ค่าเงินบาทวันนี้ 26 ม.ค. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.75 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อย

ค่าเงินบาทวันนี้ 26 ม.ค. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.75 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อย

ค่าเงินบาทวันนี้ 26 ม.ค. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.75 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ค่าเงินบาทวันนี้ 26 ม.ค. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.75 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อย จากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ระดับ 35.70 บาทต่อดอลลาร์ คาดกรอบเงินบาท 35.55-35.95 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย ระบุค่าเงินบาทวันนี้เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.75 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อย จากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ระดับ 35.70 บาทต่อดอลลาร์ โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงบ้าง (แกว่งตัวในช่วง 35.65-35.78 บาทต่อดอลลาร์) โดยเงินบาทเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าเพิ่มเติม หลังรายงานคาดการณ์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ครั้งแรกนั้น ออกมาดีกว่าที่ตลาดประเมินไว้มาก (+3.3% จากไตรมาสก่อนหน้า เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่นักวิเคราะห์ในตลาดประเมินให้สูงสุด +2.5%) ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนเพิ่มเติม จากการอ่อนค่าลงต่อเนื่องของเงินยูโร (EUR) หลังถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้หนุนให้ผู้เล่นในตลาดต่างเพิ่มความคาดหวังว่า ECB จะสามารถลดดอกเบี้ยนโยบายได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ และอาจลดดอกเบี้ยราว 5-6 ครั้ง ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทก็ถูกชะลอลง หลังราคาทองคำยังคงสามารถรีบาวด์ขึ้นและทรงตัวแถวระดับ 2,020 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ตามการย่อตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ท่ามกลางมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ประเมินว่า รายงานอัตราการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด ได้สะท้อนแนวโน้มการชะลอตัวลงต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อ

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรายังคงประเมินว่า เงินบาทอาจเสี่ยงที่จะผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้าง ทว่าการเคลื่อนไหวของเงินบาทก็อาจมีลักษณะแกว่งตัว sideways ในโซน 35.65-35.85 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงก่อนทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดมีการเคลื่อนไหวผันผวนที่มากขึ้นได้ โดยล่าสุด จาก CME FedWatch Tool
ผู้เล่นในตลาดยังให้โอกาสการลดดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือนมีนาคมราว 49% ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังสามารถทยอยปรับลดความคาดหวังต่อการลดดอกเบี้ยดังกล่าวของเฟดได้พอสมควร หากรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด หรือ เร่งตัวสูงขึ้น สวนทางกับที่ตลาดประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ในทางกลับกัน หากอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ชะลอตัวลงกว่าคาด และต่ำกว่าเป้าหมายของเฟดที่ 2% (หากประเมินจากอัตราเงินเฟ้อราย 1 เดือน, 3 เดือน และ 6 เดือน) ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมาเพิ่มโอกาสการลดดอกเบี้ย “เร็วและลึก” ของเฟดอีกครั้ง ซึ่งภาพดังกล่าวอาจส่งผลให้ เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ย่อตัวลงได้ไม่ยาก

ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างวัน ก่อนทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ เรามองว่า เงินบาทยังมีความเสี่ยงที่อาจเผชิญแรงกดดันจากโฟลว์ขายหุ้นโดยนักลงทุนต่างชาติ และแรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ เราคงมองว่า เงินบาทยังไม่สามารถกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ชัดเจน จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามา (เช่น ตลาดกลับมาเชื่อว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยเร็วและลึก) หรือ นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาซื้อสินทรัพย์ไทยต่อเนื่อง ทำให้โซนแนวรับของเงินบาทในระยะสั้นจะยังเป็นโซน 35.50 บาทต่อดอลลาร์

ในช่วงนี้ ความผันผวนของเงินบาทที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เรายังคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.65-35.85 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงก่อนตลาดรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ และประเมินกรอบเงินบาท 35.55-35.95 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook