เครดิตบูโร เผย NPL ไทยจ่อ 4.75 แสนล้านบาท เตือนหนี้รถยนต์หลังเพิ่มขึ้น 18%

เครดิตบูโร เผย NPL ไทยจ่อ 4.75 แสนล้านบาท เตือนหนี้รถยนต์หลังเพิ่มขึ้น 18%

เครดิตบูโร เผย NPL ไทยจ่อ 4.75 แสนล้านบาท เตือนหนี้รถยนต์หลังเพิ่มขึ้น 18%
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงหนี้เสียไทยโดยรายละเอียดดังนี้

หนี้กำลังจะเสีย, หนี้​ SM, หนี้เลี้ยงงวด

1. ตัวเลขล่าสุดของหนี้ครัวเรือนไทยที่มีการจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล​ของเครดิตบูโร​จากจำนวนประชากร​ 32 ล้านลูกหนี้​ คิดเป็นเงิน​ 13.45 ล้านล้านบาท (หนี้ครัวเรือนไทยที่รายงานอย่างเป็นทางการคือ​ 15.96 ล้านล้านบาท) ส่วนที่ไม่ได้จัดเก็บในระบบของเครดิตบูโร​หลักๆคือ​ หนี้สินเชื่อสหกรณ์​ออมทรัพย์, เครดิตยูเนี่ยน, กยศ.​ เป็นต้น

2. ตัวเลขที่แสดงใน​ 2 ภาพนี้คือ​ หนี้ที่กำลังจะเสีย, หนี้​ SM, หนี้ที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special​ mention loan) หรือหนี้ที่มีการค้างชำระ​ 31-90 วัน แต่ยังไม่ข้ามเส้นการค้างชำระเกิน​ 90 วัน

3. จากภาพที่แสดงมันบอกว่า​ เรามีหนี้ที่กำลังจะกลายเป็นหนี้เสีย​ 4.75 แสนล้านบาท​ มันลดลงมาจากไตรมาสที่​ 1 ของปี​ 2566​ เดือน มี.ค. ที่มีอยู่สูง​ 6 แสนล้านบาท​ อย่างไรก็ตามเมื่อเราเข้าไปดูไส้ในจะพบว่า​ 2 แสนล้านบาท เป็นหนี้กู้ซื้อรถยนต์​ 1.3 แสนล้านบาทเป็นหนี้กู้ซื้อบ้านในจำนวนนี้​ 9 หมื่นล้านบาท เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินของรัฐ​ ซึ่งก็จะสะท้อนไปที่บ้านราคาไม่แพง​ กลุ่มรายได้ปานกลาง, รายได้น้อย​ นอกจากนี้ยังมีหนี้​ Ploan​ อีก​ 8.6 หมื่นล้านบาท​

4. ตัวเลขหนี้กำลังจะเสียลดลงมาจากไตรมาสที่แล้วที่พุ่งไประดับ​ 6 แสนล้านบาท จนผู้คนตกใจและลดลงมาเป็น​ 4.75 แสนล้านบาท​ ถ้าเราคิดต่อว่าอัตราการไหลไปเป็นหนี้เสียหรือกลายไปเป็น​หนี้​ NPLs แล้วจะพบว่าจากข้อมู​ลที่สื่อมวลชน​สอบถาม​ในวันแถลงข่าว​ของ ธปท. นั้นพบว่า​ Migration rate ของสินเชื่อบ้านอยู่ที่​ 22%, สินเชื่อรถยนต์​ 12%, สินเชื่อส่วนบุคคล​ 54% และบัตรเครดิต​ 57% อัตราส่วนนี้บอกอะไรกับเราบ้าง​ มันก็เป็นตัวบอกว่า​ หนี้เสียที่จะไหลมาจากหนี้กำลังจะเสียนั้นมันคงจะยังไม่เป็นขนาดถล่มทลาย​ แบบตกหน้าผากันแต่ก็อย่าลืมว่าการค้างชำระในส่วนของหนี้ที่มีหลักประกัน​เช่นรถยนต์, บ้านที่อยู่​อาศัย​นั้น​ เป็นอะไรที่ไม่น่าจะสบายใจนัก ประกอบกับเรายังมีเรื่องของค่าครองชีพ, ค่าไฟฟ้า​ ค่าน้ำมัน​เชื้อเพลิง​อีกส่วนหนึ่งที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น​ แรงกดดันจากค่าใช้จ่ายตรงนี้มันจะมาเบียดรายได้ที่ไม่ค่อยจะแน่นอน​ มั่นคง​ เพียงพอที่จะรองรับการเอาไปชำระหนี้ในแต่ละเดือนได้ให้ไม่เกิดการค้างชำระได้ขนาดไหน​

ผมนำตัวเลขนี้มาเสนอเพื่อให้ท่านที่สนใจได้ตระหนัก​ อย่าตื่นตระหนก​ แต่ต้องคิดให้ตก​ คิดให้ออก​ คิดให้ได้ว่า​ ถ้าเราเป็นลูกหนี้ที่เลี้ยงงวดการจ่ายหนี้เดือนชนเดือนแล้ว​ เราควรรีบเข้าไปขอคำปรึกษา​ ทางด่วนแก้หนี้​ คลีนิคแก้หนี้​ หรือโทร​ 1213​ เพื่อขอความช่วยเหลือ​ได้แล้วหรือยังในตอนนี้

mymap

mymap1

นอกจากนี้ ยังระบุถึง หนี้เสีย, หนี้มีปัญหา, หนี้ NPLs, หนี้ปรับโครงสร้าง โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ณ​ สิ้นเดือน มิ.​ย. 66 จากการประมวลผลจากฐานข้อมูล​สถิติที่เอาตัวตนออกไปแล้วของเครดิตบูโร​พบข้อเท็จจริงว่า​ หนี้ครัวเรือนไทยทั้งก้อนหลังการปรับปรุงข้อมูล​โดย ธปท.​ เรามีตัวเลขอยู่ที่​ 15.96 ล้านล้านบาท ​คิดเป็น​ 90.6% ของ​ GDP ที่สะท้อนว่าเศรษฐกิจ​ของเรามีปัญหาในเรื่องนี้

  • เรามีปัญหาแล้ว
  • เรามีปัญหาอยู่
  • เรามีปัญหาต่อ(อีกซักพัก)​
  • เรายังออกจากกับดักตรงนี้ไม่ได้​ในเวลานี้

2. ตัวเลขหนี้ครัวเรือนไทย​ 13.45 ล้านล้านบาท จัดเก็บอยู่ในระบบของเครดิตบูโร​ครับ​ ครอบคลุม​ 32 ล้านลูกหนี้ ​ที่เป็นหนี้กับสถาบันการเงิน​ไทยกว่า​ 135 แห่ง​ หนี้เสียไปแล้วรอการแก้ไขในตอนนี้กลับมาแตะระดับ​ 1 ล้านล้านบาท อีกครั้งในเดือน มิ.​ย. 66​ ที่ระดับ​ 1.03 ล้านล้านบาท คิดเป็น​ 7.7% เมื่อไตรมาส​ 1ปี​ 2566​ มันอยู่ที่​ 9.5 แสนล้านบาทครับ​ คำถามคือมันจะไปต่อหรือไม่​ คำตอบคือมันต้องไปต่อแน่ด้วยสถานการณ์​ทางเศรษฐกิจ​แบบยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และทั่วถึง​ ประกอบกับจะมีการชักคืนมาตรการช่วยเหลือออกตามแผน​ แล้วกลับไปใช้มาตรการ​ตามปกติเดิมมารองรับ​ ตามการคาดการณ์​จะไม่ไหลมาแบบรุนแรง​ แต่มีโอกาสเพิ่มแน่ๆ​ ท่านที่สนใจพิจารณา​ได้จากกราฟสีแดงที่ปรากฎในภาพด้านล่าง

หนี้ตัวที่สองคือหนี้เสียที่เอาไปปรับโครงสร้าง​ เอาไป​ซ่อม​ เพื่อให้กลับมาเป็นหนี้ดี​ จ่ายได้​ ตรงนี้มีจำนวน​ 9.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา​ที่อยู่ที่ระดับ​ 8แสนล้านบาท​ แน่นอนว่ามาจากการเร่งเข้าไปช่วยเหลือ, ช่วยปรับโครงสร้าง​หนี้​ตามมาตรการที่ออกแบบมาโดย ธปท.​ ทุกท่านที่สนใจดูได้จากเส้นสีดำนะครับ​ ดูว่ากราฟมันเชิดหัวขึ้น​ ถ้าปรับแล้วรอดก็เป็นหนี้ดี, ถ้าปรับแล้วทำไม่ได้​ ยังจ่ายไม่ได้ก็ต้องปรับอีกหรือปล่อยไหลเป็นหนี้เสีย​

3. ไส้ในของหนี้ที่เสียไปแล้วหรือหนี้​ NPL​s ประกอบด้วย​

หนี้กู้ซื้อรถยนต์​เกือบ​ 2 แสนล้านบาท​ หนี้กู้ซื้อบ้าน​ ที่อยู่​อาศัย​ 1.8แสนล้านบาท​ หนี้​ Ploan 2.5แสนล้านบาท​ บัตรเครดิต​ 5.6หมื่นล้านบาท​ หนี้เกษตร​ 7.2หมื่นล้านบาท​ เป็นต้น​ ที่น่าสังเกตคือหนี้กู้มาซื้อรถยนต์​นั้นมันเพิ่มขึ้นจากกลางปีที่แล้ว​ มิถุนายน​ 2565​ สูงถึง 18% อันนี้ต้องยอมรับว่ากลิ่นไม่ค่อยดี

แม้ว่าทุกๆคนกำลังรอกลิ่นแห่งความเจริญงอกงามทางเศรษฐกิจในอนาคตตามที่แต่ละคนวาดหวัง​แต่กลิ่นแห่งความเป็นจริงวันนี้และในระยะอันใกล้มันส่งผ่านตัวเลขออกมาแบบทำให้ไม่สบายใจ​ ไม่สบายเนื้อสบายตัวเอาเสียเลยในเวลานี้

เส้นกราฟสีเหลืองคือหนี้ที่กำลังจะเสีย​ หนี้กล่าวถึง​เป็นพิเศษ​ หนี้​ SM​ กราฟปักหัวลงจาก​ 6แสนล้านบาท​ มาเป็น​ 4.75แสนล้านบาท​ พระเอกยังคงเป็นหนี้กู้มาซื้อรถยนต์​นะครับ​ 2แสนล้านบาท

หนี้เสียต้องเร่งแก้ไข เริ่มต้นได้อย่างไรให้ยั่งยืน​ มาตรการที่ช่วยให้ยืน​ จะต้องคืนในปลายปี​ แล้วชีวีจะเดินไปอย่างไร

mymap2

mymap3

ทั้งนี้ นายสุรพล ยังได้ระบุถึง หนี้เสียเนื่องจากได้รับผลกระทบ​จาก​ covid-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้

หลังจากที่ผมได้เขียนถึงหนี้เสีย,​ หนี้​ NPLs, หนี้ปรับโครงสร้าง​หนี้, หนี้​ TDR, หนี้กำลังจะเสียหรือหนี้​ SM ไปแล้ว​ ได้มีผู้คนสนใจส่งคำถามมายังผมถึงเรื่องลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ​จาก​ covid-19 จนกลายเป็นหนี้เสีย​ ที่เราๆท่านๆเรียกว่าหนี้เสียรหัส​ 21​ นั้นว่า​ ณ​ มิถุนายน​ 2566​ นั้นเป็นอย่างไร

จากภาพข้อมูล​ที่นำเสนอด้านล่างจะเห็นว่า​ จากหนี้เสีย, หนี้​ NPL​s ทั้งหมด​ 1.03 ล้านล้านบาท​นั้น​ เป็นหนี้เสียรหัส​ 21​ มีจำนวน​ 3.7แสนล้านบาท​ คิดเป็นจำนวนรายลูกหนี้​ 3.4ล้านคน​ ข้อสังเกต​ที่สำคัญคือ​ จากไตรมาสที่​ 1​ปี​ 2566​ หรือเมื่อสามเดือนก่อนตัวเลข​มันอยู่ที่​ 3.1แสนล้านบาท​ การเพิ่มของจำนวนเงินและจำนวนรายทั้งๆที่มีการเร่งปรับโครงสร้าง​หนี้​ตามมาตรการแบบมุ่งเป้าอย่างเต็มกำลัง​ สะท้อนให้​เห็น​ถึงความอ่อนแรงของความสามารถ​ในการชำระหนี้​ของลูกหนี้กลุ่มนี้ที่ชัดเจน​ คำถามคือในระยะเวลาที่เหลือก่อนชักเอามาตรการปรับโครงสร้าง​หนี้​ระยะยาวหรือมาตรการฟ้าส้ม​ออกไปในปลายปี​ ธันวาคม​ 2566นี้​ จะส่งผลให้เกิดความอืด, ความหนืดในการเร่งจัดการหนี้เสียเป็นหนี้ดีตามที่มุ่งหวังหรือไม่​

ผมได้แต่ภาวนาให้ลูกหนี้เกรดดีๆในช่วงก่อนโควิดเหล่านี้ได้มีโอกาสกลับมาเป็นหนี้ดีได้อีกครั้ง​ และหากจะมีมาตรการที่ชัดเจน​ ถูกฝาถูกตัวออกมาสำหรับกลุ่มนี้เพิ่มเติม​ ไม่ตัดออกก็จะเป็นกุศลสำหรับเศรษฐกิจ​ไทยเป็นอย่างยิ่ง​

mymap4

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook