ธ.ก.ส. เปิดพักหนี้ระยะที่ 2 แจ้งความประสงค์ 1 ต.ค. 67

ธ.ก.ส. เปิดพักหนี้ระยะที่ 2 แจ้งความประสงค์ 1 ต.ค. 67

ธ.ก.ส. เปิดพักหนี้ระยะที่ 2 แจ้งความประสงค์ 1 ต.ค. 67
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธ.ก.ส. เปิดพักหนี้ให้ลูกหนี้รายย่อย 1.41 ล้านราย ตามนโยบายรัฐบาล ระยะที่ 2 เปิดแจ้งความประสงค์ 1 ต.ค. 67 เป็นต้นไป

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. พร้อมดำเนินมาตรการพักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย ในระยะที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 67 เพื่อลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่ยังไม่ฟื้นตัวและบรรเทาภาระด้านหนี้สินให้แก่ลูกหนี้ โดยผลการดำเนินงานมาตรการฯ ในระยะที่ 1 มีผู้เข้าร่วมมาตรการฯ ทั้งสิ้น 1.41 ล้านราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 210,191 ล้านบาท

s__115220487

ซึ่ง ธ.ก.ส. เปิดรับแจ้งความประสงค์ในการเข้าร่วมมาตรการฯ ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 67 – 31 ม.ค. 68 เพียงนำบัตรประชาชนมาใช้ในการยืนยันตัวตน ได้ที่ ธ.ก.ส.สาขาที่ใช้บริการ เพื่อให้พนักงานตรวจสอบคุณสมบัติ รวมถึงสอบทานข้อมูลและประเมินศักยภาพการชำระหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข จะได้รับการพักชำระหนี้ในระยะที่ 2 ตั้งแต่ 1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 โดยอัตโนมัติ

ทั้งนี้ รัฐบาลยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอและสามารถชำระหนี้ได้ โดยมอบหมายให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการเสริมความรู้ฟื้นฟูทักษะในการประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย ภายใต้แนวทาง “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นแบบทำน้อยได้มาก ทำผลผลิตให้มีคุณภาพสูงให้สามารถจำหน่ายได้ในตลาดที่มีมูลค่าสูง ยกระดับการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ด้วยการปลูกพืชระยะสั้น พืชหลังนา สัตว์โตไวที่มีมูลค่าสูง การพัฒนาอาชีพเดิม โดยการเพิ่มผลผลิต ลดความสูญเสีย ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมาตรฐาน ซึ่งผลการดำเนินงานในระยะที่ 1 มีลูกค้าที่ผ่านการอบรมแล้ว จำนวน 290,648 ราย จากเป้าหมาย 300,000 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.88

โดย ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนเงินทุนอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะสมในการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ไปแล้ว จำนวน 10,754 ราย เพื่อเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรสามารถนำเงินทุนไปใช้ลงทุนปรับเปลี่ยนการผลิต หรือขยายการประกอบอาชีพ และฟื้นฟูศักยภาพตนเอง เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาสร้างรายได้ เพื่อให้ลูกหนี้มีศักยภาพ และความสามารถในการชำระหนี้หลังสิ้นสุดมาตรการ อันนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้และช่วยให้เกษตรกรสามารถหลุดพ้นกับดักหนี้ได้อย่างยั่งยืน

s__115220489

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook