เงินผู้สูงอายุ-เงินคนพิการ-เงินอุดหนุนบุตร เดือนตุลาคม 2566 เข้าวันไหน เช็กเลย

เงินผู้สูงอายุ-เงินคนพิการ-เงินอุดหนุนบุตร เดือนตุลาคม 2566 เข้าวันไหน เช็กเลย

เงินผู้สูงอายุ-เงินคนพิการ-เงินอุดหนุนบุตร เดือนตุลาคม 2566 เข้าวันไหน เช็กเลย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เงินผู้สูงอายุ-เงินคนพิการ-เงินอุดหนุนบุตร เดือนตุลาคม 2566 เช็กวันเงินเข้า และวิธีตรวจสอบสิทธิได้ที่นี่

ตามมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ด้วยการเดินหน้าจ่ายเงินให้กับ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ และเงินอุดหนุนบุตร ตามสิทธิที่ได้เคยลงทะเบียนไว้ โดยรัฐบาลจะโอนเงินให้กับ 3 กลุ่มใน วันที่ 10 ตุลาคม 2566 ส่วนวงเงินที่จะได้รับของแต่ละกลุ่มมีดังนี้

กลุ่มที่ 1 เงินผู้สูงอายุ 600-1,000 บาท ตามเกณฑ์อายุ

  • อายุ 60-69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท
  • อายุ 70-79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท
  • อายุ 80-89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท
  • อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท

ผู้มีสิทธิจะได้รับ เงินผู้สูงอายุ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศระเบียบใหม่เกี่ยวกับเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับผู้ที่มีอายุครบ 60 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป

  • มีสัญชาติไทย
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • มีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
  • เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์ชี้วัดสำหรับความมีรายได้ไม่เพียงพอ ซึ่งหมายความว่าผู้ที่มีอายุครบ 60 ปีและเข้าตามเกณฑ์เดิมยังสามารถรับเบี้ยยังชีพได้ตามเดิม

ผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิเงินผู้สูงอายุ

เบี้ยผู้สูงอายุ เป็นเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้สูงอายุต้องเจอ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอ ผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิเงินผู้สูงอายุ คือ

  1. ผู้ที่ได้รับเงินบำนาญ หรือ เบี้ยหวัด จากหน่วยงานรัฐ, รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. ผู้ที่มีรายได้ประจำ เช่น เคยทำงานราชการและได้รับเงินเดือน หรือ ได้รับผลตอบแทนอื่นๆ จากหน่วยงานรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

หลักฐานที่ใช้ลงทะเบียนรับสิทธิเงินผู้สูงอายุ

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ที่เป็นปัจจุบัน)
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิ/ผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ (สำหรับประสงค์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร)

กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเบี้ยผู้สูงอายุแทนได้

Advertisement

ลงทะเบียนเงินผู้สูงอายุ ได้ที่ไหน

สำนักงานเขต และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้สูงอายุมีภูมิลำเนาอยู่

ได้เงินผู้สูงอายุ วันไหน

ภาครัฐ จะโอนเงินให้ผู้สูงอายุ ทุกวันที่ 10 ของเดือน แต่หากวันที่ 10 ตรงกับวันหยุดเสาร์, อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ การโอนเงินจะถูกเลื่อนมาก่อนวันที่ 10 ของเดือนนั้น.

กลุ่มที่ 2 เบี้ยผู้พิการ 800-1,000 บาท ตามเกณฑ์อายุ

  • ผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับเงิน 1,000 บาทต่อเดือน
  • ผู้พิการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จะได้รับเงิน 800 บาทต่อเดือน

ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนรับเบี้ยผู้พิการ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เลขที่ 255 อาคาร 60 ปี กรมประชาสงเคราะห์ ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ติดต่อ 1479 หรือ โทร. 0 2354 3388 ต่อ 311 หรือ 313

กลุ่มที่ 3 เงินอุดหนุนบุตร เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ

รัฐบาลจะช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้น้อยเฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี จะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีเดือนละ 600 บาท ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบสิทธิได้ดังนี้

  1. กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชนผู้ลงทะเบียน
  2. กรอกเลขประจำตัวประชาชนเด็กแรกเกิด
  3. ระบุรหัสยืนยันรูปภาพ

ผู้ที่ต้องการลงละเบียนเพื่อรับเงินจากโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด หรือเงินอุดหนุนบุตร สามารถลงทะเบียนเพื่อลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนบุตรได้

ส่วนผู้ปกครอง ที่เป็นผู้ประกันสังคม ม.33-ม.39 ที่มีบุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ และได้ลงทะเบียนรับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 800 บาท รอรับเงิน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จะโอนเงินเข้าบัญชี ผ่านระบบพร้อมเพย์ทุกๆ สิ้นเดือน (งวดนี้ 31 ต.ค.66 ) แต่หากตรงกับวันหยุด หรือ วันเสาร์-อาทิตย์ ก็จะทำการโอนให้ล่วงหน้าก่อนไม่เกินเที่ยงคืน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้