ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย NIM คืออะไร ทำไมดอกเบี้ยเงินกู้ สูงกว่าเงินฝาก

ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย NIM คืออะไร ทำไมดอกเบี้ยเงินกู้ สูงกว่าเงินฝาก

ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย NIM คืออะไร ทำไมดอกเบี้ยเงินกู้ สูงกว่าเงินฝาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้จัก ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย หรือ NIM คืออะไร มีผลอย่างไรกับลูกหนี้บ้าง

อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร กับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ต่างกันอย่างมาก และอะไรเป็นตัวกำหนดส่วนต่างดอกเบี้ยของทั้ง 2 ตัวนี้ Sanook Money มีข้อมูลดีๆ ที่จะเป็นประโยชน์มาฝากกัน

ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย คืออะไร?

nimwhat

ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ Net Interest Margin (NIM) เป็นเครื่องชี้สะท้อนความสามารถในการหารายได้ของธนาคารพาณิชย์จากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย

องค์ประกอบที่สำคัญ คือ

  • ดอกเบี้ยรับ คือ ปริมาณเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารพาณิชย์จะต้องพิจารณาถึงต้นทุนต่างๆ ทั้งต้นทุนทางการเงิน ต้นทุนความเสี่ยงจากการให้กู้ หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ และต้นทุนการดำเนินงาน รวมถึงผลกำไรเพื่อการดำเนินธุรกิจและการเติบโตในอนาคต
  • ดอกเบี้ยจ่าย คือ ดอกเบี้ยจ่ายจากเงินรับฝาก ตราสารหนี้และเงินกู้ยืมทุกประเภท

NIM คำนวณจากอะไร

nim

NIM = (รายได้ดอกเบี้ยรวม – ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย) / สินทรัพย์ทั้งหมดที่ก่อให้เกิดดอกเบี้ยเฉลี่ย

NIM ส่งผลอย่างไรต่องบการเงินกลุ่มธนาคาร

nimrate

ธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีรายได้หลักมาจากการปล่อยสินเชื่อ และต้นทุนหลักมาจากการรับฝากเงิน (อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก) การที่ค่า NIM มีการเปลี่ยนแปลงในอัตราที่ลดลง (ติดลบมากขึ้น) หรือพูดง่ายๆ คือ รายได้น้อยกว่ารายจ่ายนั้นเอง บ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรในไตรมาสปีนั้นลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ค่า NIM จึงเป็นตัวที่ไว้ใช้วัดผลกำไรเบื้องต้นในการดูหุ้นกลุ่มแบงก์

ส่วนสาเหตุที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ มากกว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ก็เพราะธนาคารมีความเสี่ยงที่ลูกหนี้จะไม่จ่ายหนี้ (NPL) หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ จึงต้องตั้งสำรองในส่วนนี้ค่อนข้างสูง ซึ่งจะถูกนำไปชดเชยกันในดอกเบี้ยที่ธนาคาจจะคิดกับลูกค้า

อีกทั้ง ธนาคารมีต้นทุนดำเนินธุรกิจ เช่น ค่าสถานที่ เงินเดือนพนักงานแบงก์ รวมถึงต้นทุนทางการเงิน เช่น ต้นทุนเงินฝาก เป็นต้น

ระยะเวลาให้กู้ยืมมีความเสี่ยง ยิ่งนานเท่าไหร่ ดอกเบี้ยก็จะยิ่งแพงตามไปด้วย เช่น ดอกเบี้ยกู้บ้าน เป็นต้น ซึ่งการกู้ในปีแรก จะหักเงินตนน้อย ทำให้มูลค่าหนี้ที่ผ่อนชำระในระยะยาวมีมูลค่าสูงตามไปด้วย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบการให้บริการทางการเงินตามเศรษฐศาสตร์การเงิน ดังนั้น ธนาคาต้องคำนวฯมูลค่าของเงินในอนาคตด้วย

ธนาคารในไทยมีการรวมกลุ่มกันก่อตั้งเป็นสมาคมธนาคารไทย โดยมีธนาคารต่างๆ เป็นสมาชิกจะมีการพูดคุยกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน ฉะนั้น ถ้าธนาคารแต่ละแห่งแข่งขันนำเสนออัตราดอกเบี้ยกันมากเกินไป ธนาคารจะเกิดความเสี่ยง และเมื่อใดที่ธนาคารล้ม ผลกระทบก็จะเกิดขึ้นกับผู้ฝากเงิน เกิดหนี้เสียลุกลามทั่วประเทศ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook