ค่าเงินบาทไทยวันนี้ 25 ธ.ค. 67 เปิดเช้าที่ระดับ 34.18 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง

ค่าเงินบาทไทยวันนี้ 25 ธ.ค. 67 เปิดเช้าที่ระดับ 34.18 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง

ค่าเงินบาทไทยวันนี้ 25 ธ.ค. 67 เปิดเช้าที่ระดับ 34.18 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ค่าเงินบาทไทยวันนี้ 25 ธ.ค. 67 เปิดเช้าที่ระดับ 34.18 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อย แทบไม่เปลี่ยนแปลง จากระดับปิดวันที่ผ่านมาที่ระดับ 34.15 บาทต่อดอลลาร์ กรุงไทยมองตลาดใกล้วันหยุดเทศกาล Christmas แกว่งตัวในกรอบ Sideways

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าธนาคารกรุงไทย ระบุ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทวันนี้เปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.18 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย แทบไม่เปลี่ยนแปลง” จากระดับปิดวันที่ผ่านมา ที่ระดับ 34.15 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วโมง คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.10-34.30 บาทต่อดอลลาร์

โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนวันที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) เคลื่อนไหวอ่อนค่าลงเล็กน้อย แต่โดยยังคงเป็นการแกว่งตัวในกรอบ Sideways (กรอบการเคลื่อนไหว 34.12-34.20 บาทต่อดอลลาร์) ท่ามกลางปริมาณการทำธุรกรรมต่างๆ ในตลาดการเงินที่เบาบางลง เนื่องในช่วงใกล้วันหยุดเทศกาล Christmas ซึ่งหลายตลาดก็ได้หยุดทำการไป และบางส่วนก็อาจเปิดทำการเพียงครึ่งวัน เช่น ในฝั่งสหรัฐฯ และอังกฤษ ทำให้โดยรวมปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเงินบาท ทั้งเงินดอลลาร์ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ และราคาทองคำ ต่างก็เคลื่อนไหวในกรอบ Sideways เพื่อรอรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติมก่อนที่จะเลือกทิศทางการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนในระยะถัดไป

แนวโน้มค่าเงินบาท

แนวโน้มค่าเงินบาท เราคงมองว่า เงินบาทก็อาจแกว่งตัว Sideways เนื่องจากบรรดาผู้เล่นในตลาดต่างก็รอรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ เพิ่มเติม ทว่าโซนแนวรับเงินบาทอาจขยับมาแถว 34.10 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่โซนแนวต้านอาจยังคงอยู่แถว 34.30 บาทต่อดอลลาร์

อย่างไรก็ดี ในช่วงระหว่างวัน เรามองว่า ควรรอจับตาความผันผวนของเงินบาทในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลยอดการส่งออกและการนำเข้า (Exports and Imports) เดือนพฤศจิกายน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเงินบาทในระยะสั้นได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดการเงินมีรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญจากประเทศเศรษฐกิจหลักไม่มาก

ท่ามกลางความผันผวนในตลาดการเงินที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในช่วงปีหน้าที่จะเผชิญกับ Trump’s Uncertainty ทำให้เรายังคงแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) แม้จะเปิดทำการเพียงครึ่งวัน หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ และหุ้นธีม AI นำโดย Tesla +7.4%, Broadcom +3.2% นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังมีลักษณะ Broad-based ทำให้ “Santa Rally” ดูจะเป็นความจริงได้ในปีนี้ โดยรวมดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวขึ้น +1.35% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด +1.10%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง +0.32% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นอังกฤษ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มพลังงานและเหมืองแร่ ตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่รีบาวด์ขึ้นบ้างในระยะสั้น นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนบ้างจากการรีบาวด์ขึ้นของหุ้นธีม AI/Semiconductor อย่าง ASML +0.7%

ในฝั่งตลาดบอนด์ ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของผู้เล่นในตลาด รวมถึงมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คงกังวลว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot ล่าสุด ได้หนุนให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ มีจังหวะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 4.62% ก่อนที่บรรดาผู้เล่นในตลาดบางส่วนจะทยอยเข้าซื้อบอนด์ระยะยาว กดดันให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงบ้าง กลับสู่ระดับ 4.59% ซึ่งภาพดังกล่าว ก็สอดคล้องกับมุมมองของเราว่า ผู้เล่นในตลาดต่างก็รอทยอยเข้าซื้อบอนด์ระยะยาว ในจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ โดยเฉพาะในช่วงที่บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้ปรับตัวขึ้นเหนือโซน 4.50% ทำให้เราคงคำแนะนำเดิมให้รอทยอยเข้าซื้อบอนด์ระยะยาว ในจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้น ตามกลยุทธ์ Buy on Dip เนื่องจาก Risk-Reward ของผลตอบแทนรวม (Total Return) ของบอนด์ระยะยาวนั้นยังมีความน่าสนใจอยู่

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์โดยรวมเคลื่อนไหว Sideways โดยมีจังหวะผันผวนไปตามทิศทางบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ตามการเปลี่ยนแปลงของส่วนต่างระหว่างบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ กับญี่ปุ่นเช่นกัน นอกจากนี้ บรรดาผู้เล่นในตลาดต่างก็รอจังหวะทยอยขายทำกำไรสถานะ Long USD ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ยังคงแกว่งตัวแถวโซน 108.1 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 108.0-108.3 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ บรรดาผู้เล่นในตลาดต่างยังคงรอทยอยขายทำกำไรสถานะ Long ทองคำ ตามที่เราได้ประเมินไว้ ทำให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. 2025) ยังคงไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อเนื่องได้และแกว่งตัวในกรอบโซน 2,630 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับวันนี้ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจอาจมีไม่มากนัก อีกทั้งในฝั่งต่างประเทศจะเข้าสู่ช่วงวันหยุดเทศกาล Christmas ทำให้ปริมาณการทำธุรกรรมในตลาดการเงินอาจเบาบาง ส่งผลให้ตลาดการเงินอาจมีความผันผวนเกิดขึ้นได้ หากมีธุรกรรมใหญ่ๆ เข้ามา

อย่างไรก็ตาม ในฝั่งไทย ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานยอดการค้าระหว่างประเทศเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะทยอยรับรู้ในช่วงราว 13.30 น. ซึ่งเราประเมินว่า ยอดการส่งออก (Exports) มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง ทว่าอาจต้องรอติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ดุลการค้า (Trade Balance) ของไทยจะสามารถเกินดุลได้หรือไม่ หลังในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าการส่งออกจะฟื้นตัวดีขึ้น ทว่าดุลการค้าของไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงขาดดุลอยู่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook