ประกันสังคม จ่อขยายฐานอายุผู้ประกันตน ม.33 เป็น 65 ปี

ประกันสังคม จ่อขยายฐานอายุผู้ประกันตน ม.33 เป็น 65 ปี

ประกันสังคม จ่อขยายฐานอายุผู้ประกันตน ม.33 เป็น 65 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประกันสังคม จ่อแก้กฎหมาย ขยายฐานอายุผู้ประกันตน ม.33 เป็นอายุ 65 ปี

เว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุภายหลังการเป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานประกันสังคม ครบรอบ 34 ปี เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 67 ว่า ได้มอบหมายการขับเคลื่อนงานประกันสังคมในปี 2568

โดยให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน ตามร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ... ได้แก่

ขยายฐานอายุผู้ประกันตนมาตรา 33 เป็นอายุ 65 ปี

ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39/1 เพื่อรับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี คือ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และตาย

  • กรณีผู้ประกันตนออกจากกงานจะได้สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรต่ออีก 6 เดือน
  • เพิ่มเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากเดิมในอัตรา 50% ของค่าจ้างเป็นเวลา 90 วัน เพิ่มเป็น 98 วัน
  • เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพเป็น 70% (เดิม 50%)
  • กรณีว่างงานให้ลูกจ้างที่มีอายุไม่เกิน 60 ปี มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจนเสร็จสิ้นก่อนแล้วจึงจะได้รับเงินกรณีชราภาพ

นอกจากนี้ นายพิพัฒน์ ยังได้กล่าวถึงมาตรการ 3 ขอ คือ

  • ขอเลือก ผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ สามารถเลือกรับเป็นเงินบำเหน็จ หรือบำนาญได้ ตามข้อกำหนด
  • ขอคืน กรณีเกิดภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตนอย่างร้ายแรง สามารถขอรับเงินชราภาพบางส่วนได้ก่อนอายุครบ 55 ปี ตามขอกำหนด
  • ขอกู้ ผู้ปรกันตนสามารถนำเงินชราภาพบางส่วน ใช้เป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม ตามข้อกำหนด

อีกทั้งสำนักงานประกันสังคม ยังได้มีการพัฒนาสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระมาตรา 40 ดังนี้

  • กรณีทุพพลภาพ ปรับเพิ่มสูงสุด 3,000 บาท คุ้มครองตลอดชีวิต
  • กรณีสงเคราะห์บุตร ปรับเพิ่มเป็นจำนวน 300 บาทต่อบุตร 1 คน สูงสุดไม่เกินคราวละ 2 คน อายุไม่เกิน 7 ปีบริบูรณ์
  • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้

(1) กรณีไม่ได้พักรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลและไม่มีความเห็นของแพทย์ ให้หยุดพักรักษาพยาบาล (ไป-กลับ) ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2 ปรับเป็นอัตราครั้งละ 200 บาท จำนวน 3 ครั้งต่อปี

(2) ผู้ประกันตนทั้ง 3 ทางเลือก สามารถรับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีที่แพทย์มีความเห็นให้หยุดพักรักษาพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป

ขณะนี้อยู่ระหว่างร่างกฎหมาย และเสนอตามขั้นตอนต่อไป ด้านนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการ สปส. ระบุ ปัจจุบันมีสถานประกอบการอยู่ในระบบประกันสังคมกว่า 526,000 แห่ง ลูกจ้างผู้ประกันตนอยู่ในความคุ้มครอง จำนวน 24.7 ล้านคน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook