วิธีขอคืนภาษี 2568 ต้องทำอย่างไร หลังยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด.90/91 เสร็จแล้ว
Thailand Web Stat

วิธีขอคืนภาษี 2568 ต้องทำอย่างไร หลังยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด.90/91 เสร็จแล้ว

วิธีขอคืนภาษี 2568 ต้องทำอย่างไร หลังยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด.90/91 เสร็จแล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิธีขอคืนภาษี 2568 ต้องทำอย่างไร หลังยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด.90/91 ประจำปี 2568 เสร็จแล้ว

หลังจากที่กรมสรรพากร ได้เปิดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดา ยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด.90/91 ประจำปี 2567 โดยกำหนดวิธียื่นภาษี 2568 ผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

  • แบบเอกสาร หรือกระดาษ ยื่นได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาทุกแห่งตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. 68
  • ยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th ได้ถึงวันที่ 8 เม.ย. 68

โดยผู้ที่มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ยื่นแบบภาษีสำเร็จแล้ว หากมีเงินคืนภาษี กรมสรรพากรจะจแจ้งวิธีขอรับเงินคืนภาษี 2568 ดังนี้

ตรวจสอบสถานะคืนเงินภาษี 2568

  1. เข้าเว็บไซต์ www.rd.go.th
  2. เลือกเมนู My Tax Account ตรวจสอบข้อมูลทางภาษี
  3. เข้าสู่ระบบด้วย RD ID ระบุหมายเลขผู้ใช้ รหัสผ่าน Laser ID กรอกเลขหลังบัตรประจำตัวประชาชน
  4. เข้าสู่ระบบด้วย Digital ID เลือกเบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลที่ได้แจ้งไว้ เพื่อรับรหัส OTP กรอกรหัส OTP และกดยืนยันติดตามสถานะขอคืน/นำส่งเอกสาร

ช่องทางการส่งเอกสารประกอบการพิจารณาคืนภาษี สำหรับแบบ ภ.ง.ด.90/91 ที่ยื่นผ่านออนไลน์

ยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่​

  1. ​​นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นที่สำนักงานสรรพากรในเขตพื้นที่​
  2. ​​เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารและรับแบบ​

ส่งทางไปรษณีย์​

  1. ​​กรอกแบบฟอร์มให้ครบถ้วน​
  2. ​​แนบเอกสารประกอบทั้งหมด​
  3. ​​ส่งไปที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่คุณมีภูมิลำเนา​

อัปโหลดเอกสารทางอินเตอร์เน็ต ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th

  1. เข้าเว็บไซต์  www.rd.go.th
  2. เลือกเมนู My Tax Account ตรวจสอบข้อมูลทางภาษี
  3. เข้าสู่ระบบด้วย RD ID ระบุหมายเลขผู้ใช้
  4. รหัสผ่าน Laser ID หลังบัตรประจำตัวประชาชน หรือเข้าสู่ระบบด้วย Digital ID
  5. เลือกเบอร์โทรศัพท์ หรือ อีเมลที่ได้แจ้งไว้ เพื่อรับรหัส OTP ต่อมากรอกรหัส OTP และกดยืนยัน
  6. เลือกติดตามสถานะขอคืน/นำส่งเอกสาร เลือกเอกสารเพื่อนำส่งกด+เพิ่มไฟล์
  7. ไฟล์ที่อนุญาตให้ Upload : JPG, BMP, PNG, TIF, PDF จำกัดขนาดของไฟล์ไม่เกิน 3 MB ขนาดของไฟล์รวมกันแต่ละครั้งไม่เกิน 20 MB และสามารถนำส่งได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ทั้งนี้ ระบบไม่รองรับไฟล์ PDF ที่มี Password หรือ Secured

ช่องทางรับเงินภาษีคืนผ่าน "ช่องทางการคืนเงิน" ดังนี้
tax

Advertisement

กรณีผู้ขอคืนภาษีเดินทางไปรับเงินภาษีคืนที่สาขาธนาคารด้วยตนเอง

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

  1. แจ้งธนาคารคืนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์กรณีที่ผู้ขอคืนลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน กับบัญชีเงินฝากธนาคารหลังจากที่ได้รับหนังสือ ค.21
  2. คืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

  1. แจ้งธนาคารคืนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ กรณีที่ผู้ขอคืนลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากธนาคารหลังจากได้รับหนังสือ ค.21
  2. คืนเข้าบัญชีเงินฝาก ธ.ก.ส.

กรณีผู้ขอคืนภาษีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนที่สาขาธนาคาร

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

  • คืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย ของผู้ขอคืนภาษี

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

  • คืนเข้าบัญชีเงินฝาก ธ.ก.ส. ของผู้ขอคืนภาษี

กรณีผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีที่มีคำสั่งศาล และได้รับหนังสือแจ้งคืน ค.21 ผู้จัดการมรดก ยังคงสามารถมาขอรับเงินคืนได้ที่สาขาธนาคารกรุงไทย ในรูปแบบแคชเชียร์เช็คได้ โดยแสดงคำสั่งศาลที่เกี่ยวข้อง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการมรดกมาขอรับเงินคืนที่สาขาธนาคารกรุงไทย

ในกรณีที่การคืนเงินสำหรับผู้ขอคืนที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กรณี ชาวต่างชาติ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล วิสาหกิจชุมชน และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง กรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) พร้อมเช็ค โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่บนแบบแสดงรายการให้ผู้ขอคืน เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น

วิธีตรวจสอบบัญชีธนาคาร ผ่านพร้อมเพย์

  • ตรวจสอบจากสมุดบัญชีเงินฝากทุกบัญชีของทุกธนาคารที่มี ว่าเคยเปิดบัญชีไว้กับธนาคารใดบ้าง
  • ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร, ตู้ ATM หรือแอปพลิเคชั่นของแต่ละธนาคาร โดยเลือกบริการ พร้อมเพย์ เมื่อระบุเลขประจำตัวประชาชน ระบบของธนาคารจะแจ้งว่าได้เคยลงทะเบียนไว้กับธนาคารใด จากนั้นขอให้ติดต่อธนาคารโดยตรง

ทั้งนี้ เมื่อผู้เสียภาษีลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนที่ธนาคารใด หากต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสามารถติดต่อได้ที่ธนาคาร

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้