วิธียื่นรับเงินแสนให้ลูกน้อยมีอะไรบ้าง ผู้ปกครองมือใหม่ต้องรู้!
พ่อแม่มือใหม่อย่าลืม! ยื่นรับเงินแสนให้ลูกน้อยได้ ตั้งแต่อายุแรกเกิดจนถึง 6 ปี พร้อมเผยวิธียื่น และคุณสมบัติ เงื่อนไขที่ต้องรู้
ใครที่กำลังเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ห้ามลืมโดยเด็ดขาด คือการยื่นขอรับเงินหลักแสนให้ลูกน้อย ตั้งแต่อายุแรกเกิดจนถึง 6 ปี โดยยื่นขอรับเงินแสนดังกล่าว ก็คือ การขอรับเงินสงเคราะห์บุตร จากประกันสังคม และเงินอุดหนุนบุตรนั่นเอง Sanook Money ได้รวบรวมข้อมูล และสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้
เงินอุดหนุนบุตร
โครงการเงินอุดหนุนบุตร เป็นมาตรการช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้ปกครองที่มีบุตรตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี เป็นจำนวน 600 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่มีเกณฑ์ได้รับเงินอุดหนุนบุตรจากรัฐบาลจะต้องมีคุณบัติและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
คุณสมบัติผู้ลงทะเบียนเงินอุดหนุนบุตร
ผู้ปกครอง
- มีสัญชาติไทย
- เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในความอุปการะ เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
เด็กแรกเกิด
- มีสัญชาติไทย
- อายุไม่เกิน 6 ปี
- อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน
เอกสารยื่นเงินอุดหนุนบุตร
- แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร.01) คลิกที่นี่
- แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) คลิกที่นี่
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง
- สูติบัตรเด็กแรกเกิด
- สมุดบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง (กรุงไทย, ออมสิน หรือ ธกส.) อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
- สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เฉพาะหน้าที่ 1 ที่มีชื่อของหญิงตั้งครรภ์)
- ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของทุกคนในครัวเรือนที่มีรายได้ประจำ
- สำเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะหรือตำแหน่ง หรือเอกสารอื่นใด ที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2
สถานที่รับลงทะเบียนเงินอุดหนุนบุตร
- กรุงเทพมหานคร : ณ สำนักงานเขต
- เมืองพัทยา : ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา
- ส่วนภูมิภาค : ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล
ลงทะเบียนเงินอุดหนุนบุตรออนไลน์ ได้ไหม
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินอุดหนุนบุตรออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน "เงินเด็ก" นั้นสามารถทำได้ แต่ผู้ปกครองจำเป็นต้องยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน ThaiD ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันของกรมการปกครองก่อน
การยืนยันตัวตนในแอปพลิเคชัน ThaiD ต้องทำการพิสูจน์ตัวตนครั้งแรกที่ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต และต้องแนบเอกสารประกอบการลงทะเบียนในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วย
- หลักฐานเพื่อรับรองสถานะครัวเรือน รวมถึงภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเอกสารอื่นที่แสดงสถานะหรือตำแหน่งของผู้รับรอง
- ใบรับรองเงินเดือนหรือหนังสือรับรองรายได้ของสมาชิกในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
- เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้นและผ่านการตรวจสอบสิทธิ์แล้ว ผู้ปกครองจะได้รับเงินอุดหนุนบุตร โดยมีผลตั้งแต่เดือนที่ทำการลงทะเบียน
วิธีลงทะเบียน เงินอุดหนุนบุตร ออนไลน์ บนแอป "เงินเด็ก"
- ผู้ปกครองเดินทางไปพิสูจน์ตัวตนครั้งแรก ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตใกล้บ้าน (ทำครั้งแรกครั้งเดียว)
- โหลดแอปเงินเด็ก
- โหลดแอป ThaiD ของกรมการปกครอง
- เข้าแอปเงินเด็ก แล้วยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชั่น ThaiD
- เมื่อยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้วจะสมารถข้าไปกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนผ่านแอปเงินเด็ก และติดตามสถานะการรับเงินได้
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินอุดหนุนบุตร
ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด กรมกิจการเด็กและเยาวชน โทร 08 2091 7245, 08 2037 9767, 08 3431 3533, 06 5731 3199
ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง
ช่องทางตรวจสอบสถานะสิทธิเงินอุดหนุนบุตร
-
เช็กเงินอุดหนุนบุตร ได้ด้วยตนเอง ขั้นตอนง่ายๆ แค่กรอก-คลิกเท่านั้น!
- เว็บไซต์กรมกิจการเด็กและเยาวชน
- แอปพลิเคชัน “เงินเด็ก”
- แอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" คลิกดาวน์โหลดที่นี่
เงินสงเคราะห์บุตร
ผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับเงินช่วยเหลือเด็กเดือนละ 800 บาท จากสำนักงานประกันสังคม สามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตไรด้คราวละไม่เกิน 3 คน
เงื่อนไขลงทะเบียน รับเงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 800 บาท
- เป็นผู้ประกันตน ประกนสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
- เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (ยกเว้นบุตรบุญธรรม)
- อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
- ผู้ประกันตนพ่อหรือแม่ สามารถเลือกใช้สิทธิได้ 1 สิทธิ
เอกสารยื่นรับเงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม 2566
-
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
-
กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
- กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
- กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ
-
สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
-
สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)
-
กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
-
กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคมและสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
-
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้
พร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน
วิธีลงทะเบียน รับเงินสงเคราะห์บุตร ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์
-
เข้าเว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th
-
กด "เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน"
-
เลือกระบบ "e-Self Service"
-
เลือก "ขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม"
-
เลือก "สงเคราะห์บุตร"
-
กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนแล้วอัปโหลดเอกสารได้เลย
ช่องทางตรวจสอบ เช็กสิทธิเงินสงเคราะห์บุตร
ผู้ประกันตน สามารถเช็กการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร ผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งทางแอปพลิเคชัน SSO Connect และเว็บไซต์ของประกันสังคม รวมถึงแอปพลิเคชันธนาคารที่ใช้ยื่นรับสิทธิ
-
เว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th
-
ล็อกอิน เข้าสู่ระบบสมาชิก
-
จากนั้นไปที่เมนู "การใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน"
-
จะพบหน้าจอแสดงรายการ การจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร
ผู้ที่หมดสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร
-
เมื่อบุตร มีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
-
บุตรเสียชีวิต
-
ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
-
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แนะนำติดต่อผ่านช่องทางต่างๆ สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง ระบบสนทนาออนไลน์ (facebook inbox, live chat) ตลอด 24 ชั่วโมง
พ่อแม่ขอรับเงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนทั้ง 2 อย่างได้หรือไม่?
หากคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือทั้ง 2 ทาง คือ เงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด รวมแล้วจะได้รับเงินช่วยเหลือ 1,400 บาทต่อเดือน ต่อบุตร 1 คน เท่ากับว่านับตั้งแต่เด็กแรกเกิดยาวไปจนถึงอายุ 6 ปี ผู้ปกครองจะได้รับเงินรวมทั้งสิ้น 100,800 บาท!