อัปเดต เงินดิจิทัล 10,000 บาท ล่าสุด เช็กเงื่อนไข วันลงทะเบียน สินค้าต้องห้าม

อัปเดต เงินดิจิทัล 10,000 บาท ล่าสุด เช็กเงื่อนไข วันลงทะเบียน สินค้าต้องห้าม

อัปเดต เงินดิจิทัล 10,000 บาท ล่าสุด เช็กเงื่อนไข วันลงทะเบียน สินค้าต้องห้าม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อัปเดต แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ล่าสุด เช็กเงื่อนไข คุณสมบัติ วันลงทะเบียน และสินค้าที่ซื้อได้-ไม่ได้

หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตครั้งที่ 4/2567 เคาะสรุปโครงการทั้งเรื่องงบที่ใช้ดำเนินโครงการ เงื่อนไข คุณสมบัติ วันลงทะเบียน รวมถึงสินค้าต้องห้ามไปแล้วนั้น ซึ่งนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงรายละเอียดในเบื้องต้น โดย Sanook Money จะสรุปเป็นรายหัวข้อให้ชัดเจนดังนี้

เงินดิจิทัล 10,000 บาท กำหนดสิทธิกี่ล้านคน และใช้งบเท่าไหร่

นายจุลพันธ์ เผย จะไม่ใช้แหล่งเงินจากมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินและการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 ของธนาคารเพื่อการเกษจนและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพราะได้ดำเนินการตามข้อห่วงใยของหน่วยงานตรวจสอบ และไปดูแหล่งที่มาของกรอบวงเงินที่ตัวเลข 4.5 แสนล้านบาท และไม่ได้มีการปรับลดขนาดโครงการฯ ยังคงเป้าหมายประชาชนที่ 50 ล้านคนเช่นเดิม โดยจากการดำเนินโครงการของรัฐบาลในอดีต จะพบว่ามีผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 90% ฉะนั้น จึงต้องงบประมาณรองรับไว้ที่ 45 ล้านคน หรือคิดเป็นงบประมาณราว 4.5 แสนล้านบาท หากมีประชาชนมาลงทะเบียนน้อยกว่าหรือมากกว่า ก็จะใช้กลไกบริหารงบประมาณเพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอกับโครงการนี้

แหล่งที่มาของเงินที่จะใช้ดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต มาจากงบประมาณปี 2567 และปี 2568 มีดังนี้

  • งบประมาณปี 2567 ทั้งการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม วงเงิน 122,000 แสนล้านบาท และการบริหารจัดการงบประมาณอีก 43,000 ล้านบาท โดยไม่ใช่แค่งบกลางอย่างเดียว
  • งบประมาณปี 2568 วงเงิน 152,700 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณางบประมาณ และการบริหารจัดการงบประมาณอีก 132,300 ล้านบาท

เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท วันไหน?

นายกรัฐมนตรี ประกาศวันที่ 1 ส.ค. 67 เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต และแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ในไตรมาส 4 ปี 67

คุณสมบัติผู้มีสิทธิลงทะเบียน

  • อายุ 16 ปี จะต้องมีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 67
  • เงินฝากกำหนดไม่เกิน 500,000 บาท นับยอดบัญชีเงินฝากถึงวันที่ 31 มี.ค. 67 ที่ผ่านมา โดยเงินฝากดังกล่าว ต้องเป็นเงินฝากสกุลเงินบาท ในธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐเท่านั้น ไม่นับรวมสลากออมทรัพย์
    • แม้จะเป็นเงินที่พ่อแม่ออมให้ลูกก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ เพราะเป็นผู้มีรายได้ อีกทั้งเกณฑ์เงินฝากในบัญชีระบุไว้ชัดเจนว่า หากเกิน 500,000 บาท ถูกตัดสิทธิ
  • รายได้ไม่เกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี วัดจากฐานข้อมูลเงินได้ของกรมสรรพากร ณ ปี 2566 ซึ่งสิ้นสุดไปแล้วเมื่อ 31 ธ.ค. 66 และนับรวมทุกรายได้ที่ยื่นในระบบภาษี (เงินเดือน, ค่าจ้าง, ค่างานฟรีแลนซ์, ค่ารับเหมา, ค่าเช่า, ดอกเบี้ย ปันผล, รายได้ลิขสิทธิ์ต่าง ๆ)

คนเก่า-ร้านค้า ที่เคยร่วมโครงการของรัฐ มี 2 กลุ่มโดนตัดสิทธิแล้ว

นายจุลพันธ์ เผยประชาชนรวมถึงร้านค้าที่เคยเข้าร่วมโครงการของรัฐ มี 2 กลุ่มที่ถูกตัดสิทธิทันที คือ กลุ่มคนที่เคยกระทำความผิดเงื่อนไข ทุจริตในโครงการของรัฐในอดีต กลุ่มคนที่เคยมีเรื่องการถูกฟ้องร้องเรียกเงินคืนในอดีต มีอยู่ราว 10,000 ราย ถูกตัดออกไป

เงินดิจิทัล 10,000 บาท ใช้จ่ายผ่านแอปฯ ไหน?

ใช้จ่ายผ่านแอปฯ ทางรัฐ โดยสามารถดาวน์โหลด ลงทะเบียนแอปฯ ทางรัฐได้ทั้ง App Store และ Play Store และเข้าไปยืนยันตัวตน โดยมีวิธีง่ายๆ ดังนี้

  • ดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ
  • เปิดแอปฯ ทางรัฐ แล้วเลือก สมัครสมาชิก
  • สแกนบัตรประชาชน และ ใบหน้าของผู้ใช้งาน
  • ระบุบัญชีผู้ใช้ และ รหัสผ่านเพื่อเริ่มใช้งาน

ประเภทสินค้าที่สามารถขายในโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ เป็นต้น
  • เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก กะปิ น้ำปลา ซอสปรุงรส เป็นต้น
  • ยารักษาโรค เช่น ยาแก้ไข ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น
  • ธูปเทียนและเครื่องสักการะ ชุดถวายสังฆทาน เป็นต้น
  • สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแบบนักเรียน เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เป็นต้น
  • สินค้าวัตถุดิบเพื่อการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์พืช เป็นต้น
  • สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผักสด ผลไม้ อาหารสด เครื่องจักสาน เป็นต้น

สินค้าประเภทไหน ที่ไม่ร่วม "เงินดิจิทัล 10,000 บาท"

  • สลากกินแบ่งรัฐบาล
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ยาสูบ
  • กัญชา
  • กระท่อม
  • พืชกระท่อม
  • ผลิตภัณฑ์กัญชา-กระท่อม
  • บัตรกำนัล
  • บัตรเงินสด
  • ทองคำ
  • เพชร
  • พลอย
  • อัญมณี
  • น้ำมันเชื้อเพลิง
  • ก๊าซธรรมชาติ
  • ร้านทำผม
  • ร้านนวด
  • ร้านเสริมสวย

ส่วนโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน เครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้จัดทำซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป แต่มีโอกาสที่จะจัดอยู่ใน Negative List รวมถึงที่ประชุมบอร์ดดิจิทัลชุดใหญ่ได้กล่าวถึงกลุ่มอาวุธปืน อาวุธยุทโธปกรณ์ ให้กระทรวงพาณิชย์นำไปพิจารณาด้วย

คุณสมบัติร้านค้าที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT)
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT)

เงินดิจิทัล 10,000 บาท ร้านค้าร่วมดิจิทัลวอลเล็ต ขายของได้กี่วันถึงจะได้เงินสด

  • ประชาชนใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้อของในร้านค้าสะดวกซื้อ ร้านค้าขนาดเล็กในชุมชนที่ร่วมโครงการในเขตอำเภอตนเอง 878 แห่ง
  • ร้านค้าขนาดเล็ก ร้านสะดวกซื้อ (คนที่ 1 รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท จากผู้ใช้สิทธิมา) แต่ไม่สามารถขึ้นเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้ทันที
  • ร้านค้า (คนที่ 1) ต้องนำเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่ได้จากผู้ใช้สิทธิไปซื้อสินค้าต่อจากพ่อค้าคนที่ 2 ในทุกขนาดร้านค้า
  • ร้านค้า (คนที่ 3) ที่รับเงินดิจิทัล 10,00 บาท ที่อยู่ในระบบภาษี และภาษีนิติบุคคล นำเงินดิจิทัลที่ได้ทั้งหมดไปขึ้นเงินสดได้

ซึ่งการใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท สอดคล้องกับที่นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุไว้ว่า ร้านค้าไม่สามารถกดเงินสดได้ทันทีหลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถกดเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook