วิธีสมัครบัตรทอง บัตรทอง 30 บาท ทำอย่างไร ที่ไหน รักษาโรคอะไรได้บ้าง?

วิธีสมัครบัตรทอง บัตรทอง 30 บาท ทำอย่างไร ที่ไหน รักษาโรคอะไรได้บ้าง?

วิธีสมัครบัตรทอง บัตรทอง 30 บาท ทำอย่างไร ที่ไหน รักษาโรคอะไรได้บ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิธีสมัครบัตรทอง บัตรทอง 30 บาท ทำอย่างไร คุณสมบัติผู้สมัครมีอะไรบ้าง เช็กที่นี่

การสมัครบัตรทอง หรือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถทำได้โดยเริ่มจากเตรียมเอกสาร และสามารถดำเนินการได้ทั้งออนไลน์และที่สำนักงานที่กำหนด 

บัตรทอง หรือ บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นสิทธิตามกฎหมายของคนไทยที่ใช้ในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข และการแพทย์ เพื่อการรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัย ส่งเสริมด้านสุขภาพ และการป้องกันโรคต่างๆ

อันที่จริงแล้ว บัตรทอง มีชื่อเต็มว่า "บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า" ที่สำนักงานประกันสังคมแห่งชาติ หรือ สปสช. ออกให้คนไทยเพื่อใช้รักพยาบาลฟรี ยกเว้นคนที่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่น เช่น สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิข้าราชการ เป็นต้น

คุณสมบัติผู้มีสิทธิได้บัตรทอง

  • บุคคลสัญชาติไทยตั้งแต่แรกเกิด
  • เป็นคนที่ไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้
    • บุตรข้าราชการที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไป หรือสมรส) และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ
    • บุตรข้าราชการคนที่ 4 ขึ้นไป และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ (เนื่องจากสิทธิ์ข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน)
    • ผู้ประกันตนที่ขาดส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (หมดสิทธิประกันสังคม)
    • ข้าราชการที่เกษียณอายุ หรือออกจากราชการโดยไม่ได้รับบำนาญ
    • ผู้มีอาชีพอิสระ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตน

เอกสารที่ใช้ลงทะเบียนบัตรทอง มีดังนี้

เอกสารประกอบการลงทะเบียน/เปลี่ยนหน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ประจำ สำหรับผู้มีสิทธิบัตรทอง

ดาวน์โหลดแบบคำร้องการลงทะเบียน ไปที่เว็บไซต์ สปสช. จากนั้นไปที่ www.nhso.go.th เลือกหัวข้อเมนูประชาชน เลือก icon แบบคำร้องการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ หรือ (คลิก

  1. บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) หรือ บัตรหรือเอกสารอื่นใดที่ทางราชการออกให้ ซึ่งมีเลขประจำตัวประชาชน

    กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนใช้สูติบัตร (ใบเกิด) พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครองกรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน แสดงใบคัดสำเนาทะเบียนบ้านทร.14/1 หรือ แสดงใบคัดทะเบียนประวัติบุคคล ทร.12

  2. กรณีลงทะเบียนไม่ตรงตามที่อยู่หน้าบัตรประจำตัวประชาชนแสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง

    • หนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
    • หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน
    • หนังสือรับรองผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
    • เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น ใบเสร็จค่าสาธารณูปโภค ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก สัญญาเช่าที่พัก ฯลฯ

วิธีสมัครบัตรทอง 30 บาทวิธีสมัครบัตรทอง 30 บาท

วิธีสมัครบัตรทอง 30 บาท

สำหรับข้าราชการองค์กรรัฐ /พนักงานส่วนท้องถิ่น ที่เกษียณอายุ ผู้ประกันตนที่หมดสิทธิประกันสังคม และผู้ที่เป็นสิทธิว่างไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลอื่นใด เป็นคนไทยที่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก สามารถลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิบัตรทอง 30 บาท ได้ดังนี้

ผู้ที่ต้องการสมัครบัตรทอง สามารถดาวน์โหลดแบบคำร้องได้ ที่นี่ หรือขอรับได้ ณ จุดลงทะเบียนสมัครบัตรทอง

ติดต่อสมัครบัตรทอง ด้วยตนเองได้ที่

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) ในวัน-เวลาราชการ
  2. โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน ในวัน-เวลาราชการ
  3. ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกชุมชนอบอุ่น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ในวัน-เวลาราชการ
  4. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1-13 ตามพื้นที่ที่อยู่อาศัย ในวัน-เวลาราชการ

สมัครบัตรทองออนไลน์

  1. ลงทะเบียนผ่าน Line @nhso โดยเพิ่มเพื่อนแล้วคลิกเลือกเมนู สิทธิบัตรทอง จากนั้นทำตามขั้นตอนที่กำหนด หรือคลิกดูวิธี ที่นี่
  2. แอปพลิเคชัน สปสช. โดยมีขั้นตอนดังนี้
    • ติดตั้งแอปพลิเคชัน พิมพ์คำว่า “สปสช” ใน Google Play หรือ App Store
    • เปิดหน้าแอปพลิเคชัน “สปสช”
    • กดปุ่ม “ลงทะเบียน”
    • กดอ่านเงื่อนไขข้อตกลง และกด “ยอมรับ”
    • กรอกเลขบัตรประชาชน
    • สแกนลายนิ้วมือหรือตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่แอปฯ
    • เมื่อเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชัน ให้กด ลงทะเบียนสิทธิหลักประกัน

สิทธิบัตรทองรักษาโรคอะไรได้ ?

สิทธิบัตรทอง สามารถใช้รักษาโรคต่างๆ และอาการเจ็บป่วยได้ฟรี เช่น ไอ ท้องเสีย เจ็บ หวัด รวมถึงจนถึงโรคเรื้อรัง และโรคเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น มะเร็ง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง หัวใจ HIV และโรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น

all

นอกจากนี้ บัตรทอง ยังสามารถใช้สิทธิเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ 16 อาการ เช่น ไอ เจ็บคอ เจ็บกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ท้องเสีย ฯลฯ โดยผู้ใช้สิทธิบัตรทองไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลเสมอไป สามารถแวะไปรับยาเองได้ที่ "ร้านยาคุณภาพของฉัน" ที่เข้าร่วมโครงการกับ สปสช. ที่เภสัชกรจะคัดกรองอาการเบื้องต้นพร้อมจ่ายยาให้

16sive

app

ในกรณีที่ผู้ใช้สิทธิบัตรทอง อยู่ในพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม มีอาการเจ็บป่วยด้วย 42 กลุ่มโรคและอาการ เช่น ตาแดงจากไวรัส อาหารเป็นพิษ ปวดศีรษะ ฯลฯ สามารถใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น และส่งยาให้ถึงบ้านได้

วิธีเช็กสิทธิบัตรทอง ทำได้ 2 วิธี

วิธีที่ 1 ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ได้แก่

  • เว็บไซต์ www.nhso.go.th เลือก สำหรับประชาชน เลือก ตรวจสอบสิทธิ หรือ คลิกที่นี่
  • แอปพลิเคชัน สปสช. ทั้งระบบ Android และ iOS เลือก ตรวจสอบสิทธิตนเอง
  • ตรวจสอบสิทธิผ่าน ไลน์ สปสช. โดยสแกน QR CODE หรือ คลิกที่นี่ เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

วิธีที่ 2 โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 2

ลงทะเบียนเพื่อเลือกหน่วยบริการประจำทำได้ 2 ช่องทาง

ช่องทางที่ 1 ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

  • แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนู เปลี่ยนหน่วยบริการ
  • ไลน์ สปสช. (พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso ในช่องเพิ่มเพื่อน) หรือคลิกที่นี่ เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง

ช่องทางที่ 2 ติดต่อด้วยตนเอง

  • พื้นที่ต่างจังหวัด : ติดต่อด้วยตนเองได้ที่ หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือ ที่คุ้นเคยในชื่อสถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุขศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ
  • พื้นที่กรุงเทพมหานคร : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 2 อาคารบี (ทิศตะวันตก) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ในวันเวลาราชการ

สิทธิประโยชน์ของบัตรทอง

  1. เสริมสร้างสุขภาพ และป้องกันโรค
    • การตรวจคัดกรองหาภาวะเสี่ยง เช่น คัดกรองมะเร็งปากมดเล็ก เบาหวาน ไขมัน ความดันโลหินสูง
    • การให้คำปรึกษาและแนะนำการดูแลสุขภาพ เช่น การวางแผนครอบครัวการคุมกำเนิด ยาคุม ถุงยางอนามัย การเลิกบุรี่
    • การสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น การฉีดวัคซีน การให้ยาบำรุง การเคลือบฟลูออไรด์
  2. ค่าเวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามกรอบบัญชียาหลักและยาที่มีราคาสูง
  3. ค่าอาหารและค่าห้องสามัญ ระหว่างพักรักษาตัวในหน่วยบริการ
  4. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับ-ส่งผู้ป่วย และผู้ทุพพลภาพ
  5. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ ทั้งกายภาพบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูการได้ยิน ฟื้นฟูการมองเห็น และบริการอุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้พิการตามเกณฑ์ที่กำหนด
  6. บริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคทางศิลปะ
  7. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด ยกเว้นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดที่มีกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
  8. การบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุการประสบภัยจากรถ ยกเว้นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  9. บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม
  10. ขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล
  11. ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่มีคะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ไม่เกิน 6 คะแนน หรือผู้ที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ ตามผลการประเมินหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ มีสิทธิขอรับผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับการขับถ่าย

สิทธิประโยชน์ของบัตรทองสิทธิประโยชน์ของบัตรทอง

การติดต่อสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางออนไลน์ ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ https://www.facebook.com/NHSO.Thailand

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook