เตรียมปรับเพดานเงินสมทบประกันสังคม ม.33 ใหม่ จ่ายเพิ่มเดือนละ 875-1,150 บาท
ประกันสังคม เตรียมปรับเพดานค่าจ้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ม.33 จ่ายเพิ่มเป็นเดือนละ 875-1,150 บาท
เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 67 สำนักงานประกันสังคม ได้มีการเปิดสำรวจความคิดเห็นต่อการปรับปรุงเพดานค่าจ้าง ตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไปว่ามีความคิดเห็นอย่างไร หลังจากอัตราเดิมที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2538 ยาวมาจนถึงปัจจุบัน
ผู้ประกันตนมาตรา 33
ปัจจุบันเงื่อนไขระบุว่า คนที่ได้ค่าจ้าง 15,000 บาทต่อเดือน ต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม 750 บาทต่อเดือน โดยได้สิทธิประโยชน์ดังนี้
- เจ็บป่วย 7,500 บาทต่อเดือน
- คลอดบุตร 22,500 บาทต่อครั้ง
- ทุพพลภาพ 7,500 บาทต่อเดือน
- เงินสงเคราะห์กรณี 90,000 บาท
- ว่างงาน 7,500 บาทต่อเดือน
- บำนาญส่งเงินมา 15 ปี 3,000 บาทต่อเดือน
- บำนาญส่งเงินมา 25 ปี 5,250 บาทต่อเดือน
การจ่ายเงินอัตราใหม่ของประกันสังคม
ประกันสังคมจะมีการปรับอัตราเงินเดือนที่ต้องจ่ายใหม่ พร้อมสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น โดยปรับขึ้นแบบขั้นบันได้ 3 ช่วงเวลา ดังนี้
ช่วงที่ 1 อัตราการจ่ายเงินปี 2569-2571
- ค่าจ้าง 17,500 บาทต่อเดือน ส่งเงินประกันสังคมสูงสุด 875 บาทต่อเดือน
- เจ็บป่วย 8,750 บาทต่อเดือน
- คลอดบุตร 26,250 บาทต่อครั้ง
- ทุพพลภาพ 8,750 บาทต่อเดือน
- เงินสงเคราะห์กรณี 105,000 บาท
- ว่างงาน 8,750 บาทต่อเดือน
- บำนาญส่งเงินมา 15 ปี 3,500 บาทต่อเดือน
- บำนาญส่งเงินมา 25 ปี 6,125 บาทต่อเดือน
ช่วงที่ 2 อัตราการจ่ายเงินปี 2572 - 2574
- ค่าจ้าง 20,000 บาทต่อเดือน ส่งเงินประกันสังคมสูงสุด 1,000 บาทต่อเดือน
- เจ็บป่วย 10,000 บาทต่อเดือน
- คลอดบุตร 30,000 บาทต่อครั้ง
- ทุพพลภาพ 10,000 บาทต่อเดือน
- เงินสงเคราะห์กรณี 120,000 บาท
- ว่างงาน 10,000 บาทต่อเดือน
- บำนาญส่งเงินมา 15 ปี 4,000 บาทต่อเดือน
- บำนาญส่งเงินมา 25 ปี 7,000 บาทต่อเดือน
ช่วงที่ 3 อัตราการจ่ายเงินปี 2575 เป็นต้นไป
- ค่าจ้าง 23,000 บาทต่อเดือน ส่งเงินประกันสังคมสูงสุด 1,150 บาทต่อเดือน
- เจ็บป่วย 11,500 บาทต่อเดือน
- คลอดบุตร 34,500 บาทต่อครั้ง
- ทุพพลภาพ 11,500 บาทต่อเดือน
- เงินสงเคราะห์กรณี 138,000 บาท
- ว่างงาน 11,500 บาทต่อเดือน
- บำนาญส่งเงินมา 15 ปี 4,600 บาทต่อเดือน
- บำนาญส่งเงินมา 25 ปี 8,050 บาทต่อเดือน
ทั้งนี้ ประกันสังคมให้แสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th ได้ตั้งแต่วันนี้-15 ธ.ค. 67 ร่วมทำแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นการปรับปรุงเพดานค่าจ้าง "เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์" คลิกที่นี่