ค่าเงินบาทวันนี้ 14 มิ.ย. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.76 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง

ค่าเงินบาทวันนี้ 14 มิ.ย. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.76 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง

ค่าเงินบาทวันนี้ 14 มิ.ย. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.76 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ค่าเงินบาทวันนี้ 14 มิ.ย. 67 เปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.76 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง จากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ระดับ 36.65 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.65-36.90 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าธนาคารกรุงไทย ระบุค่าเงินบาทวันนี้เปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.76 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง จากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ระดับ 36.65 บาทต่อดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนวันที่ผ่านมา ค่าเงินบาทผันผวนอ่อนค่าลง (แกว่งตัวในช่วง 36.60-36.78 บาทต่อดอลลาร์) โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นเร็วและแรง ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์และการพุ่งขึ้นของราคาทองคำ หลังรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ของสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม ได้ชะลอลงสู่ระดับ 2.2% น้อยกว่าที่ตลาดคาด ส่วนยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) ล่าสุดก็เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.42 แสนราย แย่กว่าที่ตลาดคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมามีความหวังว่า เฟดอาจทยอยลดดอกเบี้ยได้ราว 2 ครั้งในปีนี้ ทว่าเงินบาทก็พลิกกลับมาอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ตามการกลับมาแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ที่ยังได้แรงหนุนจากแรงซื้อของผู้เล่นในตลาด (Buy on Dip) หลังผู้เล่นในตลาดบางส่วนก็ยังคงกังวลต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ขณะเดียวกัน เงินยูโร (EUR) ก็ทยอยอ่อนค่าลงตามตลาดหุ้นยุโรป ท่ามกลางความกังวลสถานการณ์การเมืองในฝรั่งเศสและยุโรป ส่วนเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ก็ผันผวนอ่อนค่าลงบ้าง ในช่วงก่อนตลาดรับรู้ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) นอกจากนี้ เงินบาทยังถูกกดดันจากโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว หลังราคาทองคำเผชิญแรงขายต่อเนื่องและย่อตัวลงกว่า -20 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของบรรดาหุ้นเทคฯ นำโดย Nvidia +3.5% หลังรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ออกมาชะลอลงกว่าคาด ส่วนยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานล่าสุด ก็ออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคาดหวังว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยได้ราว 2 ครั้งในปีนี้ ทำให้โดยรวมดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวขึ้น +0.33% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.23%

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า ควรระวังความเสี่ยงที่เงินบาทอาจผันผวนอ่อนค่าลงต่อได้ ในช่วงตลาดทยอยรับรู้ผลการประชุม BOJ เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า BOJ จะส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้น ต่อแนวโน้มการทยอยใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น และอาจมีการประกาศทยอยปรับลดการเข้าซื้อบอนด์ ซึ่งหาก BOJ ไม่ได้ส่งสัญญาณดังกล่าว สวนทางกับความคาดหวังของตลาดก็อาจกดดันให้ เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) เสี่ยงที่จะผันผวนอ่อนค่าลงต่อทดสอบโซนแนวต้านแถว 158 เยนต่อดอลลาร์ ได้อีกครั้ง และการอ่อนค่าลงของเงินเยนญี่ปุ่นในช่วงนี้ ที่มาพร้อมกับช่วงเงินยูโร (EUR) ก็เผชิญแรงกดดันจากประเด็นการเมืองยุโรป ก็อาจเป็นปัจจัยที่ยังหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้ในระยะสั้น แม้ว่าผู้เล่นในตลาดจะเริ่มกลับมาเชื่อว่าเฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ราว 2 ครั้งในปีนี้ก็ตาม

นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำ รวมถึงฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่จะเป็นอีกปัจจัยสร้างความผันผวนให้กับเงินบาทในระยะนี้ อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า เงินบาทก็อาจยังไม่สามารถอ่อนค่าไปได้มากนัก และอาจยังติดอยู่ในโซนแนวต้านแถว 36.85-36.90 บาทต่อดอลลาร์ (แนวต้านถัดไป 37.00 บาทต่อดอลลาร์) ส่วนการแข็งค่าในช่วงนี้ก็อาจเป็นไปอย่างจำกัด ทำให้เงินบาทยังมีแนวรับแถวโซน 36.50-36.60 บาทต่อดอลลาร์

เราคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทยังมีโอกาสเคลื่อนไหวผันผวนไปตาม การเปลี่ยนแปลงไปมาของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางค่าเงินบาท อย่าง มุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ทำให้ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.65-36.90 บาทต่อดอลลาร์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook