เงินดิจิทัล 10,000 บาท ใครได้บ้าง ซื้ออะไรได้ รู้ผลแล้ว! ย้ำแจกเฉพาะ 50 ล้านคน

เงินดิจิทัล 10,000 บาท ใครได้บ้าง ซื้ออะไรได้ รู้ผลแล้ว! ย้ำแจกเฉพาะ 50 ล้านคน

เงินดิจิทัล 10,000 บาท ใครได้บ้าง ซื้ออะไรได้ รู้ผลแล้ว! ย้ำแจกเฉพาะ 50 ล้านคน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แจก "เงินดิจิทัล 10,000 บาท" นายกฯ เศรษฐา เผยเฉพาะคนที่มีรายได้ไม่เกิน 70,000 บาทต่อเดือน และมีเงินฝากรวมกันไม่เกิน 500,000 บาทเท่านั้น แจกเฉพาะ 50 ล้านคน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ชุดใหญ่ว่า โครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้กำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขดังนี้

คุณสมบัติผู้มีสิทธิรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • คนไทย 50 ล้านคน
  • มีอายุ 16 ปีขึ้นไป
  • มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 70,000 บาท
  • เงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท
  • โครงการสิ้นสุด เม.ย. 2570

ตัวอย่าง กรณีถ้ามีรายได้เกิน 70,000 บาทต่อเดือน แต่มีเงินฝากน้อยกว่า 500,000 บาท ก็จะไม่ได้รับสิทธิ์ หรือ ถ้ารายได้น้อยกว่า 70,000 บาท แต่มีเงินฝากมากกว่า 500,000 บาท ก็จะไม่ได้รับสิทธิ์เช่นกัน
553079

วิธีใช้เงินดิจิทัล

การใช้สิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาทนั้น กำหนดให้ใช้จ่ายได้ในระดับอำเภอ ภายในเวลา 6 เดือน สามารถซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้ ร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนภาษีมูลค่าค้า แต่หากต้องการขึ้นเงินสด หรือกดเงินสดออกมา จะต้องเป็นร้านค้าที่ลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น

เงื่อนไขการใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้ออะไรได้บ้าง

  • ใช้สำหรับซื้อของอุปโภคบริโภคเท่านั้น
  • ไม่สามารถใช้ซื้อสินค้าออนไลน์ได้
  • ไม่สามารถซื้อของที่เป็นอบายมุขทั้ง เหล้า บุหรี่
  • ไม่สามารถซื้อบัตรกำนัล บัตรเงินสด เพชร พลอย ทองคำ อัญมณี
  • ไม่สามารถชำระหนี้ ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ น้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซธรรมชาติ
  • ไม่สามารถนำไปจ่ายค่าเทอม ค่าเรียนได้
    374722

ส่วนแหล่งเงินทุน จะมีการออก พรบ. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อนำมาแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยอาศัยข้อกฎหมายในมาตรา 53 ของ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยจะต้องผ่านการตีความของกฤษฎีกา เพื่อให้การออก พ.ร.บ.เงินกู้ดังกล่าว เป็นไปอย่างรอบคอบ รัดกุม และไม่ขัดต่อหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การออก พ.ร.บ.จะมีความโปร่งใส ภายใต้การตรวจสอบในระบอบรัฐสภา และมั่นใจว่าจะได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภา

อ่านเพิ่มเติม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook