เงินบำเหน็จตกทอด คืออะไร ทายาทราชการรับเงินได้กรณีไหนบ้าง
เงินบำเหน็จตกทอด คืออะไร ทายาทราชการรับเงินได้ในกรณีไหนบ้าง กรมบัญชีกลางเฉลยแล้ว
กรมบัญชีกลาง ได้ตอบข้อสงสัยเรื่อง เงินบำเหน็จตกทอดข้าราชการ ว่าด้วยการทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด พร้อมอธิบายถึงรายละเอียดที่น่าสนใจไว้ดังนี้
เงินบำเหน็จตกทอด คืออะไร
เงินที่ทางราชการจ่ายให้กับทายาทข้าราชการที่เสียชีวิตระหว่างประจำการ หรือผู้รับบำนาญที่ถึงแก้กรรมนั้น มิได้เกิดจากการประพฤติชั่วร้ายแรงของตนเอง เช่น ฆ่าตัวตายหนี้ความผิดอย่างร้ายแรง โทษทางอาญาจำคุก เป็นต้น
ผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด
- บุตร
- สามีภรรยา
- บิดามารดา ที่ยังมีชีวิตอยู่
กรณีไม่มีทายาท ลำดับที่ 1-3 แม้แต่คนเดียว ให้จ่ายให้กับบุคคลที่มีชื่อในหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด
กรณีไม่มีทายาท ลำดับที่ 1-3 และไม่มีบุคคลที่มีชื่อในหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด ให้เงินบำเหน็จตกทอด ตกเป้นของแผ่นดิน
การคำนวณบำเหน็จตกทอด
- กรณีข้าราชการเสียชีวิตระหว่างประจำการ ทายาทจะได้รับบำเหน็จตกทอด เท่ากับ เวลาราชการ x เงินเดือนเดือนสุดท้าย
- กรณีผู้รับบำนาญเสียชีวิต ทายาทจะได้รับบำเหน็จตกทอด เท่ากับ 30 เท่าของเงินบำนาญ
ถ้าไม่ทำหนังสือแสดงเจตนาผู้รับบำเหน็จตกทอด จะเป็นอะไรไหม
หากบุคคลเหล่านี้เสียชีวิตไปหมดแล้ว และข้าราชการ หรือผู้รับำนาญท่านั้นไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ สิทธิในบำเหน็จตกทอดจะเป็นอันยุติลง คือ ไม่มีใครสามารถขอรับเงินได้อีก
การทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด
- ข้าราชการ หรือผู้รับบำนาญ สามารถแจ้งกับนายทะเบียนต้นสังกัดของตัวเองได้ โดยกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนด และสามารถระบุจำนวนผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดได้
กรณีที่ระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้มากกว่า 1 คน ให้กำหนดส่วนที่จะมีสิทธิได้รับให้ชัดเจนด้วย เช่น
- นาย ก. ให้ได้รับ 1 ส่วน
- น.ส. ข. ให้ได้รับ 1 ส่วน
- เด็กหญิง ก. ให้ได้รับ 2 ส่วน
ดังนั้น หนังสือแสดงเจตนาจึงเหมือนเป็นการเพิ่มผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จตกทอดให้มากขึ้น และไม่ได้เป็นการตัดสิทธิสำหรับทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายที่ได้รับบำเหน็จตกทอดแต่อย่างใด