เช็กสิทธิประกันสังคม "เงินชราภาพ" เลือกแบบไหนดี "บำเหน็จ VS บำนาญ"

เช็กสิทธิประกันสังคม "เงินชราภาพ" เลือกแบบไหนดี "บำเหน็จ VS บำนาญ"

เช็กสิทธิประกันสังคม "เงินชราภาพ" เลือกแบบไหนดี "บำเหน็จ VS บำนาญ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เงินชราภาพ ของประกันสังคม ใครมีสิทธิ์ได้บ้าง เลือกแบบไหนดีระหว่าง "บำเหน็จ VS บำนาญ" ขอรับได้อย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง

คนทำงานส่วนใหญ่ คงคุ้นเคยกันดีกับ "สิทธิประกันสังคม" เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนจะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ โดยเฉพาะในยามเกษียณ

เชื่อว่าบางคนอาจเกิดข้อสงสัย เกี่ยวกับเงินที่ถูกหักไปมันจะคุ้มค่าไหมกับเงินคืนจากประกันสังคมที่เราจะได้รับคืนในยามเกษียณ เงินที่ว่านี้ก็คือ เงินชราภาพ นั่นเอง อยากรู้มั้ย เงินชราภาพมีกี่แบบ และจะได้รับตอนไหน Sanook Money มีข้อมูลดีๆ จาก Krungsri The COACH และ บมจ.ธรรมนิติ มาฝากกัน

who

ผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชราภาพ

ผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39

  • อายุ 55 ปีบริบูรณ์
  • สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน หรือเสียชีวิต หรือสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง

ผู้ประกันตน ตามมาตรา 40

  • อายุ 60 ปีบริบูรณ์
  • แจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน หรือเสียชีวิต

กรณีผู้ประกันตนได้เสียชีวิต ตามกฎหมายสามารถให้ บุตร, บุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย, สามี-ภริยา ที่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดา-มารดา ที่มีชีวิตอยู่, บุคคลที่ผู้ประกันตนได้ทำหนังสือระบุชื่อไว้ เป็นผู้รับเงินได้

wholong

wholong1

ประเภทของเงินชราภาพ

บำเหน็จ คือ จ่ายให้ครั้งเดียว

  • ข้อดี ได้เงินก้อนใหญ่มาเลยทีเดียว เหมาะกับคนที่ต้องการใช้เงินก้อน
  • ข้อเสีย ได้บำเหน็จน้อยกว่าบำนาญ และมีโอกาสที่จะใช้เงินหมดก่อน หากอายุยืนอาจไม่มีเงินเพียงพอใช้ในบั้นปลายชีวิต

บำนาญ คือ จ่ายรายเดือนตลอดชีวิต

  • ข้อดี ได้เงินมากกว่าและมีเงินใช้รายเดือนไปจนเสียชีวิต
  • ข้อเสีย ไม่มีเงินก้อนสำหรับการลงทุนหากมีความต้องการ

เงื่อนไขรับงินชราภาพ

  • เงินชราภาพบำเหน็จ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 180 เดือน
  • เงินชราภาพบำนาญ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน (15 ปีขึ้นไป) จะได้รับเงินบำนาญที่ประกันสังคัมจ่ายให้รายเดือนตลอดชีวิต

wholong2

ยื่นขอรับเงินชราภาพได้อย่างไร

เอกสารหลักฐานที่สำคัญ : กรณีผู้ประกันตนยื่นขอรับเงินด้วยตนเอง

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) (กรณีมาตรา 33, 39)
  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01 / ม.40) (กรณีมาตรา 40)
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)
  • บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)

wholong4

เอกสารหลักฐานที่สำคัญ : กรณีทายาทยื่นขอรับแทน

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (สปส.2-01) หรือ สปส. 2-01 / ม.40 (ฉบับจริง 1 ฉบับ)
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)
  • ใบมรณบัตร (ฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ฉบับ)
  • สูติบัตรของบุตร (สำเนา 1 ฉบับ)
  • บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงิน (สำเนาอย่างละ 1 ฉบับ)

 

ช่อทางยื่นขอรับเงินชราภาพ

  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1-12 หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ
  • ระบบการเบิกจ่ายประโยชน์ทดแทนด้วยตนเองของผู้ประกันตน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ www.sso.go.th
  • ลงทะเบียน พร้อมเพย์ กับบัญชีเงินฝากธนาคาร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook