เกษตรประจวบฯ จัดงานดี แต่ควรหนุนเกษตรกร ดันสินค้าพื้นถิ่นสู่ soft power

เกษตรประจวบฯ จัดงานดี แต่ควรหนุนเกษตรกร ดันสินค้าพื้นถิ่นสู่ soft power

เกษตรประจวบฯ จัดงานดี แต่ควรหนุนเกษตรกร ดันสินค้าพื้นถิ่นสู่ soft power
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

cd8624c1-9de0-4fe7-a36b-235d1

จบลงไปแล้วสำหรับงานนิทรรศการและแสดงสินค้าพืชอัตลักษณ์พื้นถิ่น ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 - 27 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา ณ ลานหน้าศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ อำเภอ หัวหิน โดยมีนายคมกริช เจริญพัฒนสมบัติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานเปิดงาน และเยี่ยมชมร้านค้าต่างๆพร้อมพูดคุยกับเกษตรกรอย่างเป็นกันเอง ซึ่งมีตัวแทนเกษตรกรในหลายอำเภอของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เข้าร่วมงานราว 30 ร้านค้า หนึ่งในนั้นมีเกษตรกรอินทรีย์ คนดัง นางบุญยืน กิไพโรจน์ คุณแม่อดีต ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ทีวีช่องดัง (ตอนนี้ผันตัวมาดูแลภาพลักษณ์ให้กับคนดังแวดวงเศรษฐกิจ การเมือง และ ศิลปิน) ซึ่งนางบุญยืนยังเป็นเครือข่ายของพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ พกฉ. มาร่วมงานนี้ด้วย

4e8a29a7-7144-4bc4-b7d7-075c1

นางบุญยืน กิไพโรจน์ เกษตรกรอินทรีย์ ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูป พืชสวน ไร่นา และ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมะพร้าวทุกประเภท ของ “ วิสาหกิจชุมชนแม่ทวดเกษตรอินทรีย์ทฤษฎีใหม่” ต.นาหูกวาง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ บอกว่า ตลอดการจัดงาน 5 วัน เกษตรกรหลายคนที่ร่วมงาน รายได้ไม่พอรายจ่าย ไหนจะค่ากินรายวัน ค่าที่พัก ค่าน้ำมัน จึงอยากฝากถึงเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถึงการบริหารจัดการงาน หากบริหารจัดการงานให้มีประสิทธิภาพมากว่านี้ เชื่อว่าในปีหน้า งานนิทรรศการและแสดงสินค้าพืชอัตลักษณ์พื้นถิ่น จะกลายเป็นงานที่ช่วยเหลือเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้มีพื้นที่กระจายสินค้า สร้างรายได้ สร้างงานให้กับคนในชุมชนในอำเภอต่างๆ ช่วยกระจายรายได้ลงสู่ชุมชนอย่างแท้จริง ตามนโยบายของภาครัฐทุกยุคทุกสมัยที่ต้องการให้เกษตรกรทั่วประเทศมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก เพราะสถานที่จัดงานที่เลือกถือว่าเป็นสถานที่ ที่มีประสิทธิภาพมาก มาก อีกทั้งหัวหิน เป็นเมืองท่องเที่ยวถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการกระจายสินค้าชั้นยอด เป็น soft power ด้านสินค้าไทย สินค้าพื้นถิ่น ของดีประจำจังหวัด ทำให้นักท่องเที่ยวนานาประเทศทั่วโลกที่เดินทางมาท่องเที่ยวได้รู้จักกับสินค้าพื้นถิ่นของจังหวัดประจวบฯ นอกจากนี้ ทางเกษตรกรเองก็ต้องปรับปรุงในเรื่องสินค้า และ บรรจุภัณฑ์ รวมถึงการทำป้าย 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าใน อำเภอหัวหินด้วย

986d3257-3268-4150-9491-7c839

ทั้งนี้ นางบุญยืน ยังได้เล่าถึงที่มาที่ไปที่มาร่วมงานครั้งนี้ด้วยว่า จริงๆแล้วมาร่วมงานนี้เพราะอยากช่วยทางเกษตรจังหวัดประจวบฯ เนื่องจากที่ผ่านมา นายภูริทัต รัฐจักร์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การช่วยเหลือและให้คำแนะนำโครงการดีๆของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาด้วยดีตลอด จึงตกลงเข้าร่วมงานแม้ว่าไม่มีงบประมาณช่วยเหลือค่าน้ำมัน ค่ากิน และ ที่พัก ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมงานและอยู่ต่างอำเภอ ซึ่งอยู่ไกลจากตัวอำเภอหัวหิน และค่าครองชีพสูงเพราะเป็นเมืองท่องเที่ยว ตลอดการจัดงาน 5 วัน ระหว่างวันที่ 23-27 สิงหาคม แต่ด้วยที่แจ้งกระชั้นชิดจึงแจ้งข้อจำกัดกับนายภูริทัต ไปว่าสามารถเข้าร่วมงานได้เพียงวันที่ 23-25 สิงหาคม เท่านั้น เพราะลูกสาวและลูกเขยเดินทางมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา จึงอยากใช้เวลากับลูกและครอบครัว ซึ่งลูกๆต้องมาช่วยขายของภายในงานด้วย เนื่องจากตนเอง จำเป็นต้องเข้าร่วมอบรมทางวิชาการกับพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ พกฉ. ในวันที่ 24 สิงหาคม หากรับเงื่อนไขได้ก็พร้อมเข้าร่วมงานครั้งนี้

79057900-62c9-4ab2-b668-1e664

นางบุญยืน เล่าต่อว่า แม้ว่าเกษตรกรผู้เข้าร่วมงานจะถูกดึงเข้ากรุ๊ปไลน์ทำงาน ที่มีสมาชิกราว 30-40 คน แต่ระหว่างตระเตรียมสินค้าเพื่อมาจำหน่ายภายในงาน ในกรุ๊ปไลน์ เจ้าหน้าที่ส่งข้อมูล รายละเอียดดังนี้
อุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ให้พี่ๆ มีรายการดังนี้

  1. โต๊ะหน้าขาว 0.60 x 1.20 m จำนวน 1 ตัว
  2. เก้าอี้มีพนักพิง จำนวน 2 ตัว
  3. หลอดไฟ ภายในบูธ จำนวน 1 หลอด
  4. ปลั๊กไฟ ภายในบูธ จำนวน 1 จุด
  5. ผ้ากันเปื้อน พร้อม ป้ายประจำตัว จำนวน 2 ชิ้น
  6. บูธขนาด 1.5 x 1.5 m
  7. ป้ายชื่อร้าน จำนวน 1 ป้าย
  8. ผ้าปูโต๊ะ 1 ผืน

8d645956-1e01-4b6c-b2d8-2de88

ซึ่งมองว่าเจ้าหน้าที่ควรจะมีรายละเอียดต่างๆที่มากกว่านี้ อาทิ ข้อมูลการปฏิบัติหรือ ขั้นตอนการลงสินค้า จุดจอดรถ หรือแม้แต่ข้อมูลการจำหน่ายสินค้าในงานว่าควรนำสินค้าประเภทใดไปขายเพราะคำว่า พืชอัตลักษณ์พื้นถิ่น ก็จะทำให้สินค้าที่นำไปขายเหมือนๆกัน ควรจะมีการจัดสรรสินค้าแต่ละร้านเพื่อไม่ให้ขายสินค้าที่ซ้ำกันและขายตัดราคากันเอง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงตอนเข้าร่วมงาน และในวันที่ 23 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเปิดงานวันแรก ทางเจ้าหน้าที่เอารายละเอียด คู่มือการเข้าร่วมงาน สำหรับผู้ประกอบการ มาให้แบบเป็น paper ซึ่งจริงๆแล้วข้อมูลต่างๆเหล่านี้ ควรถึงมือเกษตรกรก่อนถึงวันงานจริง การบริหารจัดการงานที่ขาดประสิทธิภาพในหลายเรื่อง อาทิ ข้อมูลร้านน้ำแข็ง เบอร์โทรติดต่อ เกษตรกรที่เข้าร่วมงานหลายร้านขายน้ำ และมาจากต่างอำเภอ ต้องไปตามหาร้านน้ำแข็งเอง ส่วนสถานที่จัดงานมีการจัดงานหลายอย่างทับซ้อนในช่วงเวลาเดียวกัน ผนวกกับสถานที่จัดงานอยู่บริเวณภายนอกห้างสรรพสินค้า และ สภาพอากาศที่ร้อนจัด อีกทั้งในบริเวณจัดงานด้านนอกไม่ได้เตรียมพัดลมไอน้ำไว้บริการผู้ค้าและนักท่องเที่ยว หรือ ประชาชนที่มาเดินเที่ยวภายในบริเวณจึงทำให้คนเดินน้อยมาก หรือ แทบไม่มีคนเลย

0b4bcbac-62d7-46cc-941c-a262d

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook