Service Charge คืออะไร ไม่จ่ายได้หรือเปล่า?
Service Charge (เซอร์วิสชาร์จ) คืออะไร ไม่จ่ายได้มั้ย มีความผิดตามกฎหมายหรือเปล่า สคบ. เฉลยแล้ว
Service Charge (เซอร์วิสชาร์จ) คืออะไร
ค่าบริการที่ผู้ประกอบการขายสินค้านั้นๆ คิดเพิ่มจากผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการ เป็นรายได้ที่นำมาแบ่งให้แก่พนักงานบริการในแต่ละเดือน ถือเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของพนักงาน
Service Charge คิดยังไง
ตามกฎหมายกรมการค้าภายในกำกับอยู่คือ ต้องไม่เกิน 10% เนื่องจากเป็นอัตราราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่รับทราบตามสากล และยอมรับได้
ถึงแม้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคจะไม่ได้พูดถึงเรื่อง Sevice Charge โดยตรง แต่ก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมการค้าภายในคือ ประกาศ เรื่องการต้องแสดงราคาสินค้าหรือบริกร ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
ที่ระบุว่า ราคาสินค้าและบริการต้องแสดงราคาต่อหน่วย มีตัวเลขเป็นภาษาใดก็ได้ แต่ขอให้มีอารบิกอยู่ด้วย ทั้งนี้ ข้อความต้องเป็นภาษาไทย ในลักษณะที่เห็นชัดเจน เปิดเผย สามารถอ่านได้โดยง่าย เพื่อจะแสดงให้ผู้บริโภคทราบก่อนการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือใช้บริการ สิ่งนี้คือหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจในการขายสินค้า ถ้าไม่มีแสดง หรือมีแต่อ่านไม่ชัด ไม่ครบถ้วนก็มีความผิด คือโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
Service Charge ไม่จ่ายได้ไหม
กรณีที่ร้านอาหารให้บริการไม่เป็นที่พอใจ ลูกค้าสามารถขอค่า sevice charge (เซอร์วิส ชาร์จ) คืนได้ไหม จริงๆ แล้วสถานที่ที่คิด service charge แพงเกินจริง หาเหตุผลไม่ได้
ซึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยสินค้าและบริการ มาตรา 29 ระบุว่า ถ้าผู้ประกอบการขายจำหน่ายสินค้า ในลักษณะทำให้เกิดความปั่นปวน สร้างกลไลการตลาดบิดเบี้ยว ราคาเกินจริง โดยชี้แจงสาเหตุที่เรียกเก็บราคาสูงเกินจริงไม่ได้นั้น มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ร้านอาหารต้องติดป้ายแสดงการเรียกเก็บค่า Sevice Charge
การเรียกเก็บค่า Sevice Charge (เซอร์วิส ชาร์จ) ร้านอาหารต้องติดป้ายแสดงทุกอย่างให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้า ไม่ใช่แค่ราคา แต่หมายถึง การเรียกเก็บค่า Service Charge ด้วย อาจจะระบุไว้ในเมนูอาหาร หรือติดประกาศบริเวณหน้าร้านก็ได้ ซึ่งยังไม่มีข้อบังคับที่ชัดเจนว่าต้องระบุไว้ในตำแหน่งใด
แต่ตำแหน่งนั้นผู้บริโภคต้องสามารถมองเห็นชัดเจน หากไม่ซัดเจน ไม่ครบถ้วน นับว่ามีความผิด และผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องจ่ายเพราะร้านไม่ได้แสดงไว้
ดังนั้น หากผู้ประกอบการแสดงความชัดเจนเรื่อง Sevice Charge กับผู้บริโภคแล้วนั้น ด้าน ผู้บริโภคต้องชัดเจนในการตัดสินใจของตัวเองตั้งแต่เลือกเข้าร้านว่ายินดีจ่ายหรือไม่
Service Charge คิดยังไง
อัตราการเรียกเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จที่เหมาะสมตามกฎหมายที่กรมการค้าภายในกำกับอยู่ต้องไม่เกิน 10% เนื่องจากเป็นอัตราที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยอมรับได้ กฎหมายกำหนดว่าราคาสินค้าและบริการต้องแสดงราคาต่อหน่วยอย่างชัดเจนด้วยตัวเลขอารบิกและข้อความภาษาไทย หากไม่แสดงราคาชัดเจนหรือเก็บเกิน 10% ผู้บริโภคสามารถปฏิเสธไม่ชำระค่าใช้จ่ายและร้องทุกข์ต่อกรมการค้าภายใน ซึ่งการเก็บเกินนี้มีโทษปรับไม่เกิน 140,000 บาท จำคุก 7 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากผู้บริโภคพบเห็นร้านเก็บ Service Charge (เซอร์วิส ชาร์จ) เกิน 10% หรือไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่มีการชี้แจงที่สมเหตุสมผล รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนราคาสินค้า สายด่วน กรมการค้าภายใน 1569 หรือ สายด่วน สคบ. 1166