ค่าเงินบาทวันนี้ 25 ต.ค. 66 เปิดที่ระดับ 36.17 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ค่าเงินบาทวันนี้ 25 ต.ค. 66 เปิดที่ระดับ 36.17 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ค่าเงินบาทวันนี้ 25 ต.ค. 66 เปิดที่ระดับ 36.17 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ค่าเงินบาทวันนี้ 25 ต.ค. 66 เปิดที่ระดับ 36.17 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง จากระดับปิดวันก่อนหน้า มองกรอบเงินบาทวันนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.05-36.30 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย ระบุค่าเงินบาทวันนี้ เปิดที่ระดับ 36.17 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง จากระดับปิดวันก่อนหน้า โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหว sideway (แกว่งตัวในช่วง 36.14-36.25 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะอ่อนค่าลงบ้าง ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ หลังรายงานข้อมูลดัชนี PMI ฝั่งยุโรป ออกมาแย่กว่าคาด ในขณะที่ดัชนี PMI ของสหรัฐฯ นั้นออกมาดีกว่าคาด อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินบาทก็ถูกจำกัดโดยโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ หลังราคาทองคำรีบาวด์ขึ้น ตามการย่อตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ

รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาด รวมถึง รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาสดใส ได้หนุนให้ผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทยอยเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ส่งผลให้โดยรวม ดัชนี S&P500 พลิกกลับมาปรับตัวขึ้น +0.73%

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทอาจแกว่งตัว sideway ในกรอบไม่ต่างจากช่วงก่อนหน้ามากนัก เนื่องจากผู้เล่นในตลาดอาจรอติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ อย่าง อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 (วันพฤหัสฯ) รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ PCE (วันศุกร์) เพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด ก่อนที่จะปรับสถานะถือครองที่ชัดเจนอีกครั้ง ทั้งนี้ บรรยากาศในตลาดการเงินที่เริ่มกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น อาจช่วยหนุนให้นักลงทุนต่างชาติทยอยกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยได้บ้าง หลังในช่วงที่ผ่านตลาดดัชนี SET ได้ปรับตัวลดลงมาพอสมควรและอยู่ในระดับที่ valuation ถือว่าไม่แพง ส่วนในฝั่งตลาดบอนด์ หากบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงแกว่งตัวในระดับเดิมและไม่ได้ปรับตัวขึ้นรุนแรงแบบในช่วงก่อนหน้า เรามองว่า แรงขายบอนด์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติก็อาจลดลงบ้างในช่วงระยะสั้นนี้

นอกจากนี้ โฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ ก็อาจเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้ แม้ว่าเงินดอลลาร์จะเริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้น ทำให้ เราคงมองว่า เงินบาทอาจมีโซนแนวต้านแรกแถว 36.30 บาทต่อดอลลาร์ และมีโซนแนวต้านถัดไปแถว 36.60 บาทต่อดอลลาร์ ขณะเดียวกันโซนแนวรับอาจยังคงเป็นช่วง 36.00 บาทต่อดอลลาร์ จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามากระทบตลาด

เรายังคงมองว่า ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงิน สถานการณ์สงครามที่เสี่ยงทวีความรุนแรงและบานปลาย ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.05-36.30 บาทต่อดอลลาร์

ทั้งนี้ ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี stoxx600 รีบาวด์ขึ้นราว +0.44% แม้ว่า ตลาดหุ้นยุโรปจะเผชิญแรงกดดันจากรายงานข้อมูลดัชนี PMI ของฝั่งยูโรโซนที่ออกมาแย่กว่าคาดและยังคงสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา ทว่า ตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนจากรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดีกว่าคาด อาทิ Hermes +2.8%

ในฝั่งตลาดบอนด์ แม้ รายงานดัชนี PMI สหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาด จะยังคงทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างเชื่อว่า เฟดอาจสามารถคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูงได้นาน (Higher for Longer) และช่วยหนุนให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 4.88% แต่ผู้เล่นในตลาดบางส่วนก็ใช้จังหวะที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้นในการทยอยทำกำไรสถานะ Short ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อไปได้ไกลและพลิกกลับมาย่อลงสู่ระดับ 4.82% ทั้งนี้ เรามองว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจยังคงมีความผันผวนอยู่ และจะยังไม่สามารถกลับมาเป็นแนวโน้มขาลงได้ง่าย จนกว่าตลาดจะเริ่มมั่นใจมากขึ้นว่า แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวลง และเฟดอาจไม่สามารถดำเนินนโยบายการเงินแบบ Higher for Longer ได้ ทว่า เราคงคำแนะนำเดิมว่า นักลงทุนสามารถทยอย Buy on Dip ในจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจาก Risk-Reward ของการถือบอนด์ระยะยาวในช่วงยีลด์สูงมีความคุ้มค่าและน่าสนใจอยู่มาก

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทยอยปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังรายงานข้อมูลดัชนี PMI สหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ขณะที่ดัชนี PMI ฝั่งยุโรป ออกมาแย่กว่าคาด ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 106.2 จุด (กรอบ 105.8-106.4 จุด) อย่างไรก็ดี การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ก็ถูกชะลอลงบ้าง ตามการย่อตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ในส่วนของราคาทองคำ ความกังวลสถานการณ์สงครามที่เริ่มลดลงบ้าง รวมถึงการกลับมาแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ได้กดดันให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.) ย่อตัวลง ตามแรงขายทำกำไร ก่อนที่ราคาทองคำจะรีบาวด์ขึ้นได้บ้าง หลังบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลง ซึ่งช่วยหนุนให้ราคาทองคำทยอยปรับตัวขึ้นและแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,980 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับวันนี้ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญอาจมีไม่มากนัก ทว่า ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินช่วงนี้ได้

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะยังคงติดตามสถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอล-กลุ่มฮามาส ว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น หรือ สงครามจะขยายวงกว้างจนกระทบทั้งภูมิภาคตะวันออกกลางหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook