เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท เริ่มพรุ่งนี้ 1 ส.ค 67 ผ่านแอปทางรัฐ
เปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เริ่มพรุ่งนี้ 1 ส.ค.-15 ก.ย. 67 ไม่จำกัดจำนวน สรุปทุกอย่างไว้ที่นี่
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุถึงการ ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ว่าร้านค้า รวมถึงผู้ที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องมีคุณสมบัติ และเงื่อนไขตรงตามที่กำหนดไว้
โดยรัฐบาล เปิดให้ ลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 โดยผู้ที่มีสมาร์ตโฟน สามารถดาวน์โหลดแอปและลงทะเบียนได้ทันที
ผู้ที่ไม่มีสมาร์ตโฟนหรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในการลงทะเบียน รัฐบาลได้จัดตั้งจุดบริการ (Walk-in) จำนวน 5,199 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงศูนย์ดิจิทัลชุมชน ที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
เงินดิจิทัลใครได้บ้าง?
- ประชากรที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
- สัญชาติไทย
- มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน (15 กันยายน 2567)
- ไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566
- ไม่เป็นผู้ที่มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันเกิน 500,000 บาท
- ตรวจสอบข้อมูลเงินฝาก 6 ประเภท ได้แก่
- เงินฝากกระแสรายวัน
- เงินฝากออมทรัพย์
- เงินฝากประจำ
- บัตรเงินฝาก
- ใบรับเงินฝาก
- ผลิตภัณฑ์เงินฝากในชื่อเรียกอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกับข้อ (1) – (5)
เงินฝากดังกล่าวให้หมายความถึงเฉพาะเงินฝากที่อยู่ในรูปสกุลเงินบาทเท่านั้น และไม่รวมถึงเงินฝากในบัญชีร่วม และเป็นเงินฝาก ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567
- ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกในเรือนจำ
- ไม่เป็นผู้ที่ถูกระงับสิทธิหรือถูกเรียกเงินคืนในมาตรการ-โครงการอื่นๆ ของรัฐ
- ไม่เป็นผู้ฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการ-โครงการอื่นๆ ของรัฐ
ลงทะเบียนเงินดิจิทัลวันไหน ?
- ประชาชนทั่วไปที่มีสมาร์ทโฟน
- ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" วันที่ 1 สิงหาคม - 15 กันยายน 2567
-
ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม รัฐบาลคาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วม 45-50 ล้านคน
- ประชาชนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน
- ลงทะเบียนและยืนยันตัวตนผ่านจุดบริการที่กำหนด วันที่ 16 กันยายน - 15 ตุลาคม 2567
- มีการตรวจสอบคุณสมบัติและสถานะบุคคลตามทะเบียนบ้านเช่นเดียวกับกลุ่มที่มีสมาร์ทโฟน
-
ใช้สิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งอาจซับซ้อนกว่าการใช้สมาร์ทโฟน
- ร้านค้าและบริการ
-
ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการสามารถลงทะเบียนผ่านช่องทางที่กำหนดโดยรัฐ
-
- เช็กพิกัด ลงทะเบียนเงินดิจิทัล สำหรับคนไม่มีโทรศัพท์ 5,000 จุดทั่วไทยได้ที่นี่
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ต้องลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาทมั้ย หรือได้สิทธิทันที
ขั้นตอนยืนยันตัวตน ผ่านแอปทางรัฐ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ
-
การยืนยันตัวตน และ ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเงินดิจิทัล (คนใหม่)
- ดำเนินการผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม - 15 กันยายน 2567
-
ยืนยันตัวตนและลงทะเบียนในช่วงเวลานี้จะเป็นขั้นตอนที่ครบถ้วน
-
ทำการยืนยันตัวตน (KYC) ก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2567 แล้ว
- ผู้ที่ยืนยันตัวตนผ่านแอป "ทางรัฐ" มาก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2567
- ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 15 กันยายน 2567 ให้เปิดแอป "ทางรัฐ" และเข้าสู่ระบบ
- กดปุ่มลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิตามโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
การยืนยันตัวตนล่วงหน้าเพียงแค่เตรียมความพร้อม แต่การลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิตามโครงการจะต้องดำเนินการในช่วงวันที่ 1 สิงหาคม - 15 กันยายน 2567 เท่านั้น
- ปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตวันไหน
- รวม 6 วิธียืนยันตัวตนแอปทางรัฐ รอรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ขั้นตอนลงทะเบียนเงินดิจิทัล แอปทางรัฐ มี 12 ขั้นตอน (คนใหม่) ดังนี้
-
ดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ จาก App Store (คลิก) และ Google Play (คลิก)
-
เปิดแอปและกด "สมัครสมาชิก/เข้าสู่ระบบ"
-
กด "สมัครสมาชิก"
-
กด "สมัครด้วยบัตรประชาชน" บนแอป
-
อ่านข้อกำหนดและกด "ฉันยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข" แล้วกด "ยอมรับ"
-
อ่านข้อแนะนำ และ กดปุ่ม ถ่ายรูปบัตรประชาชน
-
กรอก เลขบัตรประชาชน เลขหลังบัตร ชื่อ-นามสกุล วันเกิด และตรวจสอบให้ถูกต้อง แล้วกด ยืนยันตัวตน
-
อ่านข้อแนะนำ และ เริ่ม สแกนใบหน้า
-
กำหนด ชื่อบัญชีผู้ใช้ และ รหัสผ่าน แล้วกด ยืนยัน
-
ตั้งค่า PIN Code 6 หลักและ กด ยืนยัน อีกครั้ง
-
กด "ใช้งาน" เพื่อเปิดใช้งานการสแกนใบหน้า
-
กด "เริ่มใช้งาน" และเตรียมพร้อมรอติดตามประกาศวันกดยืนยันขอรับสิทธิจากรัฐบาล
ดังนั้น จึงขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนเตรียมการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” และทำการยืนยันตัวตนล่วงหน้าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ได้โดยตรงจากแอปพลิเคชัน “App Store” สำหรับระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) และแอปพลิเคชัน “Google Play” สำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) บนโทรศัพท์สมาร์ตโฟน
เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้ออะไรได้บ้าง ?
