ประกันสังคม ม.33-ม.39 ถูกพิษน้ำท่วม ลดส่งเงินสมทบทั้งหมดกี่บาท

ประกันสังคม ม.33-ม.39 ถูกพิษน้ำท่วม ลดส่งเงินสมทบทั้งหมดกี่บาท

ประกันสังคม ม.33-ม.39 ถูกพิษน้ำท่วม ลดส่งเงินสมทบทั้งหมดกี่บาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประกันสังคม "ม.33-ม.39" โดนพิษน้ำท่วมภาคเหนือ ลดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนฯ รวมทั้งหมดกี่บาท

เว็บไซต์ thebangkokinsight รายงานว่า นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุ ตามที่เกิดอุทกภัย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ กระทรวงแรงงาน มีมาตรการช่วยเหลือนายจ้างและผูัประกันตน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการประสบอุทกภัยตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยคณะกรรมการประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม มีมติเห็นชอบ มาตรการช่วยเหลือเร่งด่วน ดังนี้

ลดเงินสมทบ-ขยายเวลาส่งเงินเข้ากองทุน

การลดอัตราเงินสมทบ เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่งวดเดือน ต.ค.67 -มี.ค. 68 โดยอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 33 และนายจ้าง ลดจาก 5% เหลือ 3% และอัตราเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 ลดจาก 9% เหลือ 5.9% (เหลือจ่ายสมทบเดือนละ 283 บาทต่อเดือน)

ซึ่งสามารถลดภาระนายจ้าง และผู้ประกันตนได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 7 พันกว่าล้านบาท จำแนกเป็นสมทบฝ่ายนายจ้าง ประมาณ 3,400 ล้านบาท และผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จำนวนราว 3,700 ล้านบาท

ผู้ประกันตนมาตรา 33

  • เดิมจ่ายเงินสมทบประกันสังคม 750 บาทต่อเดือน (คำนวณจากเงินค่าจ้าง 15,000 บาท)
  • ได้ลดอัตราเงินสมทบเดือนละ 300 บาท เหลือจ่ายสมทบเดือนละ 450 บาท
  • รวม 6 เดือน ได้ลดเงินสมทบคนละ 1,800 บาท

ผู้ประกันตนมาตรา 39

  • เดิมจ่ายเงินสมทบเดือนละ 432 บาท
  • ได้รับการลดอัตราเงินสมทบเดือนละ 149 บาท เหลือจ่ายสมทบเดือนละ 283 บาท
  • รวม 6 เดือน ได้ลดเงินสมทบ 894 บาท

การขยายระยะเวลาการนำส่งเงินสมทบ โดยสำนักงานประกันสังคมขยายเวลายื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ และการนำส่งเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 67 ให้นายจ้างสามารถนำส่งเงินสมทบได้ภายใน 4 เดือน นับจากงวดที่ต้องนำส่ง ตามมาตรา เช่น งวดเดือน ก.ย. 67 สามารถนำส่งได้ภายในเดือน ม.ค. 68

โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตน ในการเข้าถึงการซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น ลดภาระทางการเงินในการผ่อนชำระที่อยู่อาศัย และส่งเสริมความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ประกันตนวงเงินสินเชื่อในโครงการ 10,000 ล้านบาท ครอบคลุม 72 จังหวัด โดยวงเงินสินเชื่อกระจายตามสัดส่วนของผู้ประกันตนที่มีสิทธิในแต่ละจังหวัด ไม่เกินรายละ 2 ล้านบาท

ส่วนการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในระยะเร่งด่วนหลังน้ำลด จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย, แพร่, พะเยา, สุโขทัย และน่าน กระทรวงแรงงานได้มีการดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอาชีพ เพื่อประชาชน ที่ประสบความเดือดร้อนให้มีรายได้เลี้ยงดูตนเอง และครอบครัวในระหว่างที่ไม่มีรายได้ โดยการจ้างให้ทำงานที่เป็นงานสาธารณประโยชน์ และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน โดยได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานในวันละ 300 บาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook