ค่าเงินบาทวันนี้ 9 ต.ค. 66 เปิดที่ระดับ 36.94 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย

ค่าเงินบาทวันนี้ 9 ต.ค. 66 เปิดที่ระดับ 36.94 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย

ค่าเงินบาทวันนี้ 9 ต.ค. 66 เปิดที่ระดับ 36.94 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ค่าเงินบาทวันนี้ 9 ต.ค. 66 เปิดที่ระดับ 36.94 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 37.00 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.85-37.10 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย ระบุ ค่าเงินบาทวันนี้ เปิดที่ระดับ 36.94 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 37.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนวันศุกร์ของสัปดาห์ก่อนหน้า เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน (แกว่งตัวในกรอบ 36.88-37.21 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะอ่อนค่าลง หลังรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดไปมาก หนุนให้ในช่วงแรกเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น กดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลงแรง อย่างไรก็ดี รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยรวมไม่ได้ดีกว่าคาดไปทั้งหมด โดยอัตราการเติบโตของค่าจ้างยังคงชะลอตัวลง ส่วนอัตราการว่างงานก็สูงกว่าคาดเล็กน้อย ทำให้สุดท้าย เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทยอยปรับตัวลดลง หนุนให้ราคาทองคำรีบาวด์ขึ้น ทั้งนี้ สถานการณ์สงครามอิสราเอล-ฮามาส ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ได้หนุนให้เช้านี้ ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นแรง ขณะเดียวกัน ราคาทองคำก็ปรับตัวขึ้นต่อ ทำให้ ค่าเงินบาทยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า แม้จะเริ่มเห็นโอกาสกลับมาแข็งค่าขึ้นบ้าง ทว่าฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติอาจยังมีความผันผวน นอกจากนี้ ควรระวังและจับตาทิศทางราคาน้ำมันดิบ รวมถึงราคาทองคำ หลังความเสี่ยงสงครามล่าสุดอาจหนุนให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่า แต่ในขณะเดียวกัน ราคาทองคำก็อาจปรับตัวขึ้นได้ และจะเป็นปัจจัยช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท

ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เรามองว่า แม้ว่า โมเมนตัมการแข็งค่าของเงินดอลลาร์เริ่มแผ่วลง แต่เงินดอลลาร์อาจยังพอได้แรงหนุนอยู่ หากผู้เล่นในตลาดการเงินปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น จากความกังวลภาวะสงครามอิสราเอล-ฮามาส นอกจากนี้ เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อ หากอัตราเงินเฟ้อ CPI และท่าทีของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดทำให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งกังวลต่อแนวโน้มเฟดเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวด (Higher for Longer)

เราคงคำแนะนำว่า ในช่วงนี้ ตลาดการเงินยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงิน ความกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้งมองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 36.60-37.25 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.85-37.10 บาทต่อดอลลาร์

สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์เริ่มย่อตัวลงบ้าง หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาผสมผสาน

ในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ควรรอจับตา รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ และควรเตรียมรับมือความผันผวนในตลาดการเงิน จากภาวะสงครามระหว่างอิสราเอล-กลุ่มฮามาส ที่อาจขยายวงกว้างเป็นความขัดแย้งในตะวันออกกลางได้

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ล่าสุด หลังจากสัปดาห์ก่อนหน้า รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ถือว่า ออกมาผสมผสาน โดยยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นดีกว่าคาดไปมาก ขณะที่อัตราการเติบโตของค่าจ้าง ยังคงชะลอลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยของเฟดมากนัก โดยผู้เล่นในตลาดยังคงมองว่า เฟดมีโอกาสราว 43% ที่จะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธันวาคม ก่อนที่จะทยอยลดดอกเบี้ยลงราว -75bps ในปีหน้า ทำให้ ผู้เล่นในตลาดต่างก็รอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของเฟด โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างมองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจเพิ่มขึ้นราว +0.3%m/m หรือ +3.6%y/y หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของราคาพลังงาน รวมถึงการพลิกกลับมาเพิ่มขึ้นของราคารถยนต์มือหนึ่งและมือสอง ซึ่งก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI เพิ่มขึ้น +0.3%m/m หรือ +4.1%y/y ทั้งนี้ แม้ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะชะลอลงต่อเนื่อง ทว่า เฟดอาจยังมีความกังวลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อได้ ซึ่งอาจทำให้ บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอาจเดินหน้าส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อ ไม่ว่าจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย หรือ คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของเฟด ผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด และ รายงานการประชุมเฟดล่าสุด (FOMC Meeting Minutes)

และนอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามสถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดการเงินผันผวนในระยะสั้นได้ โดยหากสงครามขยายวงกว้างมากขึ้น ก็อาจทำให้ตลาดการเงินอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ได้ในระยะสั้น ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) อาทิ เงินดอลลาร์ เงินเยนญี่ปุ่น และทองคำ ส่วนราคาน้ำมันดิบก็มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ ท่ามกลางความกังวลว่าสถานการณ์สงครามอาจส่งผลกระทบต่อโฟลว์น้ำมันจากตะวันออกกลาง ทั้งในแง่การผลิตและการส่งออกน้ำมันจากภูมิภาคดังกล่าว

ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา รายงานการประชุม ECB ล่าสุด เพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของทาง ECB หลังล่าสุด รายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งยูโรโซนยังคงสะท้อนภาพการชะลอตัวลงต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ทำให้ผู้เล่นในตลาด (รวมถึงเรา) มองว่า ECB อาจจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว

ฝั่งเอเชีย – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีน อาทิ ยอดการส่งออกและนำเข้า (Exports & Imports) ในเดือนกันยายน และอัตราเงินเฟ้อ CPI โดยนักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า แม้ว่ายอดการส่งออกของจีนอาจยังคงหดตัวราว -7%y/y แต่ก็เป็นการหดตัวในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่อง จาก -8.8%y/y ในเดือนก่อน ทั้งนี้ ยอดการนำเข้าที่อาจลดลง -6%y/y ดีขึ้น จากที่ดิ่งลงกว่า -7.3%y/y ก็อาจสะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่ดีขึ้นและส่วนหนึ่งก็อาจมาจากผลของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะพลังงานที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งภาพการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศก็อาจสอดคล้องกับ การทยอยปรับตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ CPI สู่ระดับ +0.2%y/y ทั้งนี้ แม้ว่า เศรษฐกิจจีนเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ทว่าทางการจีนอาจจำเป็นต้องออกมาตรการช่วยเหลือเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อประคองโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ฝั่งไทย – ตลาดมองว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) ในเดือนกันยายน อาจปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 57.9 จุด ท่ามกลางแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ อย่างมาตรการลดค่าไฟฟ้าและตรึงราคาน้ำมันดีเซล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook