเลยที่ 14 และจำเลยที่ 15 คือ คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา แม่ภรรยาของนายณพ และภรรยาของ พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา อดีตอธิบดีกรมตำรวจผู้ล่วงลับ

ส่วนนายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ กรรมการบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัทแม่ของ SCB และเจ้าของสำนักงานกฎหมายชั้นนำของประเทศ บริษัท วีระวงค์, ชินวัฒน์ และพาร์ทเนอร์ จำกัด (WCP) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของนายณพ เป็นจำเลยที่ 13 และนายประเดช กิตติอิสรานนท์ ประธานคณะกรรมการบริหาร และกรรมการของ WEH เป็นจำเลยที่ 16

ผู้พิพากษานีล แคลเวอร์ แห่งศาลพาณิชย์อังกฤษ มีคำตัดสินว่า นายณพ และพวก (ยกเว้นจำเลยที่ 5,10 และ 11) ร่วมกันกระทำละเมิดโดยมิชอบ และต้องรับผิดร่วมกันตามมาตรา 432 ของประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ของไทย พร้อมสั่งให้ชดใช้ความเสียหายรวมกันทั้งเงินค้างชำระ และดอกเบี้ยรวมกันเป็นมูลค่าราว 900 ล้านดอลลาร์ จากที่นายนพพรฟ้องเรียกไป 1,500 ล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ข้องไทย มาตรา 432 ระบุว่า ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่า ในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย

อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริม หรือช่วยเหลือในการกระทำละเมิด ก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำละเมิดร่วมกันด้วย ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook