วิธีใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ระหว่างประชาชน-ร้านค้า

วิธีใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ระหว่างประชาชน-ร้านค้า

วิธีใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ระหว่างประชาชน-ร้านค้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิธีใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ระหว่างประชาชน-ร้านค้า ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุถึงการใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตว่า เมื่อประชาชนได้รับสิทธิจากการลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาทแล้ว สามารถใช้จ่ายกับร้านค้า และผู้ประกอบการในพื้นที่ระดับอำเภอทั่วประเทศ 878 อำเภอ ดังนี้

เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท

การจ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะต้องเป็นแบบพบหน้า หรือ Face to Face ซึ่งจะต้องตรวจสอบจาก

  1. ที่อยู่ของร้านค้าเป็นไปตามที่ลงทะเบียนไว้กับโครงการฯ และ
  2. ที่อยู่ของประชาชนที่ใช้สิทธิตามทะเบียนบ้านในขณะที่ลงทะเบียนโครงการฯ
  3. ขณะที่ใช้จ่ายกับร้านค้า ต้องอยู่ในเขตอำเภอเดียวกัน การชำระเงินจึงจะสมบูรณ์

วิธีใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ระหว่างประชาชน-ผู้ประกอบการร้านค้า

  1. ประชาชนจะต้องใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก ไม่รวมนับห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น
  2. ร้านค้าไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันที หลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่รอบที่ 2 เป็นต้นไป

วิธีใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ทำได้ดังนี้

รอบที่ 1 ใช้จ่ายระหว่างประชาชน-ร้านค้าขนาดเล็กจนถึงร้านค้าสะดวกซื้อขนาดเล็ก

  • ประชาชนต้องชำระค่าสินค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์บนแอปพลิเคชั่นของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้า ที่มีลักษณะเข้าข่ายเป็นร้านค้าขนาดเล็กจนถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
  • ต้องมีการซื้อ-ขายสินค้ากันจริง
  • เป็นการใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) โดยประชาชนต้องมีที่อยู่ในทะเบียนบ้านในอำเภอเดียวกันกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการร้านค้าขนาดเล็ก
  • การซื้อ-ขายสินค้า ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีการทำธุรกรรมซื้อขายและสแกน QR Code เพื่อชำระค่าสินค้ากันแบบพบหน้า (face-to-face) และไม่มีกระบวนการใดๆ ในการซื้อขายที่ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ หรือผ่านคนกลาง ไม่ว่าด้วยวิธีการใด และไม่ให้ทำซ้ำ ส่งต่อหรือวิธีการอื่นใดกับ QR Code ในแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมแบบพบหน้าดังกล่าว

รอบที่ 2 เป็นต้นไป เป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า

  • ผู้ประกอบการร้านค้าต้องชำระค่าสินค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์บนแอปพลิเคชันของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าอีกแห่งหนึ่ง
  • ต้องมีการซื้อ-ขายสินค้ากันจริง

ร้านค้าที่จะสามารถถอนเงินสดได้ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1.ร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีที่สามารถถอนเงินสดจากโครงการฯ ได้แก่

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

เว้นแต่ร้านค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากร โดยร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีข้างต้นต้องมีการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษี ดังนี้

  1. กรณีร้านค้าที่ประกอบกิจการตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป จะต้องเป็น ผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคล หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ในปี 2565 และ 2566 ติดต่อกัน 2 ปี
  2. กรณีร้านค้าที่ประกอบกิจการน้อยกว่า 2 ปี จะต้องเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ติดต่อกันตั้งแต่เริ่ม ประกอบกิจการจนถึงปัจจุบัน
  3. ร้านค้าใหม่ที่ยังไม่ครบกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ในปีภาษีแรกหรือรอบระยะเวลา บัญชีแรกจะพิจารณาจากการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น


ทั้งนี้ ร้านค้าต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์แบบรายเดือนในการลงทะเบียนรับสิทธิ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook