วิธีจ่ายหนี้ กยศ.-ขั้นตอนจ่ายผ่านการหักเงินเดือน เช็กที่นี่
เช็กวิธีจ่ายหนี้ กยศ. และช่องทางการจ่ายหนี้ พร้อมเผยขั้นตอนการชำระหนี้ผ่านการหักเงินเดือนที่ลูกหนี้ กยศ. ควรรู้
การแก้หนี้ จ่ายหนี้ กยศ. โดยใช้การคำนวณตาม พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 66 โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิม และอาจทำให้หนี้ลดลงราว 50% โดยลูกหนี้ กยศ. ทุกรายจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายใหม่ ที่เริ่มใช้เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 66 ที่ผ่านมา สำหรับช่องทาง และวิธีการชำระหนี้ กยศ. รวมถึงขั้นตอนการจ่ายหนี้ผ่านการหักเงินเดือนมีดังนี้
ช่องทางและวิธีการชำระหนี้ กยศ.
กยศ.จะมีหนังสือแจ้งภาระหนี้ครั้งแรกในปีที่ผู้กู้ยืมครบกำหนดชำระหนี้ โดยมีรายละเอียดของจำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือนหรือรายปีให้ผู้กู้ยืมทราบ หากผู้กู้ยืมไม่ได้หนังสือแจ้งภาระหนี้สามารถตรวจสอบยอดหนี้ที่ต้องชำระด้วยตนเองได้ทางแอปพลิเคชัน กยศ. Connect และเว็บไซต์ของ กยศ. นำเงินไปชำระได้ตามช่องทาง ดังนี้
ธนาคารกรุงไทย
- หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
- หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร (สามารถชำระเงินได้ 2 วิธี)
- ชำระด้วย Barcode
- แจ้งหมายเลขบัตรประชาชน
- ตู้เอทีเอ็ม
- แอปพลิเคชั่น Krungthai Next และแอปพลิเคชัน เป๋าตัง
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารทหารไทยธนชาต
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารกรุงเทพ
- ไปรษณีย์ไทย
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น) ยื่นบัตรประชาชน หรือแจ้งเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
การชำระหนี้ด้วย QR Code ผ่าน Mobile Banking
- เปิดและบันทึกภาพ QR Code จากแอปพลิเคชัน กยศ. Connect
- เปิดแอปพลิเคชันของทุกธนาคารที่มี Mobile Banking กด สแกนจ่าย > เลือกภาพ QR Code ที่บันทึกไว้ > ชำระเงิน
การชำระด้วยรหัสการชำระเงิน Barcode
แสดง Barcode ที่อยู่ในหนังสือแจ้งภาระหนี้ หรือพิมพ์จากระบบตรวจสอบยอดหนี้ทางเว็บไซต์ https://wsd.dsl.studentloan.or.th หรือแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” ใช้เพื่อชำระเงินผ่านหน่วยรับชำระ ดังต่อไปนี้
- ไปรษณีย์ไทย
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น) โดยยื่นบัตรประชาชน หรือแจ้งเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารทหารไทยธนชาต
- ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารกรุงเทพ
กรณีชำระด้วยเช็ค ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็ค
ให้สั่งจ่าย “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา บัญชีรับชำระหนี้ ชื่อ-นามสกุลผู้กู้ยืมเงิน หมายเลขบัตรประชาชนผู้กู้ยืมเงิน”
- ก่อนการนำฝากเช็ค ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็คทุกครั้ง ผู้กู้ยืมเงินจะต้องดาวน์โหลด QR Code หรือ Barcode ผ่าน Application “กยศ. Connect” หรือจากระบบ DSL … คลิก โดยระบุจำนวนเงินที่จะชำระให้ตรงกับยอดเงินหน้าเช็ค ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็ค พร้อมบันทึกภาพ หรือจัดพิมพ์ QR Code หรือ Barcode ภายในวันที่ไปชำระหนี้เท่านั้น
- ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้ด้วยเช็ค ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็ค ที่หน้าเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ก่อนเวลา 12.00 น. โดยแสดงภาพ QR Code หรือ Barcode
- เมื่อธนาคารกรุงไทยรับชำระหนี้จากผู้กู้ยืมเงินแล้ว ระบบจะดำเนินการลดยอดหนี้ให้ผู้กู้ยืมเงินโดยอัตโนมัติภายใน 3-5 วันทำการ (เมื่อวันที่เช็ค ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็คมีผลเรียบร้อยแล้ว) หมายเหตุ
*กรณีชำระหนี้เป็นเช็คที่มิใช่เช็คของธนาคารกรุงไทย อาจมีการเคลียร์ริ่งเช็คต่างธนาคาร ทำให้ยอดหนี้ที่ชำระไม่ครบถ้วน
การจ่ายหนี้ กยศ. โดยการหักเงินเดือน ผู้กู้ยืมที่สังกัดองค์กรนายจ้างภาครัฐและเอกชน
ผู้กู้ยืมมีหน้าที่
- แจ้งสถานะการเป็นผู้กู้ยืมเงินให้นายจ้างทราบ ภายใน 30 วัน
- ให้นายจ้างหักเงินเดือนตามจำนวนที่ กยศ. แจ้งเพื่อชำระเงินคืนกองทุน
ขั้นตอนการแจ้งหักเงินเดือน
- กยศ.ตรวจสอบข้อมูลผู้กู้ยืมจากผู้ถือครองข้อมูล ประกันสังคม/กรมบัญชีกลาง/กรมสรรพากร
- กยศ.ส่งหนังสือแจ้งผู้กู้ยืมก่อนที่นายจ้างจะหักเงินเดือน
- กยศ.ส่งหนังสือแจ้งนายจ้างให้หักเงินเดือนผู้กู้ยืม *การหักเงินเดือนจะเริ่มต่อเมื่อกองทุนได้แจ้งต่อนายจ้างอย่างเป็นทางการเท่านั้น
- นายจ้างหักเงินเดือนนำส่งกรมสรรพากร
ลำดับการหักเงินเดือน
- หักภาษี ณ ที่จ่าย
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ประกันสังคมกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
- เงินกู้ยืมกองทุน กยศ.