เปิด 10 ทำเลที่ดินถูกที่สุดในเขตกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล

AREA เปิด 10 อันดับทำเลที่ดินถูกที่สุดในเขตกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล มีที่ไหนบ้าง ทำไมถึงราคาถูก และที่ดินถูกสุดราคาเท่าไหร่
นายโสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด เปิดเผยผลการสำรวจราคาที่ดินในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลที่ได้สำรวจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2568 และบันทึกสถิติไว้ทุกปีมาดูกันว่าในปี 2568 โดยพบว่ายังมีทำเลที่ราคาที่ดินที่ถูกที่สุดเช่นกันทั้งนี้เป็นราคาตลาดเปิด ไม่ใช่ราคาประเมินของทางราชการ
นายโสภณ กล่าวว่า ได้ตั้งขนาดที่ดินเท่าๆ กันคือ 4 ไร่ (กว้าง 40 เมตร ลึก 160 เมตร) เหมือนกันในทุกบริเวณเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบได้ ทั้งนี้ บางถนนอาจมีที่ดินที่ไม่ได้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่เพื่อให้สามารถเทียบกันได้ จึงตั้งสมมติฐานให้ที่ดินมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน
เปิด 10 อันดับทำเลที่ดินถูกที่สุดในเขตกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล
อันดับที่ 1 ทำเล A6-4 ถนนเลียบคลอง 13 กม.5
ราคาที่ดินอยู่ที่ 4,700 บาท หรือไร่ละ 1,880,000 บาท ทำเลบริเวณนี้ถือว่าอยู่ “ไกลปืนเที่ยง” คือห่างไกลความเจริญ ไม่มีโครงการสาธารณูปโภคใดๆ ราคาที่ดินจึงถูกมาเป็นพิเศษ ในอนาคตหากมีการตัดถนนวงแหวนรอบที่ 3 ก็จะทำให้พื้นที่นี้มีความเจริญเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม โครงการวงแหวนรอบที่ 3 นี้ ยังไม่มีกำหนดที่แน่ชัด แต่อยู่บริเวณถนนรังสิต-นครนายก ที่ตำบลบึงสนั่น อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มุ่งหน้าสู่ทิศใต้จนตัดกับถนนลำลูกกา (ลำลูกกา-คลอง16) และมุ่งหน้าสู่ทิศใต้เข้าสู่ กรุงเทพมหานคร
อันดับที่ 2 ทำเล A1-2 ตรงข้ามศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
ราคาที่ดินอยู่ที่ 8,400 บาท หรือไร่ละ 3,360,000 บาท ทำเลนี้อาจดูน่าแปลกที่มีความเจริญเป็นตัวดึงดูดคือศูนย์ศิลปาชีพบางไทร แต่ก็ถือเป็นข้อจำกัดเป็นอย่างมาก เนื่องจากบริเวณรอบๆ ศูนย์ศิลปาชีพนี้มีข้อห้ามในการก่อสร้าง โดยกำหนดไว้ชัดเจน "โดยรอบๆ บริเวณ 500 เมตร ห้ามการก่อสร้างอาคารอื่นใด เว้นแต่อาคารที่พักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยวที่มีความสูงไม่เกิน 8 เมตร และหอถังน้ำที่มีความสูงไม่เกิน 11 เมตร" (กฎกระทรวงมหาดไทย 15 กรกฎาคม 2545)
อันดับที่ 3 ทำเล H7-2 บางบ่อ สุขุมวิท กม.46
ราคาที่ดินอยู่ที่ 10,000 บาท หรือไร่ละ 4,000,000 บาท ทั้งนี้เพราะอยู่ห่างไกลจากความเจริญ โดยความเจริญจากตัวเมืองสมุทรปราการ (ทางทิศตะวันตก) ก็ลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ช่วงนิคมอุตสาหกรรมบางปูตามลำดับ ส่วนความเจริญจากนิคมอุตสาหกรรมบางพลีทางด้านบน (ทิศเหนือ) ก็แผ่มาไม่ถึง บริเวณนี้จึงมีสภาพเป็นชนบท ไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากนัก ราคาที่ดินจึงไม่สูง
อันดับที่ 4 ทำเล E5-2 ถนนร่วมพัฒนา (ลำต้อยติ่ง)
ราคาที่ดินอยู่ที่ 12,000 บาท หรือไร่ละ 4,800,000 บาท ทำเลนี้อยู่ใกล้ชายแดนกับจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยปกติเขตหนองจอกก็เป็นพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตเมืองของกรุงเทพมหานครอยู่แล้ว บริเวณถนนร่วมพัฒนานี้ ยิ่งห่างจากศูนย์กลางของตัวเมืองหนองจอก การพัฒนาจึงจำกัด เหมาะที่จะใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมมากกว่าอย่างอื่น ราคาทิ่ดินจึงต่ำ
อันดับที่ 5 ทำเล E3-1 ถนนประชาสำราญ
มีลักษณะที่คล้ายคลึกัน จึงมีราคาที่ดินอยู่ที่ 13,000 บาท หรือไร่ละ 5,200,000 บาท
อันดับที่ 6 ถนนรังสิต-นครนายก กม.37 (คลอง14)
ราคา 14,000 บาทต่อตร.ว. หรือไร่ละ 5.6 ล้านบาท
อันดับที่ 7 ถนนบางบ่อ-คลองด่าน กม.3.5
ราคา 16,000 บาทต่อตร.ว.หรือ 6.4 ล้านบาท
อันดับที่ 8 ถนนทองสัมฤทธิ์(คุ้มเกล้า)
ราคา 17,500 บาทต่อตร.ว.หรือไร่ละ 7 ล้านบาท
อันดับที่ 9 ประชาร่วมใจ มีนบุรี
ราคา 18,000 บาทต่อตร.ว.หรือไร่ละ 7.2 ล้านบาท
อันดับที่ 10 รัตนโกสินทร์ 200 ปี บางพลี
ราคา 18,500 บาทต่อตร.ว.หรือไร่ละ 7.4 ล้านบาท
ส่วนกรณีที่มีคำถามว่าที่ดินราคาถูกเช่นนี้ สมควรซื้อไว้หรือไม่ นายโสภณ ให้ความเห็นไว้ว่า หากต้องการที่ดินที่มีราคาถูกใช้วงเงินไม่มากก็สามารถซื้อได้ แต่เนื่องจากที่ดินเหล่านี้อยู่บริเวณเขตชานเมือง และเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีศักยภาพจำกัด เน้นใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรมหรืออยู่อาศัย ไม่สามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ ราคาก็ไม่ค่อยเพิ่มขึ้น การซื้อที่ดินประเภทนี้ไปจึงได้อัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าปกติ แต่อย่างไรก็ตาม โอกาสที่ราคาที่ดินจะเพิ่มสูงขึ้นก็มีอยู่บ้าง เนื่องจากการตัดถนนหรือสาธารณูปโภคใหม่ๆ นั่นเอง