จ่ายเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ได้ค่าเสียหายอะไรบ้าง เช็กหลักเกณฑ์-เงื่อนไขที่นี่

จ่ายเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ได้ค่าเสียหายอะไรบ้าง เช็กหลักเกณฑ์-เงื่อนไขที่นี่

จ่ายเงินช่วยเหลือน้ำท่วม ได้ค่าเสียหายอะไรบ้าง เช็กหลักเกณฑ์-เงื่อนไขที่นี่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เช็กเงื่อนไข-หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยาน้ำท่วม ได้ค่าเสียหายอะไรบ้าง

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินเยียวยาน้ำท่วมนั้น มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563

ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาน้ำท่วม กำหนดไว้ภายใต้หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 มีสาระสำคัญดังนี้

ด้านการดำรงชีพ

กำหนดให้ดำเนินการช่วยเหลือเป็นสิ่งของหรือจ่ายเป็นเงิน โดยคำนึงถึง สภาพและเหตุการณ์ตามความเหมาะสม แบ่งเป็นด้านต่างๆ ดังนี้

1. ค่าอาหารจัดเลี้ยง วันละไม่เกิน 3 มื้อ มื้อละไม่เกิน 50 บาทต่อคน

2. ค่าถุงยังชีพ ชุดละไม่เกิน 700 บาทต่อครอบครัว

3. ค่าจัดซื้อ จัดหาน้ำสำหรับบริโภค และใช้สอยในที่อยู่อาศัย เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นจนกว่าเหตุการณ์ประสบภัยพิบัติจะเข้าสู่ภาวะปกติ

4. ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพเบื้องต้น กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังเท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,800 บาท

5. ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ ซึ่งผู้ประสบภัยพิบัติเป็นเจ้าของที่ได้รับความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริงหลังละไม่เกิน 49,500 บาท

6. ค่าวัสดุซ่อมแซม สร้างยุ้งข้าว โรงเรือนสำหรับเก็บพืชผล และคอกสัตว์ที่ได้รับความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 5,700 บาท

7. กรณีที่ผู้ประสบภัยพิบัติเช่าบ้านเรือนของผู้อื่น และบ้านเช่าเสียหายจากภัยพิบัติทั้งหลัง หรือเสียหายบางส่วนจนอยู่อาศัยไม่ได้ ให้ช่วยเหลือเป็นค่าเช่าบ้านแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ เท่าที่จ่ายจริงในอัตราครอบครัวละไม่เกินเดือนละ 1,800 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 เดือน

8. ค่าดัดแปลงสถานที่สำหรับเป็นที่พักชั่วคราว เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละ ไม่เกิน 2,500 บาท หรือค่าผ้าใบหรือผ้าพลาสติกหรือวัสดุอื่น ๆ สำหรับกันแดดกันฝน เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน 1,000 บาท

9. ค่าใช้จ่ายที่ส่วนราชการจัดหาสาธารณูปโภคในที่พักชั่วคราว

  • ค่าไฟฟ้า ให้เป็นไปตามที่การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคจะเรียกเก็บ สำหรับกรณีที่ท้องที่นั้นไม่มีไฟฟ้า ให้จัดอุปกรณ์แสงสว่างอื่น ๆ ทดแทนได้ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
  • จัดหาน้ำบริโภคและใช้สอยจากหน่วยงานที่จังหวัดและอำเภอมีอยู่ เช่น การประปาส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง หน่วยดับเพลิงเทศบาล เป็นต้น หรือจัดซื้ออุปกรณ์บรรจุน้ำ ตามความจำเป็นของจำนวนผู้ประสบภัยพิบัติ รวมทั้งการจัดซื้อเพื่อบริโภคใช้สอย เท่าที่จ่ายจริง ตามความจําเป็น
  • จัดสร้างหรือจัดหาห้องน้ำ ห้องส้วม 1 ที่ ต่อ 10 คน เท่าที่จ่ายจริง ตามความจําเป็น เฉลี่ยทีละไม่เกิน 1,700 บาท
  • จัดสร้างที่รองรับ ทำลาย หรือกำจัดขยะมูลฝอย เท่าที่จ่ายจริง

10.ค่าเครื่องนุ่งห่มที่ได้รับความเสียหายและไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก หรือมีความจำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีพ กรณีไม่มีเครื่องนุ่งห่มในการดำรงชีพขณะเกิดภัย รายละไม่เกิน 1,100 บาท

11.ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ และหรือเงินทุนสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ ที่เป็นอาชีพหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวของผู้ประสบภัยพิบัติ เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท

12.ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ

  • กรณีบาดเจ็บสาหัสที่ต้องรักษาในสถานพยาบาลติดต่อกัน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นเงินจำนวน 4,000 บาท
  • กรณีบาดเจ็บจนถึงขั้นพิการไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้ ให้ช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นเงินจำนวน 13,300 บาท
  • กรณีภัยพิบัติที่เป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่หรือรุนแรงเป็นที่สะเทือนขวัญ ของประชาชนทั่วไป ให้จ่ายเงินและหรือสิ่งของปลอบขวัญผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่รักษาตัวในสถานพยาบาล รายละไม่เกิน 2,300 บาท

13.ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 29,700 บาท และในกรณี ผู้ประสบภัยที่เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเป็นผู้หารายได้เลี้ยงดูครอบครัว ให้พิจารณาช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ครอบครัวอีกไม่เกิน 29,700 บาท

14.กรณีอากาศหนาวจัดผิดปกติมีอุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส และมีช่วงเวลาอากาศหนาวยาวนานติดต่อกันเกิน 3 วัน ให้จ่ายค่าจัดซื้อเครื่องกันหนาวสงเคราะห์ประชาชนได้ เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 300 บาท ทั้งนี้ จังหวัดหนึ่งไม่เกินงบประมาณปีละ 1.2 ล้านบาท

15.ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร ที่สูญหายหรือได้รับความเสียหายและไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท

16.ค่าเครื่องนอน ที่สูญหายหรือได้รับความเสียหายและไม่สามารถ นำกลับมาใช้ได้อีก หรือมีความจำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีพกรณีไม่มีเครื่องนอนในการดำรงชีพขณะเกิดภัย เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 1,000 บาท

ด้านสังคมสงเคราะห์

การช่วยเหลือเยียวยาน้ำท่วม ด้านสังคมสงเคราะห์ ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ โดยจัดโครงการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพระยะสั้นเฉพาะพื้นที่ประสบภัยพิบัติแก่ผู้ประสบภัย เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวในภาวะวิกฤต โดยให้เบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดังนี้

  • ค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์การฝึกอาชีพ เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 2,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายตอบแทนวิทยากร วันละไม่เกิน 500 บาท ไม่เกิน 10 วัน
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปฏิบัติการฝึกอบรม เท่าที่จ่ายจริงภายในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท
  • เงินทุนประกอบอาชีพที่ได้รับการฝึกอบรม เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 4,000 บาท

ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข

การช่วยเหลือเยียวยาน้ำท่วม ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ดังนี้

1. จัดหาวัสดุ เคมีภัณฑ์ อาหาร และเวชภัณฑ์ สำหรับแจกจ่ายประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคน้ำและอาหารที่ปลอดภัย ดังนี้

  • ค่าวัสดุ เคมีภัณฑ์ สำหรับไปทำความสะอาดบ่อน้ำตื้นของประชาชนบ่อน้ำละไม่เกิน 250 บาท
  • ค่าน้ำดื่มแก่ครอบครัวที่ขาดแคลนน้ำสะอาดบริโภค ครอบครัวละไม่เกิน 200 บาท
  • ค่าอาหารเสริมโปรตีน และอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแก่ประชาชนผู้ประสบภัย เพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ครอบครัวละไม่เกิน 570 บาท
  • ค่าวัสดุ เคมีภัณฑ์ สำหรับแจกจ่ายประชาชน เพื่อการปรับปรุงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลครัวเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 250 บาท
  • ค่ายาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัย (4 รายการ) ราคาตามบัญชีราคา สำหรับหน่วยงานราชการ องค์การเภสัชกรรม

2. จัดหาวัสดุ เคมีภัณฑ์ วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำหรับไปปฏิบัติงาน ช่วยเหลือประชาชน ปรับปรุงสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการควบคุมป้องกันโรคได้ เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นและเหมาะสม ดังนี้

  • ค่ายาและเวชภัณฑ์ สำหรับการรักษาพยาบาลหรือป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
  • ค่าวัสดุทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อในคน
  • ค่าวัสดุและชุดทดสอบทางห้องปฏิบัติการในน้ำ อาหาร และอากาศ
  • ค่าตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อในคน
  • ค่าตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในน้ำ อาหาร และอากาศ

3.จัดหาวัสดุควบคุมและป้องกันโรคระบาดในภาวะภัยพิบัติ จัดหายาและเวชภัณฑ์ สำหรับไปปฏิบัติงาน การควบคุมป้องกันโรคและการปฏิบัติการด้านการแพทย์เพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาวะ ภัยพิบัติ ได้แก่ ค่าวัสดุเก็บตัวอย่าง น้ำยา และสารเคมีในการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นและเหมาะสม

ด้านการเกษตร

ให้ดำเนินการช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยภัยพิที่ขึ้นทะเบียน และปรับปรุงทะเบียนกับหน่วยงานที่กำกับดูแลแต่ละด้านของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อนเกิดภัยพิบัติแล้วเท่านั้น โดยเบิกจ่ายได้ ดังนี้

1.ด้านพืช

ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ตาย หรือเสียหายตามจำนวนพื้นที่ทำการเกษตรจริงที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ โดยคิดจากต้นทุน การผลิตเฉลี่ย ดังนี้

  • กรณีพืชอายุสั้นเสียหาย ให้ช่วยเหลือต้นทุนการผลิตเฉลี่ย เฉพาะรายการค่าวัสดุ
  • กรณีไม้ผล ไม้ยืนต้นเสียหาย ให้ช่วยเหลือต้นทุนการผลิตเฉลี่ย เฉพาะรายการค่าวัสดุและต้นทุนเฉลี่ยก่อนให้ผลผลิต
  • กรณีพื้นที่ทำการเพาะปลูกได้ถูกหิน ดิน ดิน ทราย ไม้ โคลน รวมทั้งซากวัสดุทุกชนิดทับถมจนไม่สามารถใช้เพาะปลูกได้ และหน่วยงานของรัฐไม่สามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือ กรณีดังกล่าวได้ ให้ช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายในการชุดลอก ขนย้ายหิน ดิน ทราย ไม้ โคลน รวมทั้งซากวัสดุ ที่ทับถมพื้นที่แปลงเกษตรกรรม เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่เพื่อการเพาะปลูกพืชได้ในขนาดพื้นที่ไม่เกิน 5 ไร่
  • กรณีประชาชนมีความจำเป็นต้องขนย้ายปัจจัยการผลิตและผลผลิต ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ให้ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการขนย้ายปัจจัยการผลิตและผลผลิต ในอัตราร้อยละ 50 ของปัจจัยการผลิตและผลผลิตของเกษตรกรที่ดำเนินการขนย้าย

2.ด้านประมง ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบกัยที่สัตว์น้ำตายหรือสูญหาย โดยสนับสนุน พันธุ์สัตว์น้ำ อาหารสัตว์น้ำ วัสดุทททางการประมง ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

3.ด้านปศุสัตว์

  • ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีที่เป็นการจัดหาอาหารสัตว์ วัคซีนและเวชภัณฑ์รักษาสัตว์ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพสัตว์เลี้ยงและจัดหาอาหารสัตว์ตามราคาห้องตลาดหรือตามความจำเป็นและเหมาะสม
  • ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สัตว์ตายหรือสูญหาย หรือแปลงหญ้าอาหารสัตว์เสียหายได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

4.ด้านการเกษตรอื่น

  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปรับเกลี่ยพื้นที่ การไถพรวน ยกร่อง การก่อสร้างคันดิน เพื่อการเพาะปลูกพืชหรือประกอบกิจกรรมด้านการเกษตรที่เป็นการบรรเทาปัญหา ความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยพิบัติ
  • ค่าซ่อมแซมอาคารชลประทานและระบบชลประทาน ให้สามารถใช้งานใต้ในช่วงฉุกเฉิน โดยให้ดำเป็นการใต้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการระบายน้ำ
  • ค่าจ้างเหมารถยนต์ ค่าระวางบรรทุกทางรถไฟและเรือบรรทุกของเอกชน เพื่อใช้ในการขนย้ายสัตว์เลี้ยงที่ประสบภัย และที่นำไปสนับสนุนหรือขนส่งพืชหญ้าอาหารสัตว์หรืออาหารสัตว์ ให้เบิกจ่ายดังนี้

(1) ค่าจ้างเหมารถยนต์และเรือบรรทุกของเอกชน ให้จ่ายเป็นรายวันตามราคาท้องถิ่น

(2) ค่าระวางบรรทุกทางรถไฟ ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook