ตอบคำถาม เงิน 10,000 บาท กลุ่มตกหล่น คนพิการอยากได้เงินดิจิทัลทำอย่างไร?
ตอบคำถามยอดฮิต เงิน 10,000 บาท กลุ่มตกหล่น คนพิการ อยากได้เงินดิจิทัลต้องทำอย่างไร ถ้าไม่มีบัตรคนพิการหมดสิทธิ์เลยไหม แก้ไขได้หรือเปล่า เช็กคำตอบที่นี่
เงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่รัฐบาลจ่ายเป็นเงินสดผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน และผู้พิการ ในรูปเงินสด ยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ที่มีการโอนเงินในครั้งแรกเมื่อปลายเดือน ก.ย. 67 ที่ผ่านมา กระทั่งล่าสุด มีจำนวนผู้ที่ตกหล่นกว่า 300,000 ราย ที่มีสิทธิรับเงิน 10,000 บาท แต่รัฐบาลยังโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนไม่สำเร็จ หนึ่งในนั้นมีกลุ่มผู้พิการรวมอยู่ด้วย แน่นอนว่าผู้พิการหลายคนอาจจะมีข้อสงสัย หรือคำถามมากมายว่าทำอย่างไรถึงจะได้รับเงิน 10,000 บาท โดยรัฐบาลได้รวบรวมคำถาม และไขข้อสงสัยให้ทุกคนได้ทราบกัน
คำถาม : คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ณ วันที่ 31 ส.ค. 67 จะได้รับเงินเมื่อใด?
คำตอบ วันที่จ่ายเงินซ้ำ Retry
- ครั้งที่ 1 เดือน ต.ค. 67 จ่ายวันที่ 21 ต.ค. 67
- ครั้งที่ 2 เดือน พ.ย. 67 จ่ายวันที่ 21 พ.ย. 67
- ครั้งที่ 3 เดือน ธ.ค. 67 จ่ายวันที่ 19 ธ.ค. 67
หมายเหตุ : ในกรณีที่กรมบัญชีกลางจ่ายเงินให้แก่คนพิการไม่สำเร็จในครั้งแรก จะดำเนินการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) จำนวน 3 ครั้ง
คำถาม : คนพิการ จะได้รับเงินผ่านช่องทางใด?
คำตอบ :
1. กรณีมีบัตรประจำตัวคนพิการ ฐานข้อมูลของ พก. พม. ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567
- 1.1 บัตรประจำตัวคนพิการไม่หมดอายุ
- 1) บัตรประจำตัวคนพิการไม่หมดอายุ และได้รับเงินเบี้ยความพิการจาก อปท. กทม. และเมืองพัทยา จะรับเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารที่รับเงินเบี้ยความพิการของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา
- 2) บัตรประจำตัวคนพิการไม่หมดอายุ และไม่ได้รับเงินเบี้ยความพิการจาก อปท. กทม.และเมืองพัทยา จะรับเงินผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน
- 1.2 บัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุ
- 1) บัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุ และได้รับเงินเบี้ยความพิการจาก อปท. กทม. และเมืองพัทยา จะต้องต่ออายุ/ทำบัตรประจำตัวคนพิการก่อน จึงจะรับเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารที่รับเงิน เบี้ยความพิการของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา
- 2) บัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุ และไม่มีข้อมูลการรับเงินเบี้ยความพิการจาก อปท. กทม. และเมืองพัทยา ต้องต่ออายุ/ทำบัตรฯ และเปิดบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน หรือให้ยื่น
คําขอรับเงินเบี้ยความพิการต่อ อปท. กทม. และเมืองพัทยา ที่ตนมีภูมิลำเนา
2. กรณีไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการจาก อปท. กทม. และเมืองพัทยา จะต้องมาทำบัตรประจำตัวคนพิการก่อน จึงจะรับเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารที่รับเงินเบี้ยความพิการของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา
คำถาม : คนพิการที่รับเงินเบี้ยความพิการจาก อปท. กทม. และเมืองพัทยา เป็นเงินสด จะได้รับเงิน ผ่านช่องทางใด?
คำตอบ : อปท. กทม. และเมืองพัทยา ที่ผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยความพิการ
คำถาม : คนพิการที่ยื่นคำขอบัตรประจำตัวคนพิการ หลังวันที่ 31 ส.ค. 67 จะได้รับสิทธิหรือไม่?
คำตอบ : ไม่ได้รับสิทธิ คนพิการที่ได้รับสิทธิจะต้องอยู่ในฐานข้อมูลของ พก. พม. ณ วันที่ 31 ส.ค. 67
คำถาม : ทำไมคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่หมดอายุ ตามฐานข้อมูลของ พก. พม. และ ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องต่อบัตรประจำตัวพิการก่อนสิ้นสุดโครงการ จึงจะได้รับสิทธิ?
คำตอบ : การต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการเพื่อยืนยันตัวตนและสถานะทางกฎหมายของคนพิการ ในการขอรับสิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ ทั้งนี้ คนพิการสามารถดำเนินการต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการที่ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ โดยใช้เอกสาร ดังนี้
- บัตรประชาชน
- ทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
- เอกสารรับรองความพิการ (กรณีมีความพิการเพิ่มหรือเปลี่ยนไปจากเดิม)
- หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล (ถ้ามี)
- บัตรประจำตัวคนพิการใบเดิม
กรณี คนพิการที่บัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุ แต่มีข้อมูลการรับเบี้ยความพิการ
- ให้ดำเนินการต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธ.ค. 67
กรณี คนพิการที่บัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุ แต่ไม่มีข้อมูลการรับเบี้ยความพิการ
- ให้ดำเนินการต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการให้แล้วเสร็จ และ
- กรณีเป็นคนพิการที่สามารถเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารได้ ให้ทำการเปิดพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน ภายในวันที่ 17 ธ.ค. 67
- กรณีเป็นคนพิการติดเตียงหรือไม่สามารถผูกพร้อมเพย์ได้ ให้ลงทะเบียนและยื่นคําขอรับเงินเบี้ยความพิการต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด ภายในวันที่ 28 พ.ย. 67 ก่อนการโอนเงินเบี้ยความพิการ เพื่อที่กรมบัญชีกลางจะใช้บัญชีเงินฝากธนาคารที่รับเงินเบี้ยความพิการดังกล่าว สำหรับการโอนเงินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ต่อไป
คำถาม : ทำไมคนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูลของ พก. พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา และไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องทำบัตรประจำตัวพิการก่อนสิ้นสุดโครงการ จึงจะได้รับสิทธิ?
คำตอบ : การรับสิทธิโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ กำหนดคุณสมบัติคือคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่ยังไม่หมดอายุตามฐานข้อมูลของ พก. พม. กรณีคนพิการที่ได้รับเงินเบี้ยความพิการแต่ไม่มีในฐานข้อมูลของ พก. อาจเกิดจากเป็นคนพิการที่ใช้บัตรประจำตัวคนพิการแบบเก่า (แบบเล่ม) และไม่ได้มีการยื่นเพื่อลงทะเบียนในระบบ ดังนั้น ต้องดำเนินการยื่นขอมีบัตรประจำตัวคนพิการเพื่อยืนยันตัวตน ที่ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธ.ค. 67 โดยใช้เอกสาร ดังนี้
- บัตรประจําตัวประชาชน/สูติบัตรสำหรับบุคคลอายุต่ำกว่าสิบห้าปี
- ทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
- รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว (กรณีที่ไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง)
- เอกสารรับรองความพิการ (กรณีที่พิการเชิงประจักษ์ตามประกาศฯ ไม่ต้องใช้เอกสารรับรองความพิการ)
- หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล (ถ้ามี)
คำถาม : ทำไมคนพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูลของ พก. พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและไม่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) ภายในวันที่ 31 ส.ค. 67 จะต้องทำบัตรประจาตัวพิการก่อนสิ้นสุดโครงการ จึงจะได้รับสิทธิ
คำตอบ : กรณีคนพิการที่ได้รับเงินเบี้ยความพิการแต่ไม่มีในฐานข้อมูล พก. พม. อาจเกิดจากเป็นคนพิการที่ใช้บัตรประจำตัวคนพิการแบบเก่า (แบบเล่ม) และไม่ได้มีการยื่นเพื่อลงทะเบียนในระบบแต่เนื่องจากเป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ไม่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) ภายในวันที่ 31 ส.ค. 67 จึงทำให้ไม่สามารถรับสิทธิจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามคุณสมบัติ แต่จะได้สิทธิของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ แต่คนพิการ
จะต้องการยื่นขอมีบัตรประจำตัวคนพิการเพื่อยืนยันตัวตนและสถานะทางกฎหมายของคนพิการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธ.ค. 67
คำถาม : คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่ยังไม่หมดอายุ ตามฐานข้อมูลของ พก. พม. เคยได้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท หรือ 1,000 บาท จาก อปท. เป็นเงินสด จะได้รับเงินจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 อย่างไร?
คำตอบ : กรมบัญชีกลาง จะโอนเงิน 10,000 บาท เข้าบัญชีของ อปท. ที่ได้รับเบี้ยความพิการ 800 บาท หรือ 1,000 บาท เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของ อปท. นำเงินไปให้คนพิการ
คำถาม : คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่ยังไม่หมดอายุ ตามฐานข้อมูลของ พก. พม. แต่ไม่ประสงค์ลงทะเบียนรับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท หรือ 1,000 บาท กับ อปท. กทม. หรือเมืองพัทยา จะได้รับเงินจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 หรือไม่ อย่างไร?
คำตอบ : ได้รับเงิน 10,000 บาท ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกด้วยเลขประจำตัวประชาชน หากคนพิการมีพร้อมเพย์ที่ผูกด้วยเลขประจำตัวประชาชนขอให้ตรวจสอบว่าบัญชีพร้อมเพย์ยังสามารถใช้งานได้เพื่อที่กรมบัญชีกลางจะได้จ่ายเงินผ่านพร้อมเพย์ แต่หากคนพิการยังไม่เคยมีพร้อมเพย์มาก่อนขอให้เปิดบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกด้วยเลขประจำตัวประชาชน
คำถาม : คนพิการที่ไม่มีสิทธิ ตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567?
คำตอบ :
- คนพิการที่ขึ้นทะเบียนขอมีบัตรประจำตัวคนพิการครั้งแรก หลังวันที่ 31 ส.ค. 67
- คนพิการที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์คนพิการที่ขอยกเลิกการมีบัตรประจำตัวคนพิการ ก่อนวันที่ 31 ส.ค. 67
- คนพิการที่ขอยกเลิกการมีบัตรประจำตัวคนพิการ ก่อนวันที่ 31 ส.ค. 67 และมายื่นขอมีบัตรฯ คนพิการหลังวันที่ 31 ส.ค. 67
คำถาม : คนพิการทำบัตรหลังวันที่ 31 ส.ค. 67 แต่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับสิทธิหรือไม่?
คำตอบ : คนพิการที่ทำบัตรประจำตัวคนพิการหลังวันที่ 31 ส.ค. 67 แต่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังคงได้รับสิทธิ แต่เป็นการรับสิทธิผ่านกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยรับเงินในช่องทางของบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกด้วยเลขประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิ หรือผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารตามที่ได้แจ้งความประสงค์ในหนังสือให้ความยินยอมกับคลังจังหวัด
คำถาม : คนพิการที่รับสิทธิผ่านเบี้ยความพิการต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิหรือไม่ และจ่ายเงินอย่างไร?
คำตอบ : ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ โดยกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ตามเงื่อนไขที่กำหนด ดังนี้
- ช่องทางเดิมในการรับเบี้ยความพิการ
- ช่องทางสวัสดิการแห่งรัฐ
- ช่องทางพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชนของคนพิการ
คำถาม : กรณีที่คนพิการติดเตียงไม่สามารถออกมาทำบัตรฯ หรือ ต่ออายุบัตรฯ จะทำอย่างไร?
คำตอบ : แจ้งศูนย์บริการคนพิการจังหวัดหรือ อปท. เพื่อให้ความช่วยเหลือในการออกบัตรประจำตัวคนพิการ
คำถาม : ทำไมต่อบัตรฯ คนพิการแล้ว ผูกพร้อมเพย์แล้วหรือแจ้งบัญชีรับเบี้ยแล้วยังไม่ได้เงิน?
คำตอบ : หากดำเนินการแล้ว แต่ไม่ได้รับเงินเข้าบัญชีให้รอในรอบการโอนเงินซ้ำ (Retry) รอบถัดไป อาจเป็นเพราะดำเนินการไม่ทันรอบการนำส่งข้อมูลที่หน่วยงานต้นทางต้องนำส่งข้อมูลมาให้กรมบัญชีกลางใช้เตรียมการจ่ายเงิน ทำให้ต้องรอการโอนเงินซ้ำในรอบถัดไปเท่านั้น
คำถาม : บัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
คำตอบ : การต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการเพื่อยืนยันตัวตนและสถานะทางกฎหมายของคนพิการ ในการขอรับสิทธิ สวัสดิการต่างๆ ทั้งนี้ คนพิการสามารถดำเนินการต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการที่ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ โดยใช้เอกสาร ดังนี้
- บัตรประชาชน
- ทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
- เอกสารรับรองความพิการ (กรณีมีความพิการเพิ่มหรือ เปลี่ยนไปจากเดิม)
- หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล (ถ้ามี)
- บัตรประจำตัวคนพิการใบเดิม
คำถาม : ทำบัตรประจำตัวคนพิการต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
คำตอบ : การยื่นขอมีบัตรประจำตัวคนพิการเพื่อยืนยันตัวตน ที่ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศให้แล้วเสร็จภายในกลางเดือน ธ.ค. 67 ก่อนสิ้นสุดโครงการฯ โดยใช้เอกสาร ดังนี้
- บัตรประจําตัวประชาชน/สูติบัตรสำหรับบุคคลอายุต่ำกว่าสิบห้าปี
- ทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
- รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว (กรณีที่ไม่ได้มายื่นด้วยตนเอง)
- เอกสารรับรองความพิการ (กรณีที่พิการเชิงประจักษ์ตามประกาศฯ ไม่ต้องใช้เอกสารรับรองความพิการ)
- หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล (ถ้ามี)
คำถาม : คนพิการที่เป็นข้าราชการหรือผู้ต้องขังจะได้สิทธิไหม?
คำตอบ : ได้สิทธิตามการรับเบี้ยความพิการ
คำถาม : กรณีที่เบี้ยความพิการเข้าบัญชีผู้ดูแล และผู้ดูแลก็มีสิทธิในสวัสดิการรัฐ จะได้เงินอย่างไร?
คำตอบ : ได้รับสิทธิของคนพิการการตามบัญชีเบี้ยที่คนพิการมอบอำนาจ และได้รับสิทธิของตนเอง