กลุ่มคนที่ได้รับเงินเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มเป็น 11,999 บาท คือใคร

กลุ่มคนที่ได้รับเงินเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มเป็น 11,999 บาท คือใคร

กลุ่มคนที่ได้รับเงินเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มเป็น 11,999 บาท คือใคร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข้าราชการที่จะได้รับเงินค่าครองชีพ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ มี 5 กลุ่ม เช็กเลยใครบ้าง

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้า และคว้ามพร้อมในการเตรียมตัวปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ที่จะมีผลในวันที่ 1 พ.ค. 67 ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) มีความพร้อม โดยได้ดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งได้มีการหารือและประสานงานกับสำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลางไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ขอให้ข้าราชการมั่นใจได้ว่าการปรับขึ้นเงินเดือนครั้งนี้จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยแน่นอน

ซึ่งจากมติที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 66 ที่มีมติอนุมัติปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรีจะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายในระยะเวลา 2 ปี

เป้าหมายเป็นการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุทุกคุณวุฒิ โดยทยอยปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิเพิ่มขึ้น (ทุกคุณวุฒิ) และแตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิการศึกษา ภายใน 2 ปี (ปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 67 และปีที่ 2 วันที่ 1 พ.ค. 68) รวมทั้งมีการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 2 ครั้ง ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุในปีที่ 1 และปีที่ 2 โดยปรับเงินเดือนชดเชยในแต่ละปีให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับราชการก่อนวันที่อัตราแรกบรรจุที่กำหนดใหม่มีผลใช้บังคับประมาณ 10 ปี

“การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุข้าราชการนั้นเป็นไปตามความเหมาะสม คำนึงถึงสถานการณ์โลกและความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต และจะส่งผลให้ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต รวมทั้งเพื่อรักษาและดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพและศักยภาพเข้าสู่ระบบราชการ ซึ่งจะเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบราชการไทยต่อไป ในวันนี้ที่เป็นวันข้าราชการพลเรือน ปี พ.ศ. 2567 จึงขอชวนเคาท์ดาวน์ นับถอยหลัง 1 เดือนสู่ข่าวดีของข้าราชการทุกคน” นางรัดเกล้าฯ กล่าว'

ผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยหวัดบำนาญเดือนละ 11,000 บาท มี 5 กลุ่มดังนี้

ผู้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม

  • นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่มีเวลาราชการไม่น้อยกว่า 1 ปี แล้วออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุน
  • นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ
  • นายทหารประทาน และพลทหาร ซึ่งรับราชการในกองประจำการครบตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้ว
  • นายทหารประทวนและพลทหารกองหนุน ที่ไม่ได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ

ผู้รับบำนาญปกติ

ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 กำหนดให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 4 เหตุ ได้แก่

  • เหตุทดแทน
  • เหตุทุพพลภาพ
  • เหตุสูงอายุ
  • เหตุรับราชการนาน

ผู้รับบำนาญพิเศษ และเหตุทุพพลภาพ

ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ กำหนดให้บำเหน็จบำนาญเหตุทพพลภาพนั้น ให้แก่ข้าราชการผู้ป่วยเจ็บทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป

บำนาญพิเศษ

เงินที่จะต้องจ่ายให้แก่ทายาทของข้าราชการผู้นั้น เพราะเหตุเสียชีวิต อันมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่

บำนาญตกทอดในฐานทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ

เป็นเงินบำเหน็จตกทอด (เงินที่รัฐจ่ายให้แก่ทายาทของผู้ที่ถึงแก่ความตาย ซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว) แต่บำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะเป็นคำในกฎหมายเดิม ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้ใด้รับเงินประเภทนี้อยู่

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น กระทรวงการคลังได้คำนวณไว้แล้วว่าต้องจ่ายเพิ่ม 27.96 ล้านบาทต่อปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 67 เป็นต้นปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook