วิธีลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. ผ่านออนไลน์
.jpg?ip/crop/w1200h700/q80/jpg)
เปิดวิธีลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. ผ่านออนไลน์ ทำอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง เช็กที่นี่
จากกรณีที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ชี้แจงถึงกรณีหักเงินเดือนบัญชีละ 3,000 บาท สำหรับผู้กู้ยืมที่มีสถานะค้างชำระ โดยไม่รวมผู้ที่ได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ มีผลตั้งแต่เดือน เม.ย. 68 ถ้าผู้กู้ยืมไม่ต้องการให้นายจ้างหักเงินตามที่ กยศ. แจ้งในเดือนนี้ ต้องดำเนินการตามนี้
ปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อลดจำนวนการผ่อนชำระต่อเดือน ขยายเวลาการผ่อน ลดเบี้ยปรับให้ 100% และปลดผู้ค้ำประกันให้
จ่ายยอดหนี้ค้างให้เสร็จสิ้น ถ้าผู้กู้ยืมจ่ายแล้วให้ผู้กู้ยืมเงินนำหลักฐานการชำระแจ้งต่อนายจ้างแล้ว ให้นายจ้างลบยอดออก 3,000 บาท จากยอดหักเงินเดือนในเดือน เม.ย. 68 ได้
ลูกหนี้ กยศ. ขอปรับโครงสร้างหนี้ออนไลน์ด้วยตัวเอง
กลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มก่อนฟ้องคดี
- กลุ่มที่บอกเลิกสัญญาแล้วแต่ยังไม่ฟ้องคดี
- กลุ่มที่ฟ้องคดีแล้วแต่ศาลยังไม่มีคำพิพากษา
- กลุ่มที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่ยังไม่บังคับคดีและได้บังคับคดีไปแล้ว
- กลุ่มอื่นๆ ทั้งหมด
เงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้
- ผู้กู้ยืมจะต้องผ่อนชำระเงินคืนกองทุนเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน
- ผู้กู้ยืมต้องชำระภายในวันที่ 5 ของทุกเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี
- ในการชำระเงินงวดสุดท้าย ผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- การคำนวณยอดหนี้ที่จะนำมาปรับโครงสร้างหนี้
กองทุนฯ จะนำรายการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรกมาคำนวณใหม่ตามที่กฎหมายกำหนด
ในกรณีคำนวณยอดหนี้ใหม่แล้วไม่มียอดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยคงเหลือ กองทุนฯจะปรับโครงสร้างหนี้ให้ผู้กู้ยืมและให้ส่วนลดเบี้ยปรับ 100% โดยถือว่าผู้กู้ยืมได้ชำระหนี้ปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว
สำหรับผู้กู้ยืมที่มียอดหนี้คงเหลือและอยู่ระหว่างการผ่อนชำระ กองทุนฯจะนำรายการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินแต่ละรายนับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรกมาคำนวณตัดชำระหนี้ใหม่ จากเดิมตัดเบี้ยปรับ ดอกเบี้ย และเงินต้น แต่เมื่อปรับโครงสร้างหนี้ใหม่จะตัดเงินต้น (เฉพาะส่วนที่ครบกำหนด) ดอกเบี้ย และเบี้ยปรับตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี และอัตราเบี้ยปรับ 0.5% ต่อปี
ในส่วนของเบี้ยปรับทั้งหมด กองทุนฯจะพักแขวนไว้ เมื่อผู้กู้ได้ทำการชำระหนี้ปิดบัญชีจะได้รับส่วนลดเบี้ยปรับ 100%
เมื่อทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แล้วผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากสัญญาค้ำประกันเงินกู้ทันที
ในกรณีที่ผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้สะสมถึง 6 งวด หรือเมื่อผู้กู้ยืมมีงวดผ่อนชำระเหลือไม่ถึง 6 งวด หากผิดนัดชำระงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด ให้ถือว่าสัญญาปรับโครงสร้างหนี้สิ้นสุดลง กองทุนฯจะนำเบี้ยปรับที่ตั้งพักแขวนไว้กลับคืนมาเป็นทุนทรัพย์เพื่อดำเนินการฟ้องร้องหรือบังคับคดีกับผู้กู้ยืมต่อไป
การทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Contract) ของ กยศ.
ตั้งค่า Google Chrome เป็นเบราว์เซอร์เริ่มต้น
Android
- ไปที่การตั้งค่า (Settings) ของโทรศัพท์
- เลื่อนลงและเลือก แอป (Apps) หรือ แอปพลิเคชันเริ่มต้น (Default Apps)
- เลือก เบราว์เซอร์เริ่มต้น (Default Browser App)
- เลือก Google Chrome
iOS
- เปิด การตั้งค่า (Settings)
- เลื่อนลงมาจนเจอ แอป (Apps) แล้วกดเข้าไป
- ค้นหา Google Chrome และกดเข้าไป
- เลือก แอปเบราว์เซอร์เริ่มต้น (Default Browser App)
- กดเลือก Google Chrome
วิธีการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
![]() |
![]() |
![]() |
- เข้าเว็บไซต์ กยศ. ที่ www.studentloan.or.th
- เลือกเมนูปรับโครงสร้างหนี้ออนไลน์
- ลงชื่อเข้าใช้ระบบ กรอกเลขประจำตัวประชาชนเพื่อตรวจสอบสิทธิ์ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
ขั้นตอนที่ 2
![]() |
![]() |
- เปิดแอปฯ ThaiD บนโทรศัพท์มือถือ
- สแกน QR Code ที่ปรากฎอยู่บนหน้าจอเว็บไซต์ เพื่อยืนยันตัวอย่างปลอดภัย
ขั้นตอนที่ 3
![]() |
![]() |
![]() |
- กรอกข้อมูลเบอร์โทรศัพท์มือถือ และเลือกเลขบัญชีเงินกู้ยืมที่จะทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
- โดยกรุณาอ่านเงื่อนไขข้อกำหนดการเก็บรวบรวมข้อมูล
- กดปุ่มบันทึกรายละเอียดสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
- ระบบจะแสดงรายละเอียดข้อมูลผู้กู้ยืม ข้อมูลรายละเอียดบัญชี และยอดหนี้ที่ต้องผ่อนจ่ายต่อเดือน ให้ผู้กู้ยืมตรวจสอบความถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 4
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
- ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์
- กดปุ่มรายละเอียดสัญญา
- ผู้กู้ยืมกรุณาอ่านรายละเอียดสัญญาอย่างละเอียด
- กดปุ่มยืนยันเพื่อรับรองความถูกต้อง
- จากนั้นลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยืนยันการทำสัญญาโดยการสแกน QR Code ผ่านแอปพลิเคชั่น ThaiD ยืนยันตัวตน
ขั้นตอนที่ 5
![]() |
![]() |
![]() |
- ระบบจะส่งลิงก์ยืนยันการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้กู้ยืมผ่านทางอีเมล์
- ผู้กู้ยืมต้องกดยืนยันการทำรายการภายใน 5 นาที
- ระบบจะแสดงสถานะการทำสัญญาที่เสร็จสมบูรณ์
- สามารถตรวจสอบสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมดาวน์โหลดเอกสารการทำสัญญาได้ทันที
ในกรณีที่ไม่สามารถทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ได้ ระบบจะแสดงข้อความให้ทราบตามเหตุผลต่างๆ ได้แก่ ผู้กู้ได้รับเงินคืนเรียบร้อยแล้ว, ผู้กู้เป็นลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือเป็นบุคคลล้มละลาย, ผู้กู้ได้ทำการจ่ายหนี้ปิดบัญชีแล้ว, ผู้กู้มีสิทธิ์ได้รับเงินคืน, ผู้กู้อยู่ระหว่างพิจารณาคดีในชั้นศาล, ผู้กู้ที่เคยทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว และผู้กู้ยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้ เป็นต้น