วิสาหกิจชุมชน แม่ทวดเกษตรอินทรีย์ฯ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์อบแห้ง ยกระดับคุณภาพชีวิต-สินค้าชุมชน

วิสาหกิจชุมชน แม่ทวดเกษตรอินทรีย์ฯ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์อบแห้ง ยกระดับคุณภาพชีวิต-สินค้าชุมชน

วิสาหกิจชุมชน แม่ทวดเกษตรอินทรีย์ฯ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์อบแห้ง ยกระดับคุณภาพชีวิต-สินค้าชุมชน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

farm

กระทรวงพลังงานส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผ่านโครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ (พาราโบลาโดม) ปี 2561 ซึ่งดำเนินการโดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ พพ. ผ่านการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในการช่วยเหลือเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ในการใช้ระบบอบแห้งจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ เช่น แอลพีจี พลังงานไฟฟ้า รวมถึงเป็นการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนให้มีคุณภาพ ปลอดสารเคมี เป็นที่ยอมรับของตลาดและผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่ใส่ใจสุขภาพ

farm1

นางบุญยืน กิไพโรจน์ เกษตรกรอินทรีย์ ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูป พืชสวน ไร่นา และ มะพร้าว ของ“ วิสาหกิจชุมชนแม่ทวดเกษตรอินทรีย์ทฤษฎีใหม่” ต.นาหูกวาง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ ยังเป็นเกษตรกรเครือข่ายของพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จ.ปทุมธานี เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรตัวอย่างที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน , องค์การบริหารส่วนตำบลนาหูกวาง (อบต.) และยังได้รับคำแนะนำดีๆจากสำนักงานเกษตรอำเภอทับสะแก จึงอยากขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ช่วยเหลือเกษตรกรตัวเล็กๆ วิสาหกิจชุมชน แม่ทวดเกษตรอินทรีย์ทฤษฎีใหม่เป็นอย่างดี

farm2

นางบุญยืน เล่าว่า โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงพลังงานจำนวน 100,000 บาท และ อบต.นาหูกวาง อีกกว่า 100,000 บาท ส่วนเจ้าของพื้นที่วิสาหกิจชุมชน แม่ทวดฯ ออกค่าใช้จ่าย ในการเตรียมพื้นที่ปูพื้นซีเมนต์เสริมเหล็กซึ่งใช้งบประมาณกว่า 30,000 บาท สำหรับวิสาหกิจชุมชนเล็กๆ อย่างเราก็ถือว่าเป็นเงินจำนวนมาก เมื่อเตรียมพื้นที่เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ก็เข้ามาติดตั้งโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 3X4 เมตร โดยใช้ระยะเวลาการติดตั้งไม่นานพร้อมเครื่องมือวัดความชื้น

farm3

โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ของ วิสาหกิจชุมชน แม่ทวดฯ ถูกนำมาใช้อบแห้งผิวมะพร้าว เป็นส่วนเปลือกหุ้มเนื้อมะพร้าวสีขาวด้านในลูกมะพร้าวอีกชั้นหนึ่ง หลังจากกะเทาะกะลาออก ซึ่งเป็นส่วนที่มีน้ำมันและสามารถนำไปขายให้กับโรงงานสกัดน้ำมันดิบ เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในหลายอุตสาหกรรม มะพร้าวถือเป็นพืชเศรษฐกิจของ อ.ทับสะแก คนใน อ.ทับสะแก มีอาชีพทำมะพร้าวขาวกันเยอะ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบหลักของโรงงานกะทิ และโดยปกติแล้วคนในชุมชนจะนำผิวมะพร้าวไปตากแดด บนพื้นดิน หรือ บนสังกะสี การตากแดดทำให้ผิวมะพร้าวแห้งก็จริง แต่ไม่สามารถไล่ความชื้นได้จริงๆและยังทำให้ผิวมะพร้าวแห้งกรอบและส่วนที่เป็นน้ำมันบนผิวจะระเหยไปพร้อมความร้อนของแสงแดด จึงทำให้ผิวมะพร้าวแห้งที่ได้ ไร้คุณภาพและขายไม่ได้ราคา ทำให้คนในชุมชนทิ้งผิวมะพร้าวเพราะได้ไม่คุ้มเสีย สูญเสียรายได้ส่วนนี้ไป

farm4

วิสาหกิจชุมชน แม่ทวดเกษตรอินทรีย์ทฤษฎีใหม่ จึงอยากช่วยเหลือคนในชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเหลือจุนเจือครอบครัวในช่วงที่ข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ ที่นี่ทุกบ้านมีสวนมะพร้าว และ มะพร้าว 1 ต้น สามารถขายได้ทุกส่วน ทั้ง ลำต้น,เปลือก,กะลา,เนื้อ,น้ำ,ใบ และ ผิวเนื้อมะพร้าว ขณะนี้วิสาหกิจชุมชน แม่ทวดฯ สามารถรับซื้อผิวมะพร้าวในชุมชนได้ไม่กี่ครัวเรือน เนื่องจากโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มีขนาดเล็กเกินกว่าความต้องการของคนในชุมชนที่มีจำนวนมาก ซึ่งหากเป็นไปได้ในอนาคต ก็อยากได้โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 8.00 x  20.80 ม. คาดว่าน่าจะพอเพียงต่อความต้องการของคนในชุมชน อีกทั้ง ทางวิสาหกิจชุมชน แม่ทวดฯยังไม่มีโรงเก็บผิวมะพร้าวอบแห้ง เพราะยังขาดเงินทุนอีกประมาณ 300,000 บาท ในการสร้างโรงเรือน ทำให้ต้องจำกัดการรับซื้อต่อวันจึงทำให้อีกหลายครอบครัวขาดรายได้เสริมเพราะทางวิสาหกิจชุมชน แม่ทวดฯ จ่ายเงินสดให้กับทุกครอบครัวที่นำผิวมะพร้าวมาขาย ซึ่งส่วนใหญ่นำเงินไปใช้จ่ายซื้อข้าวสาร อาหารแห้ง และเพื่อใช้ในการดำรงชีพ ช่วยกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศ

farm5

หลักการทำงานของระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงานให้การสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานนี้ เป็นโรงอบแห้งที่ออกแบบรูปพาลาโบลา หลังคาทำจากวัสดุใส  เป็นแผ่นโพลีคาร์บอเนตชนิดเคลือบสารป้องกันยูวีปิดบนหลังคาโครงโลหะ ซึ่งการใช้แผ่นโพลีคาร์บอเนตในการทำหลังคาทำให้แสงสว่างส่องผ่านได้ดี แต่รังสีความร้อนที่แผ่จากภายในโรงอบแห้งจะผ่านออกมาได้น้อย จึงทำให้เกิดผลเรือนกระจก (Greenhouse Effect ) ความร้อนส่วนใหญ่จึงถูกกักเก็บอยู่ภายในโรงอบแห้ง และเพื่อระบายความชื้นหรือน้ำที่ระเหยออกจากผิวมะพร้าวที่ต้องการอบแห้งออกจากระบบ จึงมีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศและมีช่องอากาศเข้าเพื่อให้อากาศไหลเข้าโรงอบทดแทนอากาศที่ถูกดูดออก  โดยใช้พัดลมกระแสตรงและมีแผงโซล่าเซลล์เพื่อให้กำลังไฟฟ้ากับพัดลม

farm6

ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ คือ ได้ผลิตภัณฑ์สีสวยและสม่ำเสมอ ,สะอาด ปลอดภัยเพราะสามารถควบคุมแมลงหรือฝุ่นละอองไม่ให้เข้าไปได้,ใช้เวลาน้อยกว่าการตากแดดแบบธรรมชาติ ทำให้ประหยัดเวลาในการตาก,ประหยัดพื้นที่ในการตาก เพราะในโรงอบสามารถที่จะใส่ถาดวางผลิตภัณฑ์ได้หลายถาด,ประหยัดแรงงาน เพราะไม่ต้องเก็บสิ่งที่กำลังตากเข้าที่ร่มในตอนเย็น และเอาออกตากในตอนเช้า ซึ่งมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง และยังสามรถใช้กับพืชผักผลไม้ได้ทุกชนิด คุ้มค่า และ ช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหาคุณภาพของสินค้าเกษตรได้อย่างยั่งยืน ตามการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการเกษตรสู่ความสำเร็จ “เกษตรกรต้องอยู่ดี สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน”ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า

farm7

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook