ดราม่า "ปังชา" จดสิทธิบัตรแบบไหน ทรัพย์สินทางปัญญา มีกี่ประเภท

ดราม่า "ปังชา" จดสิทธิบัตรแบบไหน ทรัพย์สินทางปัญญา มีกี่ประเภท

ดราม่า "ปังชา" จดสิทธิบัตรแบบไหน ทรัพย์สินทางปัญญา มีกี่ประเภท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำความรู้จัก ทรัพย์สินทางปัญญา มีกี่ประเภท หลังชาวเน็ตแห่ถกสนั่นประเด็น "ปังชา" ของร้านชื่อดังแห่งหนึ่งที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

จากกรณีที่ร้านอาหารชื่อดังแห่งหนึ่ง ได้โพสต์ข้อความถึงการจดสิทธิบัตร "ปังชา" จนหลายคนสงสัยว่า เมนูขนมน้ำแข็งไสใส่ขนมปังราดด้วยชาไทยยังสามารถขายได้ทั่วไปหรือไม่ จดล่าสุด กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ออกมาอธิบายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาว่ามีกี่ประเภท รวมถึงการจดสิทธิบัตรของปังชาที่เกิดขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

shop1

สิทธิบัตร คืออะไร

หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด เป็นสิทธิพิเศษที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว โดยเหล่านี้จะถูกจัดให้อยู่ในสิทธิบัตรต่างชนิดกัน ได้แก่

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ : การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่มีความซับซ้อน หรือมการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค เช่น กระบวนการฆ่าเชื้อสเตอริไลซ์สำหรับอาหาร นมปราศจากแลกโตส ฯลฯ
  • อนุสิทธิบัตร: การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่มีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น แต่ไม่มีความซับซ้อนทางเทคนิคมากนัก เช่น สูตรเจลสำหรับพกพา เครื่องผลิตน้ำแข็งไสแบบเกล็ดละเอียด ฯลฯ
  • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ : การคุ้มครองรูปร่าง ลวดลาย หรือองค์ประกอบของสี เช่น รูปร่างของขนมที่มีลักษณะพิเศษ ลวดลายของกล่องบรรจุอาหาร ฯลฯ

สำหรับดราม่า "ปังชา" ที่เกิดขึ้นนั้น กรมทรัพย์สินทางปัญญา ระบุว่า น้ำแข็งไสราดชาไทยมีขายมานานแล้ว จึงไม่มีใครสามารถจดสิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตรแล้วอ้างเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในเมนูนี้ได้ แต่ภาชนะที่ใช้ใส่ ปังชา ของแบรนด์ที่เป็นข่าว เขาจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้

สรุปคือ ใครๆ ก็ขายเมนูน้ำแข็งไสราดชาไทยได้ แต่อย่านำลวดลาย หรือแบบภาชนะที่คนอื่นจดสิทธิบัตรไว้ไปผลิต แต่ถ้าคิดสูตรขนมขึ้นมาใหม่ แล้วยังไม่เคยมีที่ใดทำมาก่อน สามารถขอจดอนุสิทธิบัตรได้

shop

ลิขสิทธิ์ คืออะไร

ความคุ้มครองทางกฎหมายที่ให้แก่เจ้าของผลงานที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการคุ้มครองลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นทันที่ที่มรการสร้างสรรค์ผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน

ประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์

งานวรรณกรรม, งานนาฎกรรม, งานศิลปกรรม, งานดนตรีกรรม, งานโสตทัศนวัสดุ, งานภาพยนตร์, งานสิ่งบันทึกเสียง, งานแพร่เสียงแพร่ภาพ และงานอื่นๆ ในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

ตัวอย่าง ลิขสิทธิ์ในธุรกิจร้านอาหาร เช่น ภาพถ่าย Display สินค้าลวดลาย และรูปเล่มของเมนูอาหาร ลวดลายหรือภาพวาดบนภาชนะใส่อาหาร เป็นต้น

ทั้งนี้ การนำภาพวาด หรือภาพถ่ายของผู้อื่นไปใช้ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนเสมอ ภาพวาด หรือภาพถ่ายที่ทำขึ้นด้วยตนเอง แม้จะออกมาคล้ายกัน เพราะเป็นมุมเดียวกัน แนวคิดเดียวกันก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของใคร

การรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ : กรมทรัพย์สินทางปัญญามีบริการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับตรวจสอบและขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์

shop2

เครื่องหมายการค้า คืออะไร

ชื่อ ข้อความ โลโก้ ภาพ กลุ่มของสีหรือเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ที่นำมาใช้เพื่อสร้างความจดจำของผู้บริโภคในการแยกแยะแบรนด์ต่างๆ

แต่เครื่องหมายการค้าคุ้มครองได้ตามรูปบบที่จดทะเบียนไว้เท่านั้น หากข้อความหรือภาพบางส่วนที่สื่อถึงคุณสมบัติหรือคุณภาพของสินค้าและบริการ ข้อความหรือภาพนั้นต้องถูกสละสิทธิ แต่ยังปรากฏบนเครื่องหมายการค้านั้นได้

การสละสิทธิ หมายถึง ไม่สามารถห้ามคนใช้ข้อความหรือภาพนี้ในลักษณะอื่น แต่ถ้านำมาจัดวางในรูปแบบที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอาไว้ และเป็นสินค้าหรือบริการที่ใกล้เคียงกัน ยังสามารถห้ามได้อยู่

ข้อความหรือภาพที่แม้จะสื่อถึงคุณสมบัติหรือคุณภาพของสินค้าอาจเป็นครื่องหมายการค้าก็ได้ หากนำสืบได้ว่ามีการใช้มาต่อเนื่องยาวนานจนผู้บริโภคจดจำและแยกได้ว่าเป็นแบรนด์ของสินค้า

กรณี "ปังชา" ที่เกิดขึ้น การใช้คำว่า "...ปัง...ชา...." หรือ "...ปังชา..." กับเมนูน้ำแข็งไสราดชาไทย ยังทำต่อไปได้ แต่ไม่ควรใช้รูปแบบฟอนต์ที่ชวนให้นึกถึงแบรนด์นั้นๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook