กยศ. ตอบคำถามหักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท พร้อมเผยวิธีแก้ไข
.jpg?ip/crop/w1200h700/q80/jpg)
กยศ. ตอบคำถามกรณีหักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท พร้อมเผยวิธีแก้ไข-ทางออกที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
จากกรณีที่ชาวเน็ตมีการแชร์ภาพจาก กยศ. ถึงนายจ้าง แจ้งหักเงินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนจากผู้ค้างชำระหนี้ โดยจะหักเพิ่มรายละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะค้างชำระ โดยมีผลตั้งแต่เดือน เม.ย. 68 เป็นต้นไป สร้างความกังวลให้กับผู้กู้จำนวนไม่น้อย
ซึ่งทาง กยศ. ก็ได้รวบรวมคำถามเกี่ยวกับกรณี กองทุน ฯ เพิ่มจำนวนหักเงินเดือนบัญชีละ 3,000 บาท (สำหรับผู้กู้ยืม) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ทำไมถึงถูกหักเงินเดือนเพิ่มบัญชีละ 3,000 บาท ทั้งที่จ่ายทุกเดือนอยู่แล้ว?
ยอดค้างชำระหนี้ของผู้กู้ยืมอาจเกิดจาก
- มียอดค้างชำระหนี้ก่อนการหักเงินเดือน
- ในระหว่างการแจ้งหักเงินเดือน ท่านมีการขอปรับลดจำนวนการหักเงิน แล้วผู้กู้ยืมไม่ได้ไปชำระส่วนต่างในวันที่ 5 กรกฎาคมของงวดปีนั้น ๆ
ผู้กู้ยืมสามารถตรวจสอบข้อมูลการค้างชำระหนี้ได้ด้วยตนเองผ่านทาง Mobile Application "กยศ. Connect"
ถ้าไม่อยากให้หักเพิ่ม 3,000 บาทในเดือนนี้ ทำอย่างไร?
มี 2 ทางเลือกหลักในการแก้ไข
1. ดำเนินการขอปรับโครงสร้างหนี้
- เพื่อลดจำนวนการผ่อนชำระต่อเดือน
- ขยายระยะเวลาการผ่อน
- ลดเบี้ยปรับให้ 100%
- ปลดผู้ค้ำประกัน
โดยกองทุนจะแจ้งจำนวนเงินการหักเงินเดือนตามยอดผ่อนชำระใหม่ ในเดือนถัดจากเดือนที่ผู้กู้ยืมได้ปรับโครงสร้างหนี้แล้ว เช่น ในกรณีที่ท่านทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ภายในเดือน เม.ย. 68 (กลุ่มข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนจากกรมบัญชีกลาง ให้ดำเนินการภายในวันที่ 20 เมษายน 2568) กองทุนจะแจ้งยอดผ่อนชำระใหม่ในเดือน พ.ค. 68 ดังนั้น เดือน เม.ย. 68 ท่านจะถูกหักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท เพียง 1 เดือนเท่านั้น
2. ชำระยอดหนี้ค้างให้เสร็จสิ้น หากผู้กู้ยืมชำระแล้ว ให้ผู้กู้ยืมเงินนำหลักฐานการชำระแจ้งต่อนายจ้าง แล้วให้นายจ้างลบยอดออก 3,000 บาท จากยอดหักเงินเดือนในเดือน เม.ย. 68 ได้
เงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ กยศ.
การปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มก่อนฟ้องคดี, กลุ่มที่บอกเลิกสัญญาแล้วแต่ยังไม่ฟ้องคดี, กลุ่มที่ฟ้องคดีแล้วแต่ศาลยังไม่มีคำพิพากษา, กลุ่มที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่ยังไม่บังคับคดีและได้บังคับคดีไปแล้ว และกลุ่มอื่น ๆ ทั้งหมด
- ผู้กู้ยืมจะต้องผ่อนชำระเงินคืนกองทุนเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน
- ผู้กู้ยืมต้องชำระภายในวันที่ 5 ของทุกเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี
- ในการชำระเงินงวดสุดท้าย ผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- การคำนวณยอดหนี้ที่จะนำมาปรับโครงสร้างหนี้
กองทุนฯ จะนำรายการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรกมาคำนวณใหม่ตามที่กฎหมายกำหนด
ในกรณีคำนวณยอดหนี้ใหม่แล้วไม่มียอดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยคงเหลือ กองทุนฯจะปรับโครงสร้างหนี้ให้ผู้กู้ยืมและให้ส่วนลดเบี้ยปรับ 100% โดยถือว่าผู้กู้ยืมได้ชำระหนี้ปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว
สำหรับผู้กู้ยืมที่มียอดหนี้คงเหลือและอยู่ระหว่างการผ่อนชำระ กองทุนฯจะนำรายการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินแต่ละรายนับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรกมาคำนวณตัดชำระหนี้ใหม่ จากเดิมตัดเบี้ยปรับ ดอกเบี้ย และเงินต้น แต่เมื่อปรับโครงสร้างหนี้ใหม่จะตัดเงินต้น (เฉพาะส่วนที่ครบกำหนด) ดอกเบี้ย และเบี้ยปรับตามลำดับ
- อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี และอัตราเบี้ยปรับ 0.5% ต่อปี
- ในส่วนของเบี้ยปรับทั้งหมด กองทุนฯจะพักแขวนไว้ เมื่อผู้กู้ได้ทำการชำระหนี้ปิดบัญชีจะได้รับส่วนลดเบี้ยปรับ 100%
- เมื่อทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แล้วผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากสัญญาค้ำประกันเงินกู้ทันที
- ในกรณีที่ผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้สะสมถึง 6 งวด หรือเมื่อผู้กู้ยืมมีงวดผ่อนชำระเหลือไม่ถึง 6 งวด หากผิดนัดชำระงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด ให้ถือว่าสัญญาปรับโครงสร้างหนี้สิ้นสุดลง กองทุนฯจะนำเบี้ยปรับที่ตั้งพักแขวนไว้กลับคืนมาเป็นทุนทรัพย์เพื่อดำเนินการฟ้องร้องหรือบังคับคดีกับผู้กู้ยืมต่อไป
สาเหตุที่ถูกหักเงินเพิ่ม 3,000 บาท
เป็นมาตรการบังคับของ กยศ. กับลูกหนี้ที่มียอดค้างชำระ และยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เช่น ชำระหนี้ หรือขอปรับโครงสร้างหนี้ โดยมีรายละเอียดว่า
- หักเพิ่ม บัญชีละ 3,000 บาทต่อเดือน จากเงินเดือนลูกหนี้
- หากยอดค้างน้อยกว่า 3,000 บาท จะหักเฉพาะยอดค้างเท่านั้น
- จะหักเงินเพิ่มแบบนี้ ต่อเนื่องทุกเดือน จนกว่าผู้กู้จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
- ชำระหนี้ค้างทั้งหมด
- ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ.
เหตุผลที่โดนหักเงินเพิ่ม 3,000 บาท
- ผู้กู้มี ยอดหนี้ค้างชำระสะสม
- บางคน เคยขอปรับลดยอดหักเงินเดือน แต่ไม่ได้นำส่วนต่างไปชำระให้ครบ
- ยอดหนี้ค้างดังกล่าว ไม่ได้รวมอยู่ในการหักเงินเดือนประจำเดือน กยศ. จึงใช้สิทธิเพิ่มยอด 3,000 บาท/เดือน เพื่อเร่งเคลียร์หนี้ค้าง
วิธีแก้ไขสำคัญที่ลูกหนี้ กยศ. ต้องรู้
1. ขอปรับโครงสร้างหนี้ (Restructure)
ผู้กู้ยืมสามารถทำสัญญาใหม่กับ กยศ. ได้ โดยมีสิทธิประโยชน์หลายอย่าง เช่น:
- ลดจำนวนผ่อนชำระต่อเดือน
- ขยายระยะเวลาชำระ
- ลดเบี้ยปรับ 100%
- ปลดผู้ค้ำประกัน
หากทำสัญญาภายในเดือนเมษายน 2568 จะถูกหักเพิ่ม 3,000 บาทเพียงเดือนเดียว จากเดือนพฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป จะถูกหักตามยอดผ่อนชำระใหม่
2. ชำระยอดหนี้ค้างทั้งหมด
ผู้กู้สามารถชำระยอดค้างชำระทั้งหมดได้ทันที แล้วให้นำ หลักฐานการชำระเงิน ไปแจ้งให้นายจ้างทราบ เพื่อ ยกเลิกการหักเงินเพิ่ม 3,000 บาท ได้เลยในเดือนถัดไป
ช่องทางทำสัญญาออนไลน์
เว็บไซต์ https://slfregis.studentloan.or.th
- ต้องยืนยันตัวตนผ่านแอป “ThaiD”
- ใช้ Google Chrome เป็นเบราว์เซอร์หลัก
สรุป ข่าวกยศ. หักเงินเดือนเพิ่มบัญชีละ 3,000 บาท
- หัก 3,000 บาท เพราะคุณมี “หนี้ค้าง”
- รีบตรวจสอบยอดหนี้ค้างชำระกับ กยศ. ผ่านแอปฯ "กยศ.Connect"
- อยากให้หยุดหัก? ต้อง "จ่ายหนี้" หรือ "ปรับโครงสร้าง"
- แจ้งนายจ้างให้ทราบ หากดำเนินการเรียบร้อยแล้ว เพื่อลดยอดหักเงินเดือน
อ่านเพิ่มเติม