หลังจากที่รัฐบาลประกาศโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ผู้มีสิทธิ์สามารถลงทะเบียนผ่านแอปฯ ทางรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 สำหรับสินค้าและบริการที่สามารถซื้อได้ด้วยเงินดิจิทัล 10,000 บาท มีดังนี้
- สินค้าอุปโภคบริโภค : ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารสด เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ยารักษาโรค
- ของใช้ในบ้าน : สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก กะปิ น้ำปลา ซอสปรุงรส
- สินค้าเพื่อการศึกษา : เครื่องแบบนักเรียน เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ
- วัตถุดิบการเกษตร : ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์พืช
- สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน : ผักสด ผลไม้ อาหารสด เครื่องจักสาน
- เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้อ โทรศัพท์มือถือได้ไหม คลังตอบแล้ว
- เงินดิจิทัลซื้ออะไรได้บ้าง? สินค้า-บริการ ที่ซื้อได้และไม่ได้ด้วยเงินดิจิทัล 10,000 บาท
สินค้าประเภทไหน ที่ไม่ร่วม เงินดิจิทัล 10,000 บาท
- สลากกินแบ่งรัฐบาล
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- กัญชา
- กระท่อม
- พืชกระท่อม
- ผลิตภัณฑ์จากกัญชาและกระท่อม
- บัตรกํานัล
- บัตรเงินสด
- ทองคํา
- เพชร
- พลอย
- อัญมณี
- น้ำมันเชื้อเพลิง
- ก๊าซธรรมชาติ
- เครื่องใช้ไฟฟ้า
- อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- เครื่องมือสื่อสาร
อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์อาจพิจารณาแก้ไขปรับปรุงรายการสินค้า Negative List เพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ การใช้จ่ายภายใต้โครงการฯ จะไม่รวมถึงบริการต่าง ๆ
การลงทะเบียนร้านค้า
- วันที่ 1 ตุลาคม 2567
- จะมีการแถลงข่าวเพิ่มเติมเพื่อแจ้งเกี่ยวกับคุณสมบัติของร้านค้า ช่องทางและวิธีการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ และเงื่อนไขอื่นๆ ให้ทราบต่อไป
การใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท
-
เริ่มใช้จ่ายในไตรมาส 4 ของปี 2567
- แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท คลังบอกแล้ว เงินเข้าดิจิทัลวอลเล็ต แอปฯ ทางรัฐเมื่อไหร่
เงื่อนไขการใช้จ่าย ประชาชนกับร้านค้า
ประชาชนจะสามารถใช้จ่ายได้กับร้านค้า ขนาดเล็ก รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น และในการซื้อสินค้า หากประชาชนมีที่อยู่ตามทะเบียนบ้านในอำเภอใด ก็ต้องซื้อสินค้าจากร้านค้าในอำเภอเดียวกันเท่านั้น และต้องซื้อขายแบบพบหน้า (Face to Face) ซึ่งคำว่าซื้อขายแบบพบหน้านี้ จะมีการตรวจสอบ
-
ที่อยู่ของร้านค้าตามที่ลงทะเบียนโครงการฯ
-
ที่อยู่ของประชาชนตามทะเบียนบ้านในขณะที่ลงทะเบียนโครงการฯ
- พิกัดที่อยู่ของประชาชนในขณะที่ใช้จ่ายกับร้านค้าต้องอยู่ในเขตอำเภอเดียวกัน การชำระเงินจึงจะสมบูรณ์
ร้านค้ากับร้านค้า
ร้านค้าทุกประเภทสามารถซื้อขายสินค้าระหว่างกันได้ และไม่มีการกำหนดเงื่อนไขว่าต้องเป็นการซื้อขายแบบพบหน้า (Face to Face) จึงซื้อขายสินค้าระหว่างกันได้แม้จะอยู่ต่างพื้นที่
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ นำเสนอรายละเอียดต่างๆ ของโครงการฯ ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในเดือนกรกฎาคม 2567
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเงินดิจิทัล ได้ที่เว็บไซต์ www.digitalwallet.go.th หรือพิมพ์เป็นภาษาไทยว่า www.กระเป๋าเงินดิจิทัล.รัฐบาล.ไทย หรือสามารถสอบถามผ่านศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (Call Center) สายด่วน โทร. 1111 ซึ่งพร้อมให้บริการและคำแนะนำปรึกษาแก่ประชาชนแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป