ครม. อนุมัติงบฯ 4,900 ล้านบาท แก้ไขหนี้ทั้งระบบตามมาตรการที่คลังเสนอ

ครม. อนุมัติงบฯ 4,900 ล้านบาท แก้ไขหนี้ทั้งระบบตามมาตรการที่คลังเสนอ

ครม. อนุมัติงบฯ 4,900 ล้านบาท แก้ไขหนี้ทั้งระบบตามมาตรการที่คลังเสนอ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบ พร้อมอนุมัติวงเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 รวม 4,900 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งประกอบด้วย 3 มาตรการ ดังนี้

1. มาตรการช่วยเหลือพักหนี้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 วงเงินงบประมาณ 400 ล้านบาท
2. มาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและรองรับลูกหนี้นอกระบบ วงเงิน 4,500 ล้านบาท
3. มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตามโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระ

ทั้งนี้ สถาบันการเงินที่จะเข้ามาร่วมในมาตรการดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน, ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) , ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดขนาดย่อม (บสย.)

“การแก้ไขหนี้ในระบบ และหนี้นอกระบบ จะช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ของลูกหนี้ในระบบ ช่วยเหลือให้ลูกหนี้ที่มีหนี้นอกระบบสามารถกลับเข้ามาในระบบได้ และป้องกันไม่ให้ลูกหนี้ที่มีหนี้ในระบบ กลับไปเป็นหนี้นอกระบบได้อีก สามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน ช่วยให้ประชาชนสามารถผ่อนชำระหนี้ได้สอดคล้องกับศักยภาพในการหารายได้ พร้อมทั้งผลักดันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้อย่างเหมาะสมเป็นธรรม” นายคารม ย้ำ

อย่างไรก็ดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีข้อแนะนำในเรื่องการแก้ปัญหาหนี้ทั้งระบบที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ควรกำหนดหลักสูตรวิชาบังคับในสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาล-อุดมศึกษา ให้มีเนื้อหาความรู้ทางการเงิน เพื่อสร้างทักษะให้กับเยาวชน เพื่อให้รู้จักออมเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ไปจนถึงยามเกษียณ
2. การให้สินเชื่อ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์อย่างเหมาะสม

“นายกฯ ได้สั่งการที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาหนี้ทั้งระบบ คือ ให้ทุกรัฐวิสาหกิจออกระเบียบให้พนักงานมีเงินเหลือ 30% ของเงินเดือน และประสานกับสถาบันการเงินเอกชน หารือเรื่องการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และสหกรณ์ออมทรัพย์ควรให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ มีการชำระค่างวดที่เหมาะสม การใช้ทุนเรือนหุ้น เพื่อเป็นหลักประกันการกู้ยืมให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดหนี้เสียในระยะต่อไป ขณะเดียวกัน ไม่อยากให้ลูกหนี้คิดว่าจะมีคนมารับใช้หนี้แทน ซึ่งจะทำให้เกิด Moral Hazard และเป็นหนี้โดยไม่ตั้งใจ” นายคารม ระบุ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook