ค่าเงินบาทวันนี้ 12 มี.ค. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.40 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ค่าเงินบาทวันนี้ 12 มี.ค. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.40 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง

ค่าเงินบาทวันนี้ 12 มี.ค. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.40 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ค่าเงินบาทวันนี้ 12 มี.ค. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.40 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ sideways (แกว่งตัวในช่วง 35.37-35.45 บาทต่อดอลลาร์) ประเมินกรอบเงินบาท 35.25-35.65 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงตลาดทยอยรับรู้อัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย ระบุค่าเงินบาทวันนี้เปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.40 บาทต่อดอลลาร์ ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ sideways (แกว่งตัวในช่วง 35.37-35.45 บาทต่อดอลลาร์) ตามการรีบาวด์แข็งค่าขึ้นบ้างของเงินดอลลาร์ ที่ได้แรงหนุนบรรยากาศในตลาดการเงินสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง อีกทั้งผู้เล่นในตลาดต่างก็ระมัดระวังตัวมากขึ้นก่อนที่จะรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในคืนวันอังคารนี้ (19.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศไทย) อนึ่ง เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันจากโฟลว์ธุรกรรมซื้อเงินดอลลาร์และสกุลเงินต่างประเทศ หลังเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นพอสมควรในช่วงระยะสั้น ทำให้เงินบาทยังไม่สามารถแข็งค่าทะลุโซนแนวรับ 35.30 บาทต่อดอลลาร์ ไปได้ง่ายนัก

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงเผชิญแรงกดดันจากการทยอยขายทำกำไรบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ อาทิ Meta -4.4%, Nvidia -2.0% รวมถึงบรรดาหุ้นสไตล์ Growth อื่นๆ เพื่อเป็นการปรับลดความเสี่ยงพอร์ตการลงทุน ก่อนที่จะรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในคืนวันอังคารนี้ ส่งผลให้โดยรวมดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวลดลง -0.41% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.11%

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า เงินบาทอาจแกว่งตัว sideways ในกรอบใกล้ระดับ 35.40 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงก่อนรับรู้ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างยังไม่รีบปรับสถานะถือครองที่ชัดเจน ทั้งนี้ เงินบาทก็อาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้บ้าง ตามโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรสถานะ Long THB (มองเงินบาทแข็งค่า) รวมถึงโฟลว์ธุรกรรมซื้อเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้นำเข้าบางส่วน หลังเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นมาพอสมควรในระยะสั้น นอกจากนี้ แรงขายหุ้นไทยก็อาจยังมีอยู่บ้าง ตามบรรยากาศปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินโดยรวม อย่างไรก็ดี แม้เงินบาทจะเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าบ้าง เราคาดว่า ก่อนจะรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ เงินบาทก็อาจไม่ได้ผันผวนอ่อนค่าทะลุแนวต้าน 35.50 บาทต่อดอลลาร์ไปไกล ยกเว้นว่า ในช่วงรับรู้ รายงานข้อมูลตลาดแรงงานอังกฤษ ราว 14.00 น. เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) จะผันผวนอ่อนค่าหนัก หากยอดการจ้างงานอังกฤษ หรือ อัตราการเติบโตของค่าจ้าง ออกมาแย่กว่าคาดไปมาก ทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มประเมินว่า BOE อาจลดดอกเบี้ยได้เร็วขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตลาดกำลังคาดการณ์อยู่

และที่สำคัญ ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในช่วงราว 19.30 น. เพราะหาก อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ไม่ได้ชะลอลงอย่างที่คาดหวัง (ต้องจับตาทั้งข้อมูล %y/y และ %m/m หรือ โมเมนตัมการเปลี่ยนแปลงรายเดือน) ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมากังวลต่อแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยของเฟดได้ ส่งผลให้ เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ มีโอกาสผันผวนสูงขึ้นได้ไม่ยาก กดดันทั้ง ราคาทองคำและเงินบาทได้พอสมควร ซึ่งมีโอกาสที่เงินบาทจะอ่อนค่าทะลุแนวต้าน 35.50 บาทต่อดอลลาร์ ไปทดสอบโซนแนวรับถัดไปแถว 35.65 บาทต่อดอลลาร์

ในทางกลับกัน หากอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ชะลอลงตามคาด หรืออาจชะลอลงมากกว่าคาดเล็กน้อย เราคาดว่าก็อาจไม่ได้ช่วยให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลงไปมากกว่าระดับปัจจุบันมากนัก เนื่องจากผู้เล่นในตลาดได้รับรู้แนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้ราว 3-4 ครั้งไปมากแล้ว ทำให้เงินบาทก็อาจแข็งค่าติดอยู่ในโซนแนวรับแถว 35.30 บาทต่อดอลลาร์ได้

เรายังขอเน้นย้ำว่า ในช่วงนี้ ความผันผวนของเงินบาทนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.35-35.50 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงก่อนตลาดรับรู้อัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ และประเมินกรอบเงินบาท 35.25-35.65 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงตลาดทยอยรับรู้อัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook