ทำความรู้จัก ทรัพย์สินทางปัญญา คืออะไร มีกี่ประเภท คุ้มครองอย่างไร

ทำความรู้จัก ทรัพย์สินทางปัญญา คืออะไร มีกี่ประเภท คุ้มครองอย่างไร

ทำความรู้จัก ทรัพย์สินทางปัญญา คืออะไร มีกี่ประเภท คุ้มครองอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้จัก ทรัพย์สินทางปัญญา คืออะไร มีกี่ประเภท และให้ความคุ้มครองอย่างไร

ผู้ที่สร้างสรรค์ผลงาน หรือสิ่งของที่จับต้องได้ หรือจับต้องไม่ได้ ควรรู้เกี่ยวกับเรื่อง "ทรัพย์สินทางปัญญา" เพราะจะเป็นส่วนสำคัญที่จะคุ้มครองสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างเข้าใจง่าย เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่าน 

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) คืออะไร

ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่จำกัดชนิดของการสร้างสรรค์ หรือวิธีการแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือในรูปแบบของสิ่งของที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตในอุตสาหกรรม เป็นต้น

ทรัพย์ทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ลิขสิทธิ์ (Copyright)
  • ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)

ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึงอะไร

สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะกระทำการใดๆ กับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกในรูปแบบอย่างใด โดยประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้แก่

  1. วรรณกรรม (รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
  2. นาฏกรรม
  3. ศิลปกรรม
  4. ดนตรีกรรม
  5. โสตทัศนวัสดุ
  6. ภาพยนตร์
  7. สิ่งบันทึกเสียง
  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

นอกจากนี้กฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย ทั้งนี้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ครอบคลุมถึงความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้ วิธีทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) หมายถึงอะไร

ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิต ที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า การคุ้มครองพันธุ์พืช แบบผังภูมิของวงจรรวม และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมแบ่งออกได้ดังนี้

สิทธิบัตร (Patent)

เป็นการคุ้มครองการคิดค้นสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองการคิดค้นที่เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรรมวิธีในการผลิตการเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  • อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก โดยอาจเป็นการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงจากการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย
  • สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบส าหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ และแตกต่างไปจากเดิม

ผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ผู้ทรงอนุสิทธิบัตร หรือผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Design of Integrated Circuits)

หมายถึง แบบ แผนผัง หรือภาพที่ท าขึ้น ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบหรือวิธีใดเพื่อแสดงถึงการจัดวาง และการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวน าไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น

เครื่องหมายการค้า (Trademark)

หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตรา ที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  • เครื่องหมายการค้า (Trademark) หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้กับสินค้าเพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น กระทิงแดง M-150 มาม่า ไวไว เป็นต้น
  • เครื่องหมายบริการ (Service Mark) เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้กับบริการเพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น การบินไทย ธนาคารกรุงไทย เป็นต้น
  • เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) หมายถึง เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อรับรองเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้น เช่น ตลาดต้องชม หนูณิชย์บอกต่อความอร่อย ฮาลาล เป็นต้น
  • เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) หมายถึง เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จ ากัด (มหาชน) เป็นต้น

ความลับทางการค้า (Trade Secret)

หมายถึง ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยเป็นข้อมูลที่มีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการด าเนินการตามสมควรเพื่อท าให้ข้อมูลนั้นปกปิดเป็นความลับ

ชื่อทางการค้า (Tradename)

หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น ไทยประกันชีวิต ขนมบ้านอัยการ เป็นต้น

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

หมายถึง สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ ดังกล่าว เช่น ข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ ผ้าไหมยกดอกล าพูน ส้มโอนครชัยศรี ไข่เค็มไชยา เป็นต้น

ปัจจุบัน มีกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้

  1. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  2. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  3. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  4. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบของผังภูมิวงจรรวม พ.ศ. 2543
  5. พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
  6. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546
  7. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. 2548
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook