คนใช้สิทธิ์ Easy e-Receipt ลดหย่อนภาษี ขอร่วมรับเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้มั้ย?

คนใช้สิทธิ์ Easy e-Receipt ลดหย่อนภาษี ขอร่วมรับเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้มั้ย?

คนใช้สิทธิ์ Easy e-Receipt ลดหย่อนภาษี ขอร่วมรับเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้มั้ย?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนใช้สิทธิ์ Easy e-Receipt สามารถเข้าร่วมโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท แต่จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ผู้ที่เคยเข้าร่วมโครงการ Easy e-Receipt ลดหย่อนภาษี 50,000 บาท ไปแล้วก่อนหน้านี้ สามารถเข้าร่วมโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตได้ เพราะเป็นคนละโครงการ ซึ่ง Easy e-Receipt เป็นการกระตุ้นการการใช้จ่ายระยะสั้นในช่วงต้นปี และได้ปิดโครงการไปแล้ว ไม่เกี่ยวกับโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท

สำหรับกลุ่มเป้าหมายโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท มีดังนี้

  • ประชาชน 50 ล้านคน
  • คนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน
  • ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี จากเดิมที่กำหนดให้ผู้มีรายได้เดือนละไม่เกิน 70,000 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการของสรรพากร
  • เงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

เงื่อนไขการใช้จ่าย

  • กลุ่มที่ 1 ประชาชนใช้จ่ายกับร้านค้า ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) กำหนดให้ใช้ข่ายกับร้านค้าขนาดเล็กตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น
  • กลุ่มที่ 2 ร้านค้ากับร้านค้า ไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ระหว่างร้านค้ากับร้านค้าในระดับอำเภอและขนาดของร้านค้าการใช้จ่ายเงินสามารถใช้จ่ายได้หลายรอบ

การใช้จ่ายเงินสามารถใช้ได้หลายรอบ

  • รอบที่ 1 จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็กเท่านั้น (ตามกระทรวงพาณิชย์กำหนด) ในระยะเวลา 6 เดือน เบื้องต้นกำหนดให้เป็นร้านค้าในกลุ่มร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กลงมา
  • ตั้งแต่รอบที่ 2 ขึ้นไป จะเป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้าโดยไม่จำกัดขนาดร้านค้า และพื้นที่ โดยจะยังเบิกเงินไม่ได้ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในระบบ

เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง

  • สินค้าทุกประเภทที่สามารถใช้จ่ายผ่านโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ยกเว้น
    • สินค้าอบายมุข
    • น้ำมัน
    • บริการ
    • สินค้าออนไลน์
    • สินค้าที่กระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติม

รูปแบบการใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • เป็นการใช้จ่ายผ่านระบบใหม่ "Super App" ที่เป็นการพัฒนาต่อยอดของรัฐบาลดิจิทัลโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายให้เป็น Super App ของรัฐบาล โดยการใช้งานจะ
    พัฒนาให้สามารถใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่นๆ ในลักษณะ open loop ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดทำของภาครัฐ รัฐบาลจะดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างรอบคอบ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ตามกฎหมาย

โครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ภายในเดือน เม.ย. 2567 พร้อมดำเนินการตามกรอบเวลาเดิม คือ เปิดให้ประชาชน และร้านค้า ลงทะเบียนในไตรมาส 3 ปี 2567 และเริ่มใช้จ่ายในไตรมาสที่ 4 ปีเดียวกันนี้

ส่วนร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ ได้ โดยจะต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT)
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร หรือ
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT)

ทั้งนี้ ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันทีหลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook