วิธีสมัครสมาชิก กอช. ผ่านแอปพลิเคชั่นด้วยตัวเองแบบง่ายๆ เช็กเงื่อนไขที่นี่
วิธีสมัครสมาชิก กอช. ผ่านแอปพลิเคชั่นด้วยตนเอง และเช็กเงื่อนไข คุณสมบัติผู้ที่จะสมัครสมาชิก กอช. ได้ที่นี่
กอช. คืออะไร
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เป็นหน่วยงานของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมของสมาชิก และเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญให้สมาชิกเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ
คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิก กอช.
- ผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 15-60 ปี
- นักเรียน นักศึกษา
- ผู้ใหญ่บ้าน, กำนัน, อส., อพปร., อสม., อช., ลูกจ้าง
- เกษตรกร ค้าขาย รับจ้างทั่วไป
- ผู้ประกันตนมาตรา 40 ทางเลือก 1 (ผู้ประกันตนจ่ายเองเดือนละ 70 บาท)
ยกเว้น
- สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น, กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
- ผู้ประกันตนมาตรา 33 (พนักงาน/ลูกจ้างบริษัท) ผู้ประกันตนมาตรา 39 (ผู้ประกันตนเองมีบำเหน็จบำนาญ) ผู้ประกันมาตรา 40 ทางเลือก 2 และ 3 (ผู้ประกันตนมีบำเหน็จ)
- พนักงานบริษัท/องค์กรรัฐวิสาหกิจ (มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)
สิทธิประโยชน์สมาชิก
- ได้รับเงินบำนาฯรายเดือนตั้งแต่อายุ 60-80 ปี หรือตลอดชีพ (แล้วแต่กรณี)*
- เงินออมนำไปลดหย่อนภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีสูงสุด 30,000 บาทต่อปี
- ไม่จำเป็นต้องออมเงินเท่ากันทุกปี สะดวกเมื่อไหร่ ที่ไหน ออมได้ทุกช่องทาง
- ได้รับการค้ำประกันผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
- ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือสวัสดิการอื่นจากรัฐ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
สมัครสมาชิก และส่งเงินออมต่อเนื่อง กับ กอช. ช่องทางไหนได้บ้าง?
- แอปฯ กอช.
- Line : @nsf.th
- แอปฯ ทางรัฐ
- ที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ
- สำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศ
- ธ.ก.ส.
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกรุงไทย
- ธอส.
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- เซเว่นฯ
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- truemoney wallet
- สถาบันการเงินชุมชนที่เข้าร่วม
- เครือข่ายรับสมัครทั่วประเทศ
- โลตัส
- ไปรษณีย์ไทย
- พร้อมเพย์
- บุญเติม
- แอปฯ MyMo
- แอปฯ Krungthai Next
- แอปฯ K plus
- แอปฯ เป๋าตัง
- แอปฯ Aomplearn
ออมเริ่มต้น 50 บาทต่อครั้ง สูงสุด 30,000 บาทต่อปี
รัฐสมทบเพิ่มให้เดือนถัดไป | ||
อายุ 15-30 ปี | 50% ของเงินสะสม | สูงสุดไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี |
อายุ >30-50 ปี | 80% ของเงินสะสม | สูงสุดไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี |
อายุ >50-60 ปี | 100% ของเงินสะสม | สูงสุดไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี |
หมายเหตุ: เงื่อนไขเป็นไปตาม พ.ร.บ. กอช. กำหนด
ยืดหยุ่นในการออม ไม่ต้องออมเท่ากันทุกปี หรือจะออมเงินรายเดือน
วิธีสมัครสมาชิก กอช. ผ่านแอปพลิเคชั่น กอช.
1. ดาวน์โหลดติดตั้งแอปฯ กอช. จากนั้นอ่านเงื่อนไขการสมัครให้ชัดเจน และกดยอมรับ
2. กรอกข้อมูลการสมัคร จากนั้นกดตรวจสอบข้อมูล
3. กรอกข้อมูลทั่วไปให้ครบถ้วน
4. กรอกข้อมูลผู้รับผลประโยชน์จากนั้นกด ตกลง
5. กรอกข้อมูล (เพิ่มบุคคลที่ติดต่อได้) จากนั้นกดถัดไป
6. เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้วให้กด ตกลง
7. ส่งเงินออมงวดแรก
- กรอกจำนวนเงินออม
- เลือกวิธีการส่งเงินสะสม
- เลือกรหัสโครงการตามที่หน่วยงาน หรือ กอช. กำหนด (ไม่จำเป็นต้องระบุ)
- กดปุ่มบันทึก
8. เมื่อกดปุ่มบันทึกแล้ว ระบบจะแสดง “ใบนำส่งเงิน” (NSF Payment)
เพียงเท่านี้ก็สามารถสมัครสมาชิก และส่งเงินออมสะสมกับ กอช. ได้แล้ว
สมาชิกรับเงินคืนอย่างไร?
กรณีสมาชิก กอช. อายุ 60 ปีบริบูรณ์
รายละเอียด/เอกสาร
- กอช. จัดส่งจดหมายถึงสมาชิกล่วงหน้า 3 เดือน เพื่อให้สมาชิกแจ้งยืนยันช่องทางการรับเงินคืนและส่งกลับมาที่ กอช. ผ่านช่องทางไลน์, อีเมลและไปรษณีย์
เงินที่ได้รับ
- เงินออมสะสม+ผลตอบแทนการลงทุน + เงินสมทบ+ผลตอบแทนการลงทุน
วิธีจ่ายเงินคืน
- บำนาญจ่ายเป็นรายเดือน *เริ่มต้น 600 บาทต่อเดือน
กรณีสมาชิก กอช. เสียชีวิต
รายละเอียด/เอกสาร
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (กรณีเลือกการโอนเงินเข้าบัญชี)
เงินที่ได้รับ
- เงินออมสะสม+ผลตอบแทนการลงทุน + เงินสมทบ+ผลตอบแทนการลงทุน
วิธีจ่ายเงินคืน
- เงินก้อนจ่ายครั้งเดียว *จ่ายให้ผู้รับผลประโยชน์ที่สมาชิกแจ้งไว้กับ กอช.
กรณีลาออกก่อนอายุ 60 ปี
(หากอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ หรืออยู่ในเงื่อนไข กลับมาสมัครเป็นยมาชิก กอช. ได้)
รายละเอียด/เอกสาร
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (กรณีเลือกการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร)
เงินที่ได้รับ
- เงินออมสะสม+ผลตอบแทนการลงทุน *การลาออกก่อนจะได้รับเงินคืนในครั้งเดียว ซึ่งอาจจะขาดทุน หรือกำไร ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การลงทุนในขณะนั้น
วิธีจ่ายเงินคืน
- เงินก้อนจ่ายครั้งเดียว *ผลตอบแทนของเงินออมสะสมไม่ได้รับการค้ำประกัน
ช่องทางการติดต่อหน่วยบริการ
- กอช.
- E-mail: Member.service@nsf.or.th
- Line : @nsf.th
- ที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ
- ธ.ก.ส.
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกรุงไทย
- ธอส.
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- สำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศ
- สถาบันการเงินชุมชนที่เข้าร่วม
- เครือข่ายรับสมัครทั่วประเทศ
ช่องทางการรับเงิน
- พร้อมเพย์ (เลขบัตรประจำตัวประชาชน)
- บัญชีธนาคาร
- ไปรษณีย์ธนาณัติ