จดทะเบียนสมรส เปิดข้อดี-ข้อเสีย ทางกฎหมาย-ทรัพย์สิน-มรดก ที่คู่ชีวิตจะได้รับ

จดทะเบียนสมรส เปิดข้อดี-ข้อเสีย ทางกฎหมาย-ทรัพย์สิน-มรดก ที่คู่ชีวิตจะได้รับ

จดทะเบียนสมรส เปิดข้อดี-ข้อเสีย ทางกฎหมาย-ทรัพย์สิน-มรดก ที่คู่ชีวิตจะได้รับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จดทะเบียนสมรส มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร เปรียบเทียบกันชัดๆ ในแง่กฎหมาย ทรัพย์สิน และมรดก ที่อีกฝ่ายจะได้รับและไม่ได้รับ

ทะเบียนสมรส เป็นเอกสารทางกฎหมายสำคัญที่อีกฝ่าย หรือคู่ชีวิตใช้เป็นหลักฐานยืนยันสิทธิ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามี และภรรยา ซึ่งก็มีคู่รักหลายคู่ที่เลือกใช้ชีวิตร่วมกัน ทั้งที่มีทะเบียนสมรส และไม่มีทะเบียนสมรส แต่ทราบหรือไม่ว่า การทะเบียนสมรส มีข้อได้เปรียบอย่างไรบ้าง Sanook Money มีข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์ SCB ที่มาเปิดเผยว่า การจดทะเบียนสมรส มีข้อดี-ข้อเสีย แตกต่างกันอย่างไร เราไปดูพร้อมๆ กัน

จดทะเบียนสมรส มีสิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย

  1. การอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
  2. สิทธิที่ภรรยาจะได้ใช้ชื่อสกุลสามี และเปลี่ยนสัญชาติตามสามีได้ (หรือไม่เปลี่ยนก็ได้)
  3. สิทธิที่จะได้รับมรดกหากอีกฝ่ายจากไปก่อน (เป็นทายาทโดยธรรมในการรับมรดก)
  4. สิทธิที่จะหึงหวงคู่สมรสอย่างถูกกฎหมาย ถ้ามีชู้ สามารถฟ้องร้องค่าเสียหายจากคู่สมรสและชู้ได้
  5. ถ้าหย่าร้าง มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดูได้
  6. มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือเอาผิดแทนกันได้
  7. มีสิทธิรับเงินสินไหม หรือเงินชดเชยจากราชการ กรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพ

ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส

  1. สิทธิตามกฎหมาย: คู่สมรสมีสิทธิในการเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน, ใช้นามสกุลของสามี หรือเปลี่ยนสัญชาติตามสามีได้, ได้รับมรดกเป็นทายาทโดยธรรม และฟ้องเรียกค่าเสียหายจากชู้ได้
  2. สิทธิในทรัพย์สิน: ทรัพย์สินที่ได้มาหลังแต่งงานถือเป็นสินสมรส และคู่สมรสมีสิทธิครึ่งหนึ่งในการจัดการทรัพย์สินดังกล่าว
  3. ผลต่อการดูแลบุตร: บุตรจะถูกกฎหมายของทั้งบิดาและมารดา รวมถึงสิทธิในการรับมรดกและสิทธิฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากทั้งสองฝ่าย
  4. สิทธิลดหย่อนภาษี: สามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี เช่น ลดหย่อนคู่สมรส, บิดามารดาของคู่สมรส และเลือกวิธีการยื่นแบบภาษีได้
  5. สิทธิจากกรมธรรม์ประกันชีวิต: เงินคืนหรือผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิตถือเป็นสินสมรส และหากคู่สมรสเป็นผู้รับผลประโยชน์ จะได้รับเงินประกันชีวิตเป็นสินส่วนตัว

ข้อเสียของการจดทะเบียนสมรส

  1. ความยุ่งยากในการทำนิติกรรม: คู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายในการจัดการทรัพย์สิน ทำให้บางครั้งการทำนิติกรรมเป็นเรื่องที่ต้องประสานงานกัน
  2. ผลกระทบทางหนี้สิน: หนี้สมรสสามารถเรียกใช้สินสมรสในการชำระหนี้ได้ หากไม่พออาจต้องใช้สินส่วนตัวของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย
  3. การเลิกกัน: หากคู่สมรสต้องการเลิกราต้องดำเนินการจดทะเบียนหย่า หากฝ่ายใดไม่ยินยอม ต้องเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องในศาล

จดทะเบียนสมรส เสียเงินไหม

การจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยไม่มีค่าใช้จ่าย หากทำที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ แต่หากต้องการจดนอกสถานที่ อาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม โดยเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่ทำให้การสมรสเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการ

จดทะเบียนสมรส อายุเท่าไหร่

จดทะเบียนสมรส อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สามารถดำเนินการด้วยตนเอง หากอายุต่ำกว่า 20 ปี แต่มากกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ต้องนำบิดาและมารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมหรือต้องมีหนังสือให้ความยินยอมจากบุคคลทั้งสามดังกล่าวข้างต้น แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 17 ปี ต้องได้รับอนุญาตจากศาลจึงสมรสได้

สรุป แม้ใบทะเบียนสมรสจะเป็นเอกสารทางกฎหมายเพื่อยืนยันสิทธิ์ต่างๆ ของอีกฝ่ายได้ก็จริง แต่สุดท้ายการจดทะเบียนสมรสจะดีกับคู่รักของเราไหม ก็ขึ้นอยู่กับการพูดคุยของทั้ง 2 ฝ่ายที่จะต้องหาข้อตกลงร่วมกันบนพื้นฐานความสุขของครอบครัวน่าจะดีไม่น้อย

อ่านเพิ่มเติม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook