เฉลยแล้ว! เด็กฝึกงานต้องได้ค่าตอบแทนจากบริษัทมั้ย

เฉลยแล้ว! เด็กฝึกงานต้องได้ค่าตอบแทนจากบริษัทมั้ย

เฉลยแล้ว! เด็กฝึกงานต้องได้ค่าตอบแทนจากบริษัทมั้ย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เฉลยแล้ว! นักศึกษาฝึกงาน เด็กฝึกงาน จะต้องได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทหรือเปล่า หากถูกใช้เงินเกินเวลา ทำงานวันหยุด บริษัทจะมีความผิดหรือไม่

ถือเป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตสำหรับใครหลายๆ คนที่ว่า นักศึกษาฝึกงาน เด็กฝึกงาน จะได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทหรือเปล่า? หากยึดตามกฎหมายแรงงาน นักศึกษาฝึกงาน แตกต่างกับพนักงานประจำ อย่างไร Sanook Money มีข้อมูลดีๆ จาก flash-hr มาฝากกัน

เว็บไซต์ flash-hr รายงานว่า กฎหมายแรงงาน นักศึกษาฝึกงาน อาจแตกต่างกับกฎหมายแรงงาน พนักงานพาร์ตไทม์ และกฎหมายแรงงานของพนักงานประจำ แต่นักศึกษาฝึกงาน จะได้รับค่าตอบแทน หรือมีรายละเอียดชั่วโมงการทำงานยังไง มาดูกัน

ก่อนจะเริ่มกำหนดเวลาทำงาน และเรื่องอื่นๆ ควรทำความเข้าใจก่อนเลยว่า ตามกฎหมายแรงงาน นักศึกษาฝึกงาน ระบุไว้ว่า ตำแหน่ง นักศึกษาฝึกงาน จะต้องเป็นบุคคลที่อายุ 15 ปีขึ้นไป เท่านั้น

กฎหมายแรงงาน นักศึกษาฝึกงาน ระบุให้ทำงานได้สูงสุดกี่ชั่วโมงต่อวัน?

กฎหมายแรงงาน สำหรับ นักศึกษาฝึกงาน ระบุไว้ว่า ทำได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และเช่นเดียวกับพนักงานทั่วไป นักศึกษาฝึกงานต้องมีเวลาพัก อย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวันด้วยเช่นกัน

ตามกฎหมายแรงงาน นักศึกษาฝึกงาน จะต้องได้รับค่าจ้าง เท่าไหร่?

แบบไม่จ่ายค่าตอบแทน

ตามที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ชี้แจงไว้ ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกงานตามกฎหมายของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือตามที่สถาบันการศึกษาส่งมาฝึกงาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษา ไม่ว่าแบบใดก็ตาม บริษัทจะไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าจ้าง และส่งเงินสมทบประกันสังคม

แบบจ่ายค่าตอบแทน

ตามกฎหมายไม่ได้บังคับว่าจะต้องจ่ายค่าตอบแทนนักศึกษาฝึกงาน แต่ถ้าบริษัทเลือกที่อยากจะให้ค่าตอบแทนเอง เรทค่าตอบแทนดังกล่าวก็จะขึ้นอยู่กับว่า สัญญาฝึกงาน นั้น ระบุไว้ว่าอย่างไรบ้าง

หากระบุไว้ว่าเป็นสัญญาจ้างงาน ก็ต้องอิงตามกฎหมายแรงงาน มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามจังหวัด เหมือนพนักงานปกติ

แต่ส่วนมาก บริษัทมักเลือกจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้ ที่จะเรียกว่าเป็น "เบี้ยเลี้ยง" เพื่อตอบแทนการฝึก แทนมากกว่า

โดยเมื่อในสัญญาฝึกงาน ระบุไว้แล้วว่าจะได้เงินเป็นเบี้ยเลี้ยง บริษัทก็ต้องจ่ายเงินตามกฎหมายเบี้ยเลี้ยงปกติ ซึ่งก็คือ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในจังหวัดนั้นๆ

ยกตัวอย่าง นาย ก. เป็นนักศึกษาฝึกงาน ได้เบี้ยเลี้ยง วันละ 165 บาท ถ้าบริษัทที่ นาย ก. ฝึกงานด้วย อยู่ในจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ (ค่าแรงขั้นต่ำ 320 บาท) ก็จะเป็นเรทที่ถูกต้อง ไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย แต่ถ้าบริษัทที่ นาย ก. ฝึกงานด้วย อยู่ในจังหวัด กรุงเทพฯ (ค่าแรงขั้นต่ำ 331 บาท) อย่างนี้ ก็จะเป็นเรทเบี้ยงเลี้ยงที่ขัดต่อข้อกฎหมาย เพราะไม่ถึง ร้อยะละ 50 ของขั่นต่ำ ดังนั้น บริษัทจึงควรพึงระวังในส่วนนี้เป็นพิเศษ

กรณีนักศึกษามาขอฝึกเอง ไม่ได้มาเพราะส่วนหนึ่งของหลักสูตร หรือไม่ได้มีจดหมายจากสถาบันมาขอฝึกงาน จะนับว่าเป็นการทำงานปกติ มีฐานะเป็นนายจ้างลูกจ้างกัน ต้องทำทุกอย่างตามกฎหมายแรงงานเหมือนพนักงานปกติคนหนึ่งทุกประการ จะให้เป็นนักศึกษาฝึกงานไม่ได้

ตามกฎหมายแรงงาน นักศึกษาฝึกงาน จะต้องฝึกงานนานแค่ไหน เป็นระยะเวลาเท่าไหร่?

การที่จะเป็นนักศึกษาฝึกงานได้ นอกจากจะต้องอายุเกิน 15 ปีแล้ว ยังต้องมีระยะเวลาในการฝึกงานไม่ต่ำกว่า 2 เดือน และจะฝึกงานได้นานไม่เกิน 1 ปี เท่านั้น

โดยใน "สัญญาฝึกงาน" ของนักศึกษาฝึกงาน จะต้องระบุขอบเขตการทำงานอย่างชัดเจน ซึ่งอาจรวมถึงเวลาการทำงาน เข้าออกงาน ค่าตอบตอบแทน (ถ้ามี) และวันลา วันหยุด ที่นักศึกษาฝึกงานจะได้รับ เช่นเดียวกับสัญญาจ้างในการทำงานจริง

นักศึกษาฝึกงาน เด็กฝึกงาน สามารถทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่?

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ระบุ การทำงานล่วงเวลาของนักศึกษาฝึกงาน ไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

ดังนั้น ห้ามไม่ให้ทำงานล่วงเวลา ห้ามทำงานในวันหยุด และให้มีการกำหนดเวลาฝึกงาน ที่สำคัญวันเวลาการพัก วันหยุด ควรอยู่ในกรอบกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook