บัตรทอง 30 บาท รักษาได้ทุกที่ เช็กขั้นตอน-เงื่อนไขสิทธิได้ที่นี่

บัตรทอง 30 บาท รักษาได้ทุกที่ เช็กขั้นตอน-เงื่อนไขสิทธิได้ที่นี่

บัตรทอง 30 บาท รักษาได้ทุกที่ เช็กขั้นตอน-เงื่อนไขสิทธิได้ที่นี่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เปิดวิธีใช้สิทธิ บัตรทอง 30 บาท แค่ยื่นบัตรประชาชนใบเดียวเท่านั้น นำร่องใน 4 จังหวัด เริ่ม 7 ม.ค. 67 เช็กเงื่อนไขที่นี่

ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 67 เป็นต้นไป การใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สปสช.) ที่เริ่มนำร่องใน 4 จังหวัด คือ แพร่, ร้อยเอ็ด, เพชรบุรี และนราธิวาส หากมีอาการเจ็บป่วยไม่สบาย สามารถใช้สิทธิบัตรประชาชนเข้ารับบริการ และรักษาที่สถานพยาบาลทุกแห่งในระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ

บัตรทอง 30 บาท

การใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท

การใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท ครอบคลุมโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง และสถานพยาบาลเอกชน ได้แก่ โรงพยาบาลเอกชน ร้านยา คลินิกการพยาบาลฯ คลินิกเวชกรรม คลินิกเทคนิคการแพทย์ คลินิกทันตกรรม คลินิกแพทย์แผนไทย ที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สิทธิประโยชน์ของบัตรทอง 30 บาท ที่ไม่ครอบคลุม

  • การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • การตรวจวินิจฉัยและการรักษาใด ๆ ที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
  • การปลูกถ่ายอวัยวะที่ไม่ปรากฏตามบัญชีหมายเลข 3 แนบท้ายประกาศนี้
  • การบริการทางการแพทย์อื่น ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

สำหรับรายชื่อหน่วยบริการเอกชน 4 จังหวัด ที่สามารถใช้บัตรประชาชนรักษาได้

  • จังหวัดเพชรบุรี สถานให้บริการ 53 หน่วยบริการ (คลิก
  • จังหวัดนราธิวาส สถานให้บริการ 88 หน่วยบริการ (คลิก
  • จังหวัดแพร่ สถานให้บริการ 59 หน่วยบริการ (คลิก
  • จังหวัดร้อยเอ็ด สถานให้บริการ 251 หน่วย (คลิก

ตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล

  • สายด่วน สปสช. 1330 กด 2
  • เว็บไซต์ สปสช. (คลิก)
  • แอปพลิเคชั่น สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง
  • ไลน์ สปสช. @nhso หรือ https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

ขั้นตอนการใช้บริการสิทธิบัตรทอง 30 บาท

1. ยื่นบัตรประชาชน กรณีเด็กเล็กใช้สูติบัตรพร้อมบัตรประชาชนผู้ปกครอง โดยยื่นที่หน่วยบริการทุกแห่งที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

2. Walk in หรือจองคิวผ่านระบบออนไลน์ ผ่านแอปฯ ไลน์ หมอพร้อม

3. รักษาตามขั้นตอนของสถานพยาบาลที่ให้บริการที่เข้ารับบริการ

4. หากนัดจองคิวผ่านระบบออนไลน์ให้ยืนยันตัวตนหลังรับบริการแล้วซึ่งระบบจะบันทึกประวัติการรับบริการโดยอัตโนมัติ

  • ผู้ป่วยเดิม กรณีมีนัดรับบริการกับทางหน่วยบริการอยู่แล้วให้เข้ารับบริการตามนัดหมายเช่นเดิม
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องรับยา ถ้าเป็นโรงพยาบาลที่มีโครงการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน หรือส่งยาทางไปรษณีย์ สามารถเลือกรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านได้โดยติดต่อที่ห้องจ่ายยา
  • กรณีที่เกิดภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติถึงแก่ชีวิต สามารถใช้สิทธิ UCEP เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients) สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่ง ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤตหรือสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย โดยยื่นบัตรประชาชน ในกรณีเด็กให้ใช้สูติบัตร และแจ้งใช้สิทธิ UCEP

5. สิ้นสุดการรับบริการ

card2

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook