เงินฝืด คืออะไร มีผลกระทบต่อประชาชน และเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน

เงินฝืด คืออะไร มีผลกระทบต่อประชาชน และเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน

เงินฝืด คืออะไร มีผลกระทบต่อประชาชน และเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภาวะเงินฝืด คืออะไร มีผลอย่างไรต่อประชาชน รวมถึงภาครวมเศรษฐกิจไทยบ้าง หาคำตอบได้ที่นี่

เงินฝืด คืออะไร?

เงินฝืดเงินฝืด

เงินฝืด คือ ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการลดต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากปริมาณสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผลิตออกมามีมากกว่าความต้องการซื้อสินค้าของคนในประเทศ

ดังนั้น ผู้ผลิตจึงต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลง เพราะถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้ไม่หมด

เงินฝืด เกิดจากอะไร?

สาเหตุของการเกิดเงินฝืด เกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งความเชื่อมั่นของผู้ซื้อลดลง ไม่กล้าใช้จ่ายเงิน เนื่องจากปัจจัยที่เข้ามากระทบ เช่น ภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวลงต่อเนื่อง หรือภัยธรรมชาติ และปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจไม่เพียงพอ เช่น เงินตราไหลออกนอกประเทศมากเกินไป เป็นต้น

ผลกระทบเงินฝืดต่อประชาชนทั่วไป

การว่างงานสูงขึ้น เพราะภาคเอกชนขายสินค้าและบริการได้น้อย จึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตทำให้ไม่เกิดการจ้างงานเพิ่ม บางกิจการอาจมีผลกระทบมากจนต้องลดกำลังการผลิตเพื่อรักษากิจการให้สามารถอยู่รอดได้ในภาวะเงินฝืด จึงจะต้องลดพนักงานทำให้ประชาชนตกงานเพิ่มขึ้น

ผลกระทบเงินฝืดต่อผู้ประกอบการ-นักธุรกิจ

ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลง เพราะหากผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้ไม่หมด ผลที่ตามมาคือ การจ้างงานและการซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตก็จะลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว

ผลกระทบเงินฝืดต่อระบบเศรษฐกิจ

ราคาสินค้า หรือบริการที่ลดลงต่อเนื่อง สะท้องถึงความต้องการของประชาชนที่ลดลง ผู้คนจับจ่ายใช้สอยลดลง เมื่อคนไม่ซื้อสินค้ากันมากๆ ผู้ผลิตก็ขายสินค้าไม่ได้ เป็นวงจรแบบนี้ไปไม่รู้จบ ท้ายที่สุดก็จะกระทบต่อภาคการผลิต และส่งผลต่อการจ้างงาน ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในที่สุด

บทบาทของหน่วยงานในการแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้ควบคุมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ จะมีเครื่องมือที่จะเข้ามาดูแลเสถียรภาพ หนึ่งในนั้นคือ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คือ เมื่อดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวลดลง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝากลดลง กระตุ้นและเป็นแรงจูงใจให้ภาคการเอกชนเกิดการกู้ยืม และฝากเงินน้อยลง นำไปสู่การลงทุน และเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น

การซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีการหมุนเวียนน้อยจนเกินไปหรือเกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการบริโภคลดลง

ดังนั้น ธนาคารกลางจะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการนำเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ผ่านการซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล ซึ่งจะทำให้เอกชนหรือรัฐบาลได้รับเงินจากการขายพันธบัตรให้กับธนาคารกลาง ทำให้เอกชนหรือรัฐบาลสามารถนำเงินมาใช้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้ และจะส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนและบริโภคตามลำดับ

การปรับลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินฝากจากประชาชนเข้ามา ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งไว้ตามกฎหมาย ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